เปิดฤดูกาลท่องเที่ยวภาคเหนือ ปี’66 ดันรายได้แตะ 1.5 แสนล้าน

เปิดฤดูกาลท่องเที่ยวภาคเหนือ ปี’66 ดันรายได้แตะ 1.5 แสนล้าน

ททท.ภาคเหนือ ยกทัพผู้ประกอบการบุกเมืองน่าน เปิดฤดูกาลท่องเที่ยว ปี'66 ภายใต้แนวคิดเสน่ห์วันวานเมืองเหนือ เน้นนำอัตลักษณ์แฟชั่น , อาหาร , เส้นทางสายศรัทธา และเทศกาลประเพณี ขับเคลื่อนในรูปแบบ Soft Power ให้สอดคล้องกับ BCG Model มั่นใจสร้างรายได้ไม่ต่ำกว่า 156,000 ล้านบาท

เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 65 ที่บริเวณสนามหญ้าหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน จังหวัดน่าน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และจังหวัดน่าน พร้อมด้วย หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ร่วมจัดกิจกรรม เปิดฤดูกาลท่องเที่ยวภาคเหนือ ประจําปี 2566 รับปีท่องเที่ยวปีเถาะ ตามความเชื่อล้านนา ชูแนวคิด เสน่ห์วันวานเมืองเหนือ โดยการนําเอาอัตลักษณ์ความงดงามของวัฒนธรรมเมืองเหนือ ได้แก่ เครื่องแต่งกาย อาหาร ความเชื่อ ความศรัทธา และเทศกาลประเพณี มาเป็นแรงขับเคลื่อนในรูปแบบ Soft Power และเชื่อมโยงหัตถศิลป์บอกเล่าเรื่องราวท้องถิ่น ออกแบบเป็นเส้นทางท่องเที่ยวที่หลากหลาย ตอบโจทย์นักท่องเที่ยวใน ทุกมิติ คาดจะช่วยผลักดันรายได้ 156,000 ล้านบาท ภายในปี 2566 ที่จะถึงนี้

บรรยากาศภายในงานมีการแสดงชุด เกษมเมืองแห่งปี นันทบุรี ล้านนาตะวันออก ซึ่งสื่อถึงความเจริญรุ่งเรืองของเมืองน่านตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน และยังมีการจัดแสดงบูธส่งเสริมการขายของ ททท.สำนักงานภูมิภาคภาคเหนือ 11 สำนักงาน มีบูธข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยว สินค้า สาธิตสินค้า อาหารเครื่องดื่ม มากกว่า 30 บูธ โดยมีผู้ประกอบการ ผู้ร่วมงาน สื่อมวลชนร่วมเดินเยี่ยมชมในแต่ละบูธ และมีการร่วมรับประทานอาหารในบรรยากาศกาดหมั้ว พร้อมชมการแสดง ต๋ามเทียนส่งฟ้า และการแสดงดนตรีพื้นเมือง
 

นายวิบูรณ์ แววบัณฑิต ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน กล่าวว่า ในปี 2566 ตรงตามปีนักษัตรปีเถาะ จังหวัดน่าน จึงเห็นโอกาสในการ ได้ส่งเสริมให้เป็นปีท่องเที่ยวปีเถาะ ตามความเชื่อว่าพระธาตุแช่แห้ง จังหวัดน่าน เป็นพระธาตุ ประจําปีเกิดของชาวล้านนา จึงได้จัดงาน งานประเพณีหกเป็งนมัสการพระธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้ง ประจําปี 2566 ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ – 6 มีนาคม 2566 ณ วัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง อําเภอภูเพียง จังหวัดน่าน โดยอยากเชิญชวนนักท่องเที่ยวที่เกิดในปีเถาะที่เดินทางมาเที่ยวจังหวัดน่าน เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว และส่งเสริมให้เกิดการกระจายรายได้เข้าสู่จังหวัดน่าน

นอกจากนี้ ใน 2566 เวียงภูเพียงแช่แห้ง จะมีอายุครบ 670 ปี ซึ่งทั่วทั้งเมืองน่านและถนนสายหลักจะได้รับการเนรมิต ประดับประดา ไปด้วยสัญลักษณ์รูปกระต่ายเพื่อต้อนรับนักษัตรปีเถาะ ท้ังยังมีการประดับตุง โคมแขวนล้านนา เครื่องจักรสาน รวมไปถึง ตุ๊กตามาสคอตสัญลักษณ์รูปกระต่ายบริเวณที่พัก โรงแรม โฮมสเตย์ รีสอร์ท และร้านอาหาร

