จาก 7 เมษา…ถึง 31 ธันวา
“แสงสุดท้ายของปี 2566” ที่วัดราชบูรณะ ซึ่งแสงสุดท้าย ที่ผมได้ เห็นเมื่อ 31 ธันวาคม 2566 กับ แสงสุดท้ายที่อยุธยา เมื่อ 7 เมษายน ต้องไม่เหมือนกันอย่างแน่นอน…. ไม่ใช่ เพราะเป็นคนละวันกัน แต่เพราะผมกำลังพูดถึง วันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2310
อากาศดีช่วงปีใหม่ หลายคนไม่ได้ไปที่ไหนไกล ส่งท้ายปีเก่า 31 ธันวาคม แค่อยุธยานี่เอง
ผมก็ไปเหมือนกัน เพราะเคยใช้ชีวิตที่นั่นนานถึง 8 ปีช่วงเรียนหนังสือที่โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย
บรรยากาศยามโพล้เพล้ที่ วัดราชบูรณะ และ แสงไฟที่สาดส่องเจดีย์ต่างๆยามค่ำ ที่วัดไชยวัฒนาราม ช่างงดงาม จนผมต้องจัด “วรภัทร คัดมาคุย” ในวันนี้ครับ
สาวๆในชุดไทยวิจิตรตระการตา พากันเดินเฉิดฉายไปทั่ว เพื่อหามุมมถ่ายรูปงามๆ อากาศยามค่ำก็แสนจะเป็นใจ ค่อนข้างเย็นสบาย ส่วนหนุ่มน้อยหนุ่มใหญ่ วัย 9 ขวบจนถึง 39 -40 ผมก็เห็นหลายคนใส่ชุด นักรบไทย บางคนถือ ดาบเดี่ยว บางคนไขว้หลังด้วยดาบคู่ ดูสมความเป็นชายชาติทหาร
สมัยอายุ 10 ขวบ ผมขี่จักรยานไปโรงเรียน ผ่านซากปรักหักพังของโบราณวัตถุ และเจดีย์ต่างๆมากมายที่ถูก ทอดทิ้ง โดยไม่ได้รับการเหลียวแลจากเจ้าหน้าที่เท่าที่ควร ผมเห็นเจดีย์ทุกวันจนคุ้นเคย และไม่รู้สึกอะไรเป็น พิเศษ
หลายสิบปีผ่านไป ผมไปอยุธยาครั้งนี้ เพื่อดู“แสงสุดท้ายของปี 2566” ที่วัดราชบูรณะ ซึ่งแสงสุดท้าย ที่ผมได้ เห็นเมื่อ 31 ธันวาคม 2566 กับ แสงสุดท้ายที่อยุธยา เมื่อ 7 เมษายน ต้องไม่เหมือนกันอย่างแน่นอน…. ไม่ใช่ เพราะเป็นคนละวันกัน แต่เพราะผมกำลังพูดถึง วันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2310 ครับ
สมัยเด็ก บางครั้งผมก็อดคิดไม่ได้ว่าซากปรักหักพัง ที่ผมขี่จักรยานผ่านทุกวันนั้น เมื่อ 300 ปีก่อนจะเป็นเช่นใด ผม แอบคิดว่า ทุกพื้นที่ซึ่งผมขี่จักรยานผ่าน น่าจะเคยมีบรรพบุรุษของเรา ถือดาบวิ่งเข้าเผชิญหน้าต่อสู้กับทหารพม่า ที่บุกเข้ามายึดอโยธยา
วันที่เราเสียกรุง เมื่อค่ำวันที่ 7 เมษายน 2310 นั้น พระราชวังและบ้านเมือง รวมทั้งวัดวาอาราม และ พระพุทธรูป ถูกเผาหมดสิ้น แสงไฟส่องสว่างไปทั่วเมือง ราวกับเป็นเวลากลางวัน
คืนวันที่ 31 ธันวาคม 2566 ที่ผมเดินอยู่รอบเจดีย์ใหญ่วัดราชบูรณะนั้น ผมมีความรู้สึกแว่บเข้ามาว่า ตรงนี้ น่าจะเป็นจุดหนึ่ง ที่นักรบไทยผู้กล้าหาญ ยืนหยัดเข้าต่อสู้เพื่อปกป้องบ้านเมือง และนักรบไทยบางคน อาจจะจบ ชีวิตลง ณ จุดที่ผมยืนอยู่นั้น ก็เป็นได้…. คิดแล้วขนลุกครับ
ผมยืนดูซากพระพุทธรูปที่ถูกไฟเผาจนใหม้เกรียม พระพุทธรูปหลายองค์ถูกทำลายจนแตกสลายเป็นชิ้นเล็กชิ้น น้อย
เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2310 ยามค่ำคืน ขณะที่ทหารพม่าเข้ายึดอโยธยา และจุดไฟลุกโชติช่วง เผาบ้านเมืองเรา อย่างฮึกเหิมนั้น ชาวอยุธยา คงจะโกลาหลและตื่นตระหนก เมื่อได้ยินเสียงข้าศึกถืออาวุธวิ่งไล่ล่า และน่าจะกรีด ร้องหลบรี้หนีตายกันทั่วหน้า พยายามรักษาชีวิตของตนเองและลูกเล็กเด็กแดงเอาไว้
คนที่พอจะมีเวลาเตรียมตัว อาจจะนำอัญมณีและสิ่งของมีค่าต่างๆ ไปฝังซ่อนไว้ใต้ดินหรือภายในเจดีย์ต่างๆ คล้ายๆกับที่กรมศิลปากรได้พบเครื่องทองคำราชูปโภค พระพุทธรูป สถูปทองคำ ฯลฯ ในพระปรางค์องค์ใหญ่ของ วัดราชบูรณะ เมื่อเดือนกันยายน 2500… ก็ตรงที่ผมยืนดูอยู่นี่แหละ
ทำให้ผมนึกเปรียบเทียบกับ ภาพข่าวสงครามปัจจุบันที่เราเห็นทางโทรทัศน์ เมื่อข้าศึกใช้โดรนยิงระเบิดและอาวุธ ร้ายแรงไปตกกลางชุมชน แล้วผู้คนก็วิ่งหนีตายกันอลหม่าน
เรื่องของอยุธยาล่มสลาย คงเล่าได้เรื่อยๆครับ แต่ที่ผมจะสรุปสั้นๆก็คือ ครั้งนั้นเราพ่ายแพ้พม่า เพราะชนชั้น ปกครองต่างหลงระเริงอยู่กับความสุข การทุจริต และขาดความสามัคคี ซึ่งเป็นบทเรียนที่มีราคาแพงมาก สำหรับคนไทย
นักประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า มีการทุจริตกินสินบนในราชการทุกระดับอย่างกว้างขวาง ทั้งในพระนครและหัว เมือง เห็นได้จาก พระราชกำหนดเรื่องคุณสมบัติของข้าราชการเมื่อ พ.ศ. 2283 ซึ่งออกมา 27 ปีก่อนเสียเมือง ระบุว่า……
”…..เบียดเบียนอะนาประชาราษฎร ข่มเหงฉ้อประบัด เอาพัศดุเงินทองมาใช้ค่าสีนบนและเลี้ยงบุตรภรรยา มิได้กลัวแก่บาปละอายแก่บาป อนาประชาราษฎรไพร่พลเมืองจึ่งได้ความยากแค้นเดือดร้อน ไพร่ท้องหมู่และ ไพร่บ้านพลเมืองจึ่งร่วงโรย….“
ทำให้อยุธยาอ่อนแอ จนกระทั่งเสียเมือง เสียอิสรภาพให้แก่พม่า
ผมอยากให้หนุ่มสาววันนี้ ตระหนักว่า ทรัพย์มรดกที่ตกทอดจากบรรพบุรุษ ถึงแม้จะเป็นซากปรักหักพังที่เรายืน ถ่ายภาพอยู่ก็ตาม แต่ท่านแลกมาด้วยชีวิตและจิตที่กล้าหาญ
ขอให้ความรู้สึกอย่างนี้ อยู่ในใจของพวกเรา จะได้รักชาติบ้านเมืองให้มากยิ่งขึ้น กตัญญูรู้คุณบรรพบุรุษ และ ช่วยกันทนุถนอมทรัพย์มรดกเหล่านี้ ไว้ให้ลูกหลานของเราต่อไป
ส่วนชนชั้นปกครองที่มีอำนาจอยู่ในเวลานี้ หรือใครก็ตามที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจ เหนือกว่าประชาชนส่วน ใหญ่ในสังคม ก็ควรถามตัวเองว่าจะคอรัปชั่นกันไปถึงไหน จะหาความสุขส่วนตัวกันไปถึงไหน จะทะเลาะ ขัดแย้ง กันมากไปกว่านี้เพื่ออะไร
ไม่กลัวบ้างหรือว่า ดวงวิญญาณของนักรบไทย ที่เฝ้าดูสยามประเทศ ซึ่งท่านได้ปกป้องรักษาไว้ จนถึงวินาที สุดท้ายของชีวิต ในขณะที่มือทั้งสองข้างยังกุมดาบแน่นอยู่เลยนั้น ท่านอาจจะตั้งคำถามว่า “บ้านเมืองที่ข้ารักษา ไว้…เองทำแบบนี้ ได้อย่างไร?”
ถ้าหากไม่อยากตอบคำถามนั้น ผมว่าปีใหม่นี้ เริ่มต้นใหม่เถอะครับ
ยังพอทัน