เกษตรกรเฮ รัฐบาลดันนโยบาย แปลงที่ดินสปก.เป็นโฉนด นำไปค้ำขอสินเชื่อได้

เกษตรกรเฮ รัฐบาลดันนโยบาย แปลงที่ดินสปก.เป็นโฉนด  นำไปค้ำขอสินเชื่อได้

เกษตรกรโคราชเฮ รัฐบาลดันนโยบาย แปลงที่ดินสปก.เป็นโฉนด นำไปค้ำขอสินเชื่อมาทำเกษตรได้ ไม่ต้องกู้หนี้นอกระบบให้เดือดร้อน

ตามที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือ คปก. ได้มีมติเห็นชอบเห็นชอบในหลักการ เปลี่ยน สปก. 4-01 เป็นโฉนดที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พร้อมพักชำระหนี้เกษตรกรลูกหนี้เงินกู้กองทุน ส.ป.ก. 3 ปี ตามมติในที่ประชุมคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ครั้งที่ 5/2566 เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2566 ที่ห้องประชุมไชยยงค์ ชูชาติ ส.ป.ก. กรุงเทพฯ ซึ่งมี ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมฯ และได้กล่าวเน้นย้ำว่า “โฉนดที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฉบับแรก จะสามารถแจกให้กับพี่น้องเกษตรกรได้ภายในวันที่ 15 มกราคม 2567 แน่นอน

เกษตรกรเฮ รัฐบาลดันนโยบาย แปลงที่ดินสปก.เป็นโฉนด  นำไปค้ำขอสินเชื่อได้

หลังจากนั้นเมื่อครบระยะเวลา 1 ปี ส.ป.ก.จังหวัดทุกจังหวัดจะเริ่มทยอยออกโฉนดให้กับพี่น้องเกษตรกรในทุกจังหวัด และคาดว่า จะออกโฉนดได้แล้วเสร็จทั้งหมดภายใน 5 ปี” ซึ่งหลังจากรัฐบาลเศรษฐาได้ผลักดันนโยบายนี้ออกมา ทำให้พี่น้องเกษตรกรชาวจังหวัดนครราชสีมาดีใจกันอย่างมาก เพราะทุกวันนี้สภาพอากาศค่อนข้างแปรปรวน ส่งผลกระทบต่อการทำเกษตร โดยเฉพาะการทำสวนผลไม้-ปลูกพืชผักต่างๆ เกษตรกรต้องหาเงินทุนมาปรับปรุงดูแล เพื่อไม่ให้พืชผลได้รับความเสียหาย วันนี้ (16 ตุลาคม 2566) ผู้สื่อข่าวจึงลงพื้นที่ไปที่อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา สอบถามความคิดเห็นของพี่น้องเกษตรกรชาว ที่มีต่อนโยบายเปลี่ยน สปก. เป็น โฉนดที่ดิน ซึ่ง คปก.ได้มีมติเห็นชอบหลักการ

เกษตรกรเฮ รัฐบาลดันนโยบาย แปลงที่ดินสปก.เป็นโฉนด  นำไปค้ำขอสินเชื่อได้

นางนิภาพรรณ ลอนิกูล อายุ 59 ปี เกษตรกรปลูกผลไม้ผสมผสาน ที่สวนสมนึก อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา กล่าวว่า ปลูกผลไม้ผสมผสาน บนเนื้อที่กว่า 35 ไร่ อาทิ ทุเรียน ลองกอง พุทรานมสด ลิ้นจี่ มะม่วง แก้วมังกร มะยงชิด กล้วย ฝรั่ง ฯลฯ ทำมากว่า 50 ปีตั้งแต่รุ่นพ่อ ปลูกแบบปลอดสารพิษ ซึ่งพอได้ทราบข่าวว่ารัฐบาลมีนโยบายที่จะเปลี่ยนเอกสารสิทธิ์ สปก. ให้เป็นโฉนดที่ดิน รู้สึกดีใจอย่างมาก เพราะจะได้นำโฉนดที่ดินไปค้ำประกันเงินกู้กับสถาบันการเงิน เพื่อนำเงินมาปรับปรุงดูแลสวนให้ดีขึ้น จะรอฝนรอธรรมชาติมาช่วยเพียงอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมีเงินทุนไปซื้อหาปุ๋ยธรรมชาติมาบำรุง และหาเครื่องไม้เครื่องมือมาช่วยปรับปรุงทำให้พืชผลเจริญเติบโต ได้ผลผลิตที่ดีและคุ้มค่ากับการลงทุน ซึ่งที่ผ่านมา ตนไม่มีเงินทุนมาใช้พัฒนาดูแลสวน จึงทำให้แต่ละปีได้ผลผลิตไม่มากนัก และผลผลิตไม่ค่อยจะสมบูรณ์ ทำให้ขายไม่ได้ราคา

เกษตรกรเฮ รัฐบาลดันนโยบาย แปลงที่ดินสปก.เป็นโฉนด  นำไปค้ำขอสินเชื่อได้

ขณะที่นางบัญญัติ ยวนเมือง อายุ 50 ปี เกษตรกรบ้านคลองทราย อ.วังน้ำเขียว กล่าวว่า บอกว่า ดีใจที่รัฐบาลมองเห็นความสำคัญของพี่เกษตรกร และเห็นดีด้วยที่รัฐออกนโยบายนี้มาช่วยเหลือ เกษตรกรจะได้มีทางเลือกและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่ต้องเดือดร้อนไปกู้หนี้รายวันหรือหนี้นอกระบบมาใช้เพาะปลูก ซึ่งตนมีที่ ส.ป.ก.อยู่ 5 ไร่ ปลูกกระท้อน อโวคาโด และทุเรียน แต่ละปีต้องหาเงินมาบำรุงดูแลผลไม้ให้ออกผลผลิตตามฤดูกาล จะได้มีไว้ขายให้กับลูกค้าและนักท่องเที่ยวที่แวะเวียนมาที่อำเภอวังน้ำเขียว และจะได้มีเงินไว้ต่อทำทุนเพาะปลูกในรอบต่อไป

เกษตรกรเฮ รัฐบาลดันนโยบาย แปลงที่ดินสปก.เป็นโฉนด  นำไปค้ำขอสินเชื่อได้