รู้จักสายพันธุ์เงาะพันธุ์สีชมพู เงาะโรงเรียน เนื้อนุมหวาน ผลไม้ที่ชอบกิน
ทำรู้จักสายพันธุ์เงาะ "เงาะพันธุ์สีชมพู - เงาะโรงเรียน" เนื้อนุม กรอบ หวานฉ่ำ ผลไม้ที่ชอบกินฤดูกาลนี้ที่ชาวสวนปลูกกันมากในจันทบุรี ถิ่นกำเนิดเงาะมาจากไหน?
"เงาะ" เป็นผลไม้ปลูกกันมากในจันทบุรี นอกเหนือจากทุเรียน ช่วงนี้กำลังมีผลผลิตออกสู่ท้องตลาด ทั้งเงาะ พันธุ์สีชมพู และเงาะโรงเรียน ชวนมาทำความรู้รู้จักสายพันธุ์เงาะ "เงาะพันธุ์สีชมพู - เงาะโรงเรียน" เนื้อนุม กรอบ หวานฉ่ำ ผลไม้ที่ชอบกินฤดูกาลนี้ที่ชาวสวนปลูกกันมากในจันทบุรี ถิ่นกำเนิดเงาะมาจากไหน?
ชื่อเรียกเงาะแต่ละพื้นที่
“เงาะ” เป็นผลไม้ที่ทุกคนรู้จักกันดี
- ปัตตานีบางคนจะเรียกเงาะว่า “พรวน”
- อังกฤษเรียก “รัมบูตาน” ตามอินโดนีเซีย (รัมบุท แปลว่า ขน)
- ฟิลิปปินส์เรียก รัมบูตาน บ้าง ยูซาน (Usan)
- เขมรเรียก “ซาวมาว”
- เวียดนามเรียก “ไหวทิว” (Vai thieu)
ลักษณะทั่วไปของเงาะ
- เงาะในธรรมชาติเป็นต้นไม้สูงใหญ่ สูงได้กว่า 10 เมตร แต่เงาะปลูกจะสูงได้ประมาณ 4 – 7 เมตร แผ่กิ่งก้านสาขา รัศมีพุ่มประมาณ 4 – 5 เมตร
- เงาะปลูกส่วนมากมีใบเพียง 3 คู่ ด้านบนเกลี้ยง บางครั้งก็มีขนอ่อนเล็กน้อยที่เส้นกลางใบ ด้านล่าง (ใต้ใบ) มีขนบ้าง ไม่มีขนบ้าง
- ปลายใบตัดเรียวแหลม เส้นใบเห็นเด่นชัด ยอดอ่อนมีขน ช่อดอก มีทั้งที่แทงออกจากยอดเทียม (ตามด้านข้างกิ่ง) และยอดแท้ (ปลายกิ่ง)
- ดอกถ้าไม่เป็นดอกเพศผู้ ก็เป็นดอกเพศกระเทย ชาวสวนเรียกเงาะกระเทย หรือเงาะตัวเมีย
การปลูกเงาะในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี
ชาวสวนจันทบุรีนิยมปลูกเงาะอยู่ 2 พันธุ์ คือ
เงาะพันธุ์สีชมพู
- เป็นเงาะพันธุ์พื้นเมืองที่มีแหล่งกำเนิดดั้งเดิมในจันทบุรี เนื้อนุ่มหวาน เมื่อสุกผลจะมีสีชมพูทั้งลูกและขนสวยสดชื่นยิ่งนัก
เงาะโรงเรียน
- มีถิ่นกำเนิดที่อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี และมีผู้นำมาปลูกในจังหวัดจันทบุรี เมื่อราวปี พ.ศ. 2505 – 2510
ลักษณะของผลเงาะโรงเรียน จะใหญ่กว่าเงาะสีชมพู เนื้อนุม กรอบ หวาน หอม เมื่อสุกผลจะมีสีแดงเข้มแซมด้วยขนสีแดงอมเขียว
ราคาซื้อขายสูงกว่าพันธุ์เงาะสีชมพู แต่ให้ผลผลิตต่อต้นน้อยกว่าเงาะพันธุ์สีชมพู และการบำรุงรักษาเมื่อติดลูกจนกระทั่งถึงเก็บเกี่ยวค่อนข้างสิ้นเปลืองและยากกว่าพันธุ์สีชมพู
อ้างอิง : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี , ที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี : อัมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ. 2533. , ไพโรจน์ ผลประสิทธิ์. ผลไม้ไทยๆ : สำนักนายกรัฐมนตรี. 2545. , ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี