เปิดเกณฑ์ “รถตำรวจนำขบวน” บุคคลใดใช้ได้บ้าง? ขั้นตอนขออนุญาต เป็นอย่างไร?

เปิดเกณฑ์ “รถตำรวจนำขบวน” บุคคลใดใช้ได้บ้าง? ขั้นตอนขออนุญาต เป็นอย่างไร?

เปิดเกณฑ์ขอใช้รถตำรวจนำขบวนตามเกณฑ์ตำรวจทางหลวง ต้องมีการขออนุญาตก่อน 7 วัน ส่วนมติ ครม.หนังสือสำนักนายกฯ มีการกำหนดชัดเจนว่าบุคคลใดสามารถขอใช้ได้บ้าง และต้องมีรถนำขบวนในการปฏิบัติหน้าที่

จากกรณีโลกโซเชียลเผยแพร่ภาพเคลื่อนไหวตำรวจไทยขับรถอำนวยความสะดวกนำ นักท่องเที่ยวจีน จากสนามบินสุวรรณภูมิไปส่งยังที่พักในโรงแรม โดยนักท่องเที่ยวมีการถ่ายคลิปวีดีโอแล้วนำไปเผยแพร่จนเป็นกระแสความสนใจในขณะนี้และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.)มีคำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงในเรื่องนี้แล้วนั้น

 

“กรุงเทพธุรกิจ”ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแนวปฏิบัติ และข้อกำหนดทางราชการในการขอใช้รถตำรวจในการนำรถ หรือ ขบวนรถ โดยเว็บไซต์ของกองบังคับการตำรวจทางหลวง ได้เผยแพร่หลักเกณฑ์เรื่องการขอรถนำขบวนดังนี้ 

การนำขบวนโดยการร้องขอเป็นครั้ง ๆ ไป เป็นกรณีตามความจำเป็นแห่งโอกาสสำหรับบุคคคล โดยจะต้องร้องขอและได้รับอนุญาคตามระเบียบ

ขบวนที่มีความจำเป็นต้องใช้ตำรวจนำขบวนเพื่อความปลอดภัยของขบวนหรือความปลอดภัยของผู้ใช้ถนนตามความจำเป็นแก่กรณี เช่น รถนักเรียน

ขบวนรถซึ่งเดินทางไปประกอบศาสนกิจหรือพิธีการที่มีรถหลายคัน หรือกรณีมีความ จำเป็นเร่งด่วนของบุคคลผู้มีหน้าที่ต่าง ๆ ในทางราชการเพื่อเดินทางไปปฏิบัติภารกิจ

 

หลักเกณฑ์ในการพิจารณาการขอรถนำขบวน ได้แก่

1.เส้นทางที่จะไปเป็นเส้นทางอันตรายเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ หรือเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง

2.มีจำนวนรถในขบวน รถโดยสารไม่ประจำทาง 8 คัน หรือ รถยนต์เก๋ง 10 คัน หรือ รวมกัน 10 คันขึ้นไป

3. ต้องมีรถวิทยุตรวจการณ์เพียงพอ ไม่กระทบภารกิจหลักหรือการถวายความปลอดภัยฯ ,คำนึงถึงน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ในภารกิจประจำด้วย

4.เอกสารและเหตุผลประกอบการขอรถนำขบวน

หนังสือจากหน่วยงาน เรียนผู้บังคับการตำรวจทางหลวงแสดงเหตุผลความจำเป็น จำนวนรถในขบวน วันเวลาและ เส้นทาง ต้นทาง-ที่หมายผู้ประสานงานพร้อมหมายเลขโทรศัพท์

 

ติดต่อโดยส่งเอกสารทางไปรษณีย์ หรือยื่นด้วยตนเอง ได้ที่กองบังคับการตำรวจทางหลวง

2/486  ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 

หรือส่งโทรสารที่หมายเลข 023546021 0 (งานนำขบวน) โดยต้องร้องขอล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน

นอกจากนี้ในหนังสือของสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร.1205/ว188  ตุลาคม 2544 

 

หลักเกณฑ์การใช้รถตำรวจนำขบวนของบุคคลสำคัญหรือนักการเมือง หรือการใช้รับรองแขกต่างประเทศในการเยือนประเทศไทย

สาระสำคัญคือตามที่สำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบกได้เสนอเรื่อง หลักเกณฑ์การใช้รถตำรวจนำขบวนของบุคคลสำคัญหรือนักการเมือง หรือการใช้รถนำขบวนรับรองแขกต่างประเทศในการเยือนประเทศไทย มาเพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณา โดยให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ใหม่เพื่อให้ชัดเจน สะดวกแก่การปฏิบัติของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มีข้อความดังต่อไปนี้

1.การใช้รถตำรวจนำขบวนตามหลักเกณห์นี้หมายถึง การขออนุญาตนำรถยนต์และ รถจักรยานยนต์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติมาใช้เพื่อนำขบวนยานพาหนะของบุคคลผู้มีตำแหน่งหน้าที่

สำคัญ โดยมุ่งหมายที่จะรักษาความปลอดภัยของผู้เดินทางหรือของผู้ใช้รถใช้ถนน อารักขาบุคคลสำคัญและอำนวยความสะดวกเป็นสำคัญ

 

ในการใช้รถตำรวจนำขบวนเป็นครั้ง ๆ ไปนั้น ให้บุคคลผู้มีสิทธิหรือหน่วยงานของ บุคคลนั้น แจ้งขอล่วงหน้าต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดรถตำรวจนำขบวน โดยให้แจ้งขอตามความจำเป็น ไม่ใช้ในภารกิจที่เป็นเรื่องส่วนตัวโดยแท้ เมื่อสิ้นสุดภารกิจแล้วให้ส่งคืน และให้เจ้าหน้าที่ประจำรถตำรวจนำขบวนรายงานการสิ้นสุดภารกิจต่อผู้บังคับบัญชาส่วนการใช้รถตำรวจนำขบวนเป็นประจำ ให้บุคคลผู้มีสิทธิหรือหน่วยงานของบุคคลนั้น แจ้งขอรถตำรวจนำขบวนได้คราวละหนึ่งชุด มิให้มีชุดสำรองอยู่ ประจำ เมื่อพันจากตำแห่น่งแล้วให้ส่งคืนทันที ทั้งนี้ ให้เจ้าหน้าที่ประจำรถตำรวจนำขบวนรายงาน

การสิ้นสุดภารกิจต่อผู้บังคับบัญชาด้วยเช่นกัน

 

นอกจากขบวนเสด็จพระราชดำเนิน ขบนเสด็จพระดำเนิน และขบวนเสด็จของพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งมีรถตำรวจนำขบวนตามปกติประเพณีแล้ว บุคคลสำคัญอื่น ๆ สามารถใช้รถตำรวจนำขบวนได้เป็นประจำหรือเป็นครั้ง ไปตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้

ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ใช้รถตำรวจนำขบวนเป็นประจำได้สำหรับบุคคล

- ประธานองคมนตรี รัฐบุรุษ

- นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา (ประธานสภาผู้แทนราษฎร)

- รองประธานรัฐสภา (ประธานวุฒิสภา) ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธาน

- สมเด็จพระสังฆราช

- รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ผู้นำฝ้ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

- ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และประธานกรรมการที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีซึ่งได้รับแต่งตั้งตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและมีอำนาจหน้าที่ติดตามการปฏิบัติราชการในเขตพื้นที่ต่าง ๆ

- ผู้เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

 

นอกเขตกรุงเทพมหานคร ให้ผู้บังคับการตำรวจจราจร หรือผู้ได้รับมอบหมาย จากผู้บังคับการตำรวจจราจรมีอำนาจพิจารณาอนุญาตให้ใช้รถตำรวจนำขบวนเป็นครั้งไปตามความจำเป็น

แห่งโอกาสสำหรับบุคคล ดังนี้

- ผู้แทนพระองค์ พระราชอาคันตุกะ ประมุขของรัฐต่างประเทศ ผู้นำรัฐบาลต่างประเทศ เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ

- องคมนตรี

- ผู้นำทางศาสนาอื่น สมเด็จพระราชาคณะ

สำหรับขบวน ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้รถตำรวจนำขบวนเพื่อความปลอดภัย ของขบวน หรือความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนนตามความจำเป็นแก่กรณี เช่น รถนักเรียน ขบวนรถ ซึ่งเดินทางไปประกอบศาสนกิจหรือพิธีการ ขบวนที่มีรถหลายคัน เป็นต้น หรือเป็นกรณีมีความจำเป็น เร่งด่วนของบุคคลผู้มีตำแหน่งหน้าที่ต่าง ๆ ในทางราชการเพื่อเดินทางไปปฏิบัติภารกิจสำคัญของ ทางราชการ