ส่องเงื่อนไขแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ซื้อสินค้าอะไรได้บ้าง อะไรซื้อไม่ได้
เงื่อนไขเงินดิจิทัล 10,000 บาท ซื้อสินค้าได้-ไม่ได้ จากการแถลงข่าวนโยบายแจกเงิน เติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต หลังนายกฯ เศรษฐา ทวีสินเคาะวงเงิน 6 แสนล้านแจกกลุ่มเป้าหมาย 50 ล้านคน ประชาชนที่อยู่ในเกณฑ์ คือ เงินเดือนไม่เกิน 70,000 บาทต่อราย และ/หรือ มีเงินฝากไม่เกิน 5 แสนบาท
เงื่อนไขเงินดิจิทัล 10,000 บาท ซื้อสินค้าได้-ไม่ได้ จากการแถลงข่าวนโยบายแจกเงิน เติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต ส่องเงื่อนไขเงินดิจิทัล 10,000 บาท ไม่สามารถซื้อสินค้าประเภทใดได้บ้าง หลังนายกฯ เศรษฐา ทวีสิน เคาะวงเงิน 6 แสนล้านแจกกลุ่มเป้าหมาย 50 ล้านคน ประชาชนที่อยู่ในเกณฑ์ คือ เงินเดือนไม่เกิน 70,000 บาทต่อราย และ/หรือ มีเงินฝากไม่เกิน 5 แสนบาท นั้น
สำหรับ เงินดิจิทัล 10,000 บาท ให้สิทธิ์ใช้โดยกำหนดระยะเวลา 6 เดือน ครอบคลุมการใช้จ่ายในระดับอำเภอ ยึดตามบัตรประชาชน โดยโครงการฯจะสิ้นสุดในปี พ.ศ.2570 โดยแหล่งที่มารัฐบาลจะใช้วงเงิน 6 แสนล้านบาทเพื่อดำเนินการในส่วนนี้ คือ 5 แสนล้านบาทจะมีการใช้ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ตนี้ส่วนอีก 1 แสนล้านบาท รัฐบาลจะนำเงินไปใส่ในกองทุนเสริมสร้างการแข่งขันในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ (New S Curve) เพื่อใช้ในการให้สิทธิประโยชน์ในการดึงอุตสาหกรรมเป้าหมายเข้ามาลงทุน โดยกองทุนนี้จะใช้ในการดึงดูดการดึงบริษัทขนาดใหญ่เข้ามาลงทุนในประเทศมากขึ้น
เงื่อนไขการใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ซื้อได้-ไม่ได้
เมื่อพูดถึงเงื่อนไขการใช้จ่ายเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ไม่สามารถซื้อสินค้าชนิดใดได้บ้าง นายกฯ เศรษฐา กล่าวว่า เรื่องของเงื่อนไข ซื้ออะไรได้หรือไม่ได้สรุปได้ดังนี้
เงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ซื้อได้
- สินค้า อาหาร เครื่องดื่ม สินค้าอุปโภคและบริโภคได้เท่านั้น
เงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ซื้อไม่ได้
- สินค้าออนไลน์
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ผลิตภัณฑ์ยาสูบ กัญชา กระท่อม พืชกระท่อม
- ผลิตภัณฑ์จากกัญชาและพืชกระท่อม
- ไม่สามารถนำไปซื้อบัตรกำนัล
- บัตรเงินสด
- ทองคำ เพชร พลอย อัญมณี
- นำไปชำระหนี้ไม่ได้
- ไม่สามารถจ่ายค่าเรียน ค่าเทอมได้
- ไม่สามารถนำไปจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์
- ไม่สามารถซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซธรรมชาติได้
- แลกเป็นเงินสดไม่ได้
- แลกเปลี่ยนในตลาดต่างๆไม่ได้
ทั้งนี้ ใช้ได้กับร้านค้าที่อยู่ในอำเภอเดียวกับบัตรประชาชนเท่านั้น โดยสามารถใช้ซื้อสินค้าได้ทุกร้านค้า ไม่ได้จำกัดแต่ร้านที่อยู่ในระบบภาษี ไม่จำเป็นต้องจด VAT แต่ต้องมีการลงทะเบียนรับสิทธิ และร้านค้าที่จะขึ้นเงินได้ต้องอยู่ในระบบภาษีเท่านั้น
นโยบายดิจิทัลวอลเล็ต (Digital Wallet) ไม่ใช่การสงเคราะห์ประชาชนผู้ยากไร้ แต่เป็นการเติมเงินลงไปในระบบเศรษฐกิจผ่านสิทธิการใช้จ่าย เพื่อให้ประชาชนมีบทบาทร่วมกับรัฐบาล (Partnership) ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจ ผ่านสิทธิการใช้จ่าย 10,000 บาท
ดูถ่ายทอดสดการแถลงข่าวนโยบาย โครงการเติมเงิน 10 ,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล