นางรำกว่า 500 ชีวิต รำบวงสรวง เปิดซุ้มวัฒนธรรมไทเลย งานดอกฝ้ายบาน จ.เลย
นางรำกกว่า 500 ชีวิต พร้อมใจรำบวงสรวง เปิดซุ้มวัฒนธรรมไทเลย ในงานดอกฝ้ายบาน สืบสานวัฒนธรรมไทเลย ดัน Soft power อนุรักษ์ สืบทอดและส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นพื้นบ้าน กระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน ทั้ง 14 อำเภอ ของ จ.เลย 1 กุมภาพันธ์ 2567
วันนี้ 1 กุมภาพันธ์ 2567 เมื่อเวลา 08.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ณ สนามหน้าศาลากลางจังหวัดเลย ต.กุดป่อง อ.เมืองเลย จ.เลย นายชัยพจน์ จรูญพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย เป็นประธานเปิดงานดอกฝ้ายบาย สืบสานวัฒนธรรมไทเลย ประจำปี 2567
พิธีกรรมช่วงเช้าของวันนี้ คือพิธีบวงสรวงศาลหลักเมือง เจ้าพ่อกุดป่อง ที่สวนสุขภาพกุดป่อง พิธีบวงสรวงพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ หน้าศาลากลางจังหวัด ซึ่งมีนางรำกว่า 500 ชีวิต ร่วมรำบวงสรวงในพิธีนี้ด้วย จากนั้นได้ทำพิธีเปิดซุ้มวัฒนธรรมไทเลย ร้านวัฒนธรรมจังหวัดเลย
นางสาวณัณธิญาจ์ มังคละคีรี วัฒนธรรมจังหวัดเลย กล่าวรายงานว่า ในพิธีเปิดร้านดอกฝ้ายบาน @เมืองเลย ในงานดอกฝ้ายบาน สืบสานวัฒนธรรมไทเลย ประจำปี 2567 เป็นการบูรณาการการจัดกิจกรรมของหน่วยงาน รวมจำนวน 6 หน่วยงาน ได้แก่
- สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเลย
- สภาวัฒนธรรมจังหวัดเลย
- สำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเลย
- มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย
- มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
- วิทยาลัยสงฆ์เลย
- มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน ในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล "Soft power" one Family one Soft power ตลอดจนการอนุรักษ์ สืบทอดและส่งเสริมสนับสนุนและต่อยอดศิลปะวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นพื้นบ้าน
เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างงาน สร้างรายได้ สร้างสังคมให้มีคุณค่า และเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก อันนำไปสู่การสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน
อีกทั้งเป็นการจัดกิจกรรมในทุกมิติเพื่อส่งเสริม การท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรมและวิถีชุมชน รวมทั้งเป็นการเปิดพื้นที่ให้เยาวชน สถานศึกษา กลุ่มศิลปินต่างๆ ชมรมผู้สูงอายุ และเครือข่ายทางวัฒนธรรมได้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์
โดยกิจกรรมภายในร้านดอกฝ้ายบาน @เมืองเลย ประกอบไปด้วย กิจกรรมการสาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม อาทิ การทำเครื่องจักสานจากไม้ไผ่ รมควัน การทำของที่ระลึกจากธุง การทำกระทงกะลา การจำหน่ายผ้าฝ้ายและผ้าไหมในท้องถิ่น
ซึ่งเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน จากทั้ง 14 อำเภอ กิจกรรมการสาธิตอาหารฟิวชั่นจากเชฟชุมชน ซึ่งเป็นการยกระดับอาหารพื้นบ้านไทเลยไปสู่อาหารสไตล์ใหม่ที่รับประทานง่ายและรสชาติอร่อย
และการสาธิตอาหารพื้นบ้าน เป็นอาหารที่ หล่อหลอมจากวิถีชีวิตและวัฒนธรรมพื้นถิ่น มีคุณค่าทางโภชนาการและมีประโยชน์ อีกทั้งยังสามารถสร้าง รายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจให้กับชุมชน สามารถนำครัวไทยสู่ครัวโลก ต่อไปในอนาคต
กิจกรรมการสาธิต งานหัตถกรรม งานฝีมือและงานประดิษฐ์ จากกลุ่มชุมชนคุณธรรม กลุ่มเยาวชนและสถานศึกษาต่างๆ เช่น การวาดภาพระบายสีหน้ากากผีตาโขน ผีขนน้ำ ผีบุ้งเต้า การแสดดนตรีพื้นบ้านและดนตรีร่วมสมัย จากสถานศึกษาต่างๆ