#saveทับลาน ลงชื่อคัดค้านอุทยานแห่งชาติทับลาน ปรับเขตป่าทับลาน 2.6 แสนไร่

#saveทับลาน ลงชื่อคัดค้านอุทยานแห่งชาติทับลาน ปรับเขตป่าทับลาน 2.6 แสนไร่

#saveทับลาน ลงชื่อคัดค้านอุทยานแห่งชาติทับลานจังหวัดปราจีนบุรี - นครราชสีมา - สระแก้ว ปรับแนวเขตใหม่ 265,000 ไร่ ถึง 12 ก.ค. 67 ทางออนไลน์ ด้านมูลนิธิสืบนาคะเสถียร เผยผลกระทบ เพิกถอนพื้นที่ อช.ทับลาน - ชวนรู้จักอุทยานฯทับลาน ป่าทับลาน มรดกโลก ป่าลานผืนสุดท้ายของประเทศไทย

คนไทยต้องมีส่วนร่วม! #saveทับลาน เปิดลงชื่อคัดค้านอุทยานแห่งชาติทับลาน จังหวัดปราจีนบุรี - นครราชสีมา - สระแก้ว  ปรับแนวเขตใหม่ พื้นที่ 265,000 ไร่ ถึง 12 กรกฎาคม 2567 ผ่านช่องทางออนไลน์ ด้านมูลนิธิสืบนาคะเสถียร เผย 6 ผลกระทบ หากมีการเพิกถอนพื้นที่ อช.ทับลาน พร้อมชวนรู้จักอุทยานฯทับลาน "ป่าทับลาน" มรดกโลก ป่าลานผืนสุดท้ายของประเทศไทย

 

#saveทับลาน ลงชื่อคัดค้านอุทยานแห่งชาติทับลาน ปรับเขตป่าทับลาน 2.6 แสนไร่

อุทยานแห่งชาติทับลาน จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดสระแก้ว เปิดรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชนที่เกี่ยวข้อง และประชาชน ในการกำหนดพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดสระแก้ว 

ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2566 โดยการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) พื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน (จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดปราจีนบุรี) แจ้งมติคณะทำงานพิจารณาปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการมาตราส่วน 1 : 4000 (One Map)

ภายใต้คณะอนุกรรมการการปรับปรุงแผนที่ แนวเขตที่ดินของรัฐ (One Map) ครั้งที่ 4/2566 เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2566 เห็นชอบผลดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐฯ (One Map) ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน 

เพื่อให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มอบหมายกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช นำเรื่องเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ พิจารณาดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2566 โดยให้ส่วนราชการดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบต่อไป 

#saveทับลาน ลงชื่อคัดค้านอุทยานแห่งชาติทับลาน ปรับเขตป่าทับลาน 2.6 แสนไร่

สำหรับพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ที่จะผนวกเพิ่มประมาณ 110,000 ไร่ ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พิจารณาดำเนินการตามความเหมาะสมต่อไป

โดยการกำหนดพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดสระแก้ว มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2566 เห็นชอบแนวทางของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช) ใช้เส้นปรับปรุงการสำรวจแนวเขตปี พ.ศ. 2543 ในการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน

 

#saveทับลาน ลงชื่อคัดค้านอุทยานแห่งชาติทับลาน ปรับเขตป่าทับลาน 2.6 แสนไร่

สำหรับ อุทยานแห่งชาติทับลาน มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอปักธงชัย อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอครบุรี อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา และอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 1,387,375 ไร่ หรือ 2,235.80 ตารางกิโลเมตร 

ซึ่งหากมีการปรับปรุงแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลานตามแนวเขตใหม่นี้ จะมีผลทำให้อุทยานแห่งชาติทับลานมีเนื้อที่ลดน้อยลงไปประมาณ 265,000 ไร่ และแม้จะมีการเสนอผนวกพื้นที่ทางตอนเหนือในท้องที่ตำบลจระเข้หิน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา เพิ่มเข้ามาอีกประมาณ 80,000 ไร่ ก็ยังไม่สามารถที่ จะยืนยันว่าจะผนวกเพิ่มได้หรือไม่

เนื่องจากพบว่ามีราษฎรถือครองที่ดินอยู่เป็นจำนวนมาก รวมทั้งยังอยู่ในขั้นตอนของการหาข้อยุติกับกรมป่าไม้ เนื่องจากมีแผนงานโครงการปลูกป่าที่มีงบประมาณต่อเนื่อง รวมทั้งมีการจัดตั้งป่าชุมชนไปเป็นส่วนใหญ่แล้ว 

ทั้งนี้ ในการเพิกถอนอุทยานแห่งชาติ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน จะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน ตามมาตรา 8 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ให้สงวน อนุรักษ์ คุ้มครอง และบำรุงรักษาอุทยานแห่งชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์อย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาดำเนินการในพื้นที่อื่น ๆ ด้วย

 

#saveทับลาน ลงชื่อคัดค้านอุทยานแห่งชาติทับลาน ปรับเขตป่าทับลาน 2.6 แสนไร่

 

อุทยานแห่งชาติทับลาน เปิดลงชื่อคัดค้านอุทยานแห่งชาติทับลาