แฮชแท็ก ครูกายแก้ว โซเชียลถกสนั่นเชื่อหรือไม่เชื่อ เทพเจ้าแห่งโชคลาภ

แฮชแท็ก ครูกายแก้ว โซเชียลถกสนั่นเชื่อหรือไม่เชื่อ เทพเจ้าแห่งโชคลาภ

แฮชแท็ก ครูกายแก้ว มากกว่า 4 หมื่นทวิตฯ ที่ขึ้นมาติดท็อปเทรนด์ทวิตเตอร์ภายหลังจากที่มีการแชร์ภาพสายมูจำนวนมากต่างเดินทางแห่สักการะขอพร และทำพิธีบวงสรวงใหญ่ที่บริเวณแยกรัชดา-ลาดพร้าว ขณะที่โซเชียลถกสนั่นเชื่อหรือไม่เชื่อ เทพเจ้าแห่งโชคลาภ

แฮชแท็ก ครูกายแก้ว มากกว่า 4 หมื่นทวิตฯ ที่ขึ้นมาติดท็อปเทรนด์ทวิตเตอร์ภายหลังจากที่มีการแชร์ภาพสายมูจำนวนมากต่างเดินทางแห่สักการะขอพร และทำพิธีบวงสรวงใหญ่ที่บริเวณแยกรัชดา-ลาดพร้าว

นอกจากมีพิธีบวงสรวงเบิกเนตรแล้ว ยังมีการแจกเหรียญครูกายแก้วรุ่นแรกจำนวน 1,500 เหรียญให้กับบรรดาลูกศิษย์ที่มาร่วมพิธีในครัังนี้ด้วย ซึ่งเหรียญจะทำเป็น 2 แบบ เหรียญเล็กกับเหรียญใหญ่

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า หลังจากที่ยุติการแจกเหรียญ มีกลุ่มคนที่ได้รับเหรียญตอนแรกไปไม่ถึง 100 เหรียญ ได้นำเหรียญที่ได้รับเดินปล่อยให้เช่าเหรียญครูกายแก้วบริเวณนั้นทันทีบางคนปล่อยเช่า 1000 ไปจนถึง 1,500 บาท นอกจากนั้นในกลุ่มของคนเล่นพระพบว่า เหรียญมีราคาสูงขึ้นแตะที่ 2,500 บาทด้วย

 

แฮชแท็ก ครูกายแก้ว โซเชียลถกสนั่นเชื่อหรือไม่เชื่อ เทพเจ้าแห่งโชคลาภ

สำหรับ ครูกายแก้ว หรือ พ่อใหญ่ บรมครูผู้เรืองเวทย์ เทพเจ้าแห่งโชคลาภ มีที่มาเท่าที่ปรากฎมากับพระธุดงค์ที่ จ.ลำปาง ที่ได้ธุดงค์ไปทำสมาธิที่ปราสาทนครวัดนครธม ประเทศกัมพูชา

ต่อมาก็ได้มอบ ครูกายแก้ว นี้ให้กับลูกศิษย์คือ อ.ถวิล มิลินทจินดา หรือพ่อหวิน นักร้องเพลงไทยเดิมของกองดุริยางค์ทหารสมัยก่อน ผู้เป็นอาจารย์ของ อ.สุชาติ รัตนสุข ผู้สร้างองค์ปฐมของครูกายแก้วขึ้นในประเทศไทย

รูปร่างลักษณะขององค์ "ครูกายแก้ว" ที่อาจารย์สุชาติสร้างขึ้นมานั้น เป็นลักษณะของผู้บำเพ็ญกึ่งมนุษย์กึ่งนก มีปีกด้านหลัง มีเขี้ยวทองเพื่อสื่อถึงนกการเวก อ้างอิงตามหลักฐานที่ปรากฏอยู่บนกำแพงบายน ที่มีประวัติของการเวกซึ่งเป็นพวกนักดีดสีตีเป่า ถือเป็นครูของศาสตร์ศิลป์ทั้งหลายในยุคของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ของกัมพูชา

