ข้าราชการต้องรู้! 'วันที่ถูกลงโทษ' คืออะไร เปิดคำสั่งศาลปกครองสูงสุด

ข้าราชการต้องรู้! 'วันที่ถูกลงโทษ' คืออะไร เปิดคำสั่งศาลปกครองสูงสุด

เรื่องนี้คนมีสี ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พนักงานรัฐ เจ้าหน้าที่รัฐ ต้องรู้! 'วันที่ถูกลงโทษ' คืออะไร เปิดคำสั่งศาลปกครองสูงสุด กรณีคำสั่งลงโทษทางวินัยไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ

อัปเดตล่าสุด เรื่องในวงการงานราชการ ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พนักงานรัฐ และเจ้าหน้าที่รัฐ ต้องรู้ไว้ กรณี วันที่ถูกลงโทษ คืออะไร เปิดคำสั่งศาลปกครองสูงสุด กรณีคำสั่งลงโทษทางวินัยไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ

สำนักส่งเสริมงานคดีปกครอง ได้เผยแพร่เรื่อง วินัยข้าราชการ กรณี “วันที่ถูกลงโทษ” ตามมาตรา 101 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561

คำสั่งลงโทษทางวินัยไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ เป็นคำสั่งที่มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ฟ้องคดี

จึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

และย่อมมีผลใช้ยันต่อบุคคลตั้งแต่ขณะที่ผู้ฟ้องคดีได้รับแจ้งเป็นต้นไปตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว

ดังนั้น การที่มาตรา 101 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 กำหนดให้ผู้ซึ่งถูกลงโทษตามมาตรา 98 มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ถูกลงโทษ วันดังกล่าวจึงต้องหมายถึงวันที่ผู้ถูกลงโทษตามมาตรา 98 ได้รับแจ้งคำสั่งลงโทษทางวินัย ซึ่งถือเป็นวันที่คำสั่งมีผลทางกฎหมาย หาใช่วันที่ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนของผู้ถูกลงโทษได้พิจารณาลงนามในคำสั่งลงโทษทางวินัยไม่

เมื่อคดีนี้ผู้ฟ้องคดีได้รับแจ้งคำสั่งที่ลงโทษไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565

ผู้ฟ้องคดีจึงต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลภายในกำหนดเวลาเก้าสิบวันนับแต่วันดังกล่าว คือ ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2565

การที่ผู้ฟ้องคดีนำคดีมาฟ้องต่อศาลเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2565 จึงเป็นการยื่นฟ้องคดีภายในกำหนดระยะเวลาการฟ้องคดี

ข้าราชการต้องรู้! \'วันที่ถูกลงโทษ\' คืออะไร เปิดคำสั่งศาลปกครองสูงสุด

อ้างอิง - คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 112/2567 (ประชุมใหญ่)