"บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" ธันวาคม 65 เงินเข้าวันไหน จ่ายอะไรบ้าง เช็กที่นี่ครบ
"บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" ประจำเดือนธันวาคม 2565 เงินเข้าวันไหน จ่ายอะไรบ้าง กดเป็นเงินสดได้ไหม เช็กที่นี่ครบ
นางสาววารี แว่นแก้ว รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลางได้เบิกจ่ายและโอนเงินให้แก่หน่วยงานและร้านค้าที่รับชำระค่าสินค้าและบริการผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ประจำเดือนธันวาคม 2565 ดังนี้
ทุกวันที่ 1 ของเดือน (ไม่สามารถถอนเป็นเงินสดได้ และไม่สะสมในเดือนถัดไป)
- วงเงินซื้อสินค้า 200/300 บาทต่อเดือน
- ส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม 100 บาทต่อ 3 เดือน (25 ต.ค. – ธ.ค. 65)
- ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ประกอบด้วย
- ค่าโดยสารรถ บขส. 500 บาทต่อเดือน
- ค่าโดยสารรถไฟ 500 บาทต่อเดือน
- ค่าโดยสารรถ ขสมก./รถไฟฟ้า (MRT/BTS/ARL) 500 บาทต่อเดือน (สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่อาศัยอยู่ในเขต กทม. และปริมณฑล)
ทุกวันที่ 18 ของเดือน (สามารถถอนเป็นเงินสดได้ และสะสมในเดือนถัดไปได้)
- เงินชดเชยค่าไฟฟ้า ไม่เกิน 315 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน (สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ได้ลงทะเบียนกับ กฟน. กฟภ. และกิจการไฟฟ้าสวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 315 บาทต่อเดือน)
- เงินชดเชยตามจำนวนเงินที่ชำระค่าน้ำประปา ไม่เกิน 100 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน (สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่ได้ลงทะเบียนกับ กปน. กปภ. ที่ใช้น้ำประปาไม่เกิน 315 บาทต่อเดือน จะได้รับเงินคืนค่าน้ำประปาไม่เกิน 100 บาท (ที่ได้ชำระเงินแล้ว) ส่วนที่เกินจาก 100 บาท ผู้ถือบัตรฯ เป็นผู้ชำระเอง)
ทุกวันที่ 22 ของเดือน (สามารถถอนเป็นเงินสดได้ และสะสมในเดือนถัดไปได้)
- เงินเพิ่มเบี้ยความพิการ 200 บาทต่อเดือน (สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่มีบัตรประจำตัวคนพิการและได้รับเงินเบี้ยความพิการ)
สำหรับเดือนพฤศจิกายน 2565 กรมบัญชีกลางได้เบิกจ่ายเงินให้แก่ร้านค้าที่ผู้มีสิทธินำบัตรสวัสดิการแห่งรัฐไปชำระค่าสินค้าอุปโภคบริโภค ค่าเดินทาง และค่าก๊าซหุงต้ม ดังนี้ (ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 - 30 พฤศจิกายน 2565)
1. สวัสดิการที่ให้เป็นวงเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
- วงเงินค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค จำนวน 3,531,410,208.25 บาท
- วงเงินส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม จำนวน 50,215,302.00 บาท
- วงเงินค่าโดยสาร ขสมก./BTS/MRT/Airport rail link จำนวน 22,755,057.58 บาท
- วงเงินค่าโดยสารรถบริษัทขนส่ง จำกัด (บขส.) จำนวน 7,988,400.00 บาท
- วงเงินค่าโดยสารรถไฟ จำนวน 18,791,227.88บาท
รวมจำนวนเงิน (1) 3,631,160,195.71 บาท
2. สวัสดิการที่ให้ผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (e-Money)
- มาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (ระยะที่ 1-2) จำนวน 157,400.00
- มาตรการสนับสนุนค่าใช่จ่ายช่วงปลายปี จำนวน 191,500.00 บาท
- มาตรการช่วยเหลือค่าเช่าบ้านสำหรับผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย จำนวน 18,400.00 บาท
- มาตรการช่วยเหลือค่าเดินทางไปรับการรักษาพยาบาลฯ จำนวน 31,000.00 บาท
- มาตรการบรรเทาภาระค่าไฟฟ้า จำนวน 168,399,508.38 บาท
- มาตรการบรรเทาภาระค่าน้ำประปา จำนวน 17,523,580.81 บาท
- มาตรการชดเชยเงินให้แก่ผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยใช้ข้อมูลจากจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มฯ (ระยะที่ 1 - 2) จำนวน 1,007.24 บาท
- มาตรการเพิ่มเบี้ยคนพิการ จำนวน 32,600.00 บาท
- มาตรการบรรเทาภาระค่าครองชีพให้แก่เกษตรกร จำนวน 88,000.00 บาท
- มาตรการบรรเทาค่าใช้จ่ายของพ่อแม่ช่วงเปิดปีการศึกษา จำนวน 52,000.00 บาท
- มาตรการพยุงการบริโภคของผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 1,119,500.00 บาท
- มาตรการมอบเงินช่วยเหลือสำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 82,500.00 บาท
- มาตรการช่วยเหลือการเลี้ยงดูบุตรแก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 20,100.00 บาท
- การเติมเงินเข้ากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ในบัตรวงเงินค่าซื้อสินค้าอุปโภคที่จำเป็น จำนวน 325,100.00 บาท
- มาตรการเงินเพิ่มเบี้ยความพิการ ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2563 จำนวน 215,702,600.00 บาท
รวมจำนวนเงิน (2) 403,744,796.43
รวมจำนวนเงินทั้งสิ้น (1)+(2) 4,034,904,992.14
“ทั้งนี้ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Call Center ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 0 2109 2345 หรือ Call Center กรมบัญชีกลาง 0 2270 6400 ในวัน เวลาราชการ" โฆษกกรมบัญชีกลาง กล่าว