นางสาวภัทรอนงค์ ณ เชียงใหม่ ผอ.ภูมิภาคภาคเหนือ ททท. กล่าวว่า กล่าวว่า เปิดเผยว่า ททท. ได้วางทิศทางใน การส่งเสริมตลาดการท่องเที่ยวภาคเหนือ มุ่งเน้นการสร้างสรรค์เมนูประสบการณ์ท่องเที่ยวภาคเหนือมุมมองใหม่ใน หลากหลายมิติ ภายใต้แนวคิด เสน่ห์วันวานเมืองเหนือ เพื่อสร้างสรรค์มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจด้วยวัฒนธรรม อันเป็น ส่วนหนึ่งของแรงขับเคลื่อน Soft power ที่สอดคล้องกับมิติด้านเศรษฐกิจ BCG Model ซึ่งถือว่าเป็นจุดแข็งของภาคเหนือ มาอย่างยาวนาน และเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของภาคเหนือให้แก่นักท่องเที่ยวชาวไทย
 

หน่วยงานภาคีเครือข่ายด้านการท่องเที่ยวทั้งภาครัฐและเอกชน จะมีการนําเสนอวัฒนธรรมที่มีศักยภาพทั้ง 4 สาขา ได้แก่ การออกแบบแฟชั่น , อาหาร , เส้นทางสายศรัทธา / สายมู และเทศกาลประเพณี เพื่อนํามา สนับสนุนและส่งเสริมด้านการเสนอขายสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว รวมทั้งประชาสัมพันธ์สินค้าท่องเที่ยวของไทยที่ ได้รับการออกแบบและสร้างสรรค์ ภายใต้โครงการต่างๆ เช่น โครงการ North x Clusive นําเสนอกิจกรรมชุมชน, โครงการ North Experience Festival นําเสนอเส้นทางสายศรัทธา และเส้นทางย้อนวันวานเมืองเหนือ, โครงการเสน่ห์กินริมน้ํา นําเสนออาหารถิ่น ตามคู่มือ มิชลินไกด์ ไทยแลนด์ และภิรมย์เวียงพิงค์ ,โครงการ Amazing Northern Road Trip นําเสนองานเทศกาลประเพณี, เส้นทางขับรถเที่ยว Unseen New Series , กิจกรรมสําหรับงานคราฟท์ชุมชนและความสนใจพิเศษ เช่น วิ่ง เดิน Trail เป็นต้น

สำหรับปี 2566 ททท. จะนําเสนอเสน่ห์อันสวยงามและน่าท่องเที่ยวของแต่ละพื้นที่มาผูกร้อยเรื่องราว โดยเน้นใช้ งานหัตถศิลป์ อันเกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยว ศิลปะวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตอัน หลากหลายของผู้คนในท้องถิ่น บอกเล่าเส้นทางของอาหารประจําถิ่นผ่านการเดินทางผ่านสายน้ําที่ไหลผ่านภาคเหนือ สะท้อนความเชื่อด้านวัฒนธรรมประเพณี วิถีของท้องถิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ในการสร้างแรงบันดาลใจ และงานเทศกาลประเพณีประจําปี รวมถึงงานกิจกรรมทางการตลาดในพื้นที่ภาคเหนือ

นอกจากนี้ ททท. ยังมุ่งเน้น การสร้างสรรค์กิจกรรมท่องเที่ยวในหลากหลายมิติ เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อพฤติกรรมและความต้องการของ นักท่องเที่ยวอย่างครอบคลุม สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติและแผนวิสาหกิจองค์กร ททท. พ.ศ. 2566-2570 ที่ต้องการจะกระตุ้นความต้องการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวคนไทยและต่างชาติ ด้วยการส่งมอบประสบการณ์ การเดินทางที่มีความหมายและทรงคุณค่าให้กับนักท่องเที่ยว รวมทั้งให้ความสําคัญกับการกระจาย รายได้และส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวในเมืองหลักและเมืองรองมากยิ่งขึ้น