ปัจจุบันองค์ปฐมแบบยืนของครูกายแก้วนั้น ถูกย้ายไปไว้ที่อื่น ส่วนองค์ต่อมาที่เป็นแบบองค์นั่ง ถูกเก็บเอาไว้บูชาที่บ้านของ อ.สุชาติเอง แต่หากว่าใครอยากจะกราบไหว้ขอพรองค์ครูกายแก้ว ก็สามารถไปได้ 3 แห่ง

  1. บริเวณเทวาลัยพระพิฆเนศ สี่แยกห้วยขวาง
  2. ด้านในของเทวาลัยพระพิฆเนศบางใหญ่
  3. ศาลพระพิฆเนศ อาเขตเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่

คาถาบูชาครูกายแก้ว

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธ ธัสสะ (ตั้งนะโม 3 จบ)

มะอะอุ ครูกายแก้ว เมตตา จะมหาราชา สัพพะสเน่หา มะมะจิตตัง ปิยังมะมะ (สวด 9 จบ) 

 

แฮชแท็ก ครูกายแก้ว โซเชียลถกสนั่นเชื่อหรือไม่เชื่อ เทพเจ้าแห่งโชคลาภ

 

แฮชแท็ก ครูกายแก้ว โซเชียลถกสนั่นเชื่อหรือไม่เชื่อ เทพเจ้าแห่งโชคลาภ

 

อย่างไรก็ตามอีกมุม ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ ศาสนา วัฒนธรรม และราชพิธี ได้มีการโพสต์เฟซบุ๊กแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปรากฏข่าวเรื่อง "ครูกายแก้ว" ระบุไม่เคยเห็นหลักฐานยืนยันได้แน่นอนว่าเล่าลือกันมาจากที่ไหน

ข้อความจาก ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ ระบุว่า ไม่กี่วันที่ผ่านมานี้ปรากฏข่าวเรื่อง ครูกายแก้ว ว่าเป็นรูปเคารพที่ได้รับความนับถือในหมู่คนจำนวนหนึ่ง นัยว่าครูกายแก้วนี้เป็นครูบาอาจารย์ของพระเจ้าชัยวรมันที่เจ็ด ซึ่งข้อมูลส่วนนี้ผมยังไม่เคยเห็นหลักฐานยืนยันได้แน่นอนว่าเล่าลือกันมาจากที่ไหน

ความเลื่อมใสในเรื่องอย่างนี้แม้ไม่ผิดกฎหมาย แต่สามารถบ่งบอกถึงความไม่มั่นคงทางจิตใจของสมาชิกในสังคมได้ในระดับหนึ่ง และถ้าไม่เกรงใจกันแล้วก็ต้องบอกว่าเป็นระดับที่สูงมากเสียด้วย

รูปอะไรก็ไม่รู้ที่กราบไหว้กันอยู่นี้ มองในทางศิลปะก็สอบไม่ผ่านแน่ จะว่าเป็นมนุษย์ก็เห็นจะไม่ใช่ จะเป็นสัตว์ก็ไม่เชิง ผมยังนึกไม่ออกว่าการไปบูชารูปปั้นอย่างนี้จะเป็นสวัสดิมงคลได้อย่างไร แถมเกรงว่าจะเกิดผลตรงกันข้ามเสียด้วยซ้ำ

สำหรับประเพณีบ้านเมือง สถานการณ์อย่างนี้คล้ายกับที่คนแต่โบราณท่านพูดว่า ผีป่าก็จะวิ่งมาสิงเมือง ยิ่งนัก

 

แฮชแท็ก ครูกายแก้ว โซเชียลถกสนั่นเชื่อหรือไม่เชื่อ เทพเจ้าแห่งโชคลาภ

 

ขณะที่ #ครูกายแก้ว ที่ล่าสุดขึ้นมาติดเทรนด์ทวิตเตอร์โดยมชาวโซเชียลเข้ามาแสดงความคิดเห็นออกเป็นสองมุม ซึ่งก็มีทั้งเชื่อและไม่เชื่อ โดยแฮชแท็กดังกล่าวกำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์จนติดเทรนด์ทวิตเตอร์อยู่ ณ ขณะนี้

อ่าน #ครูกายแก้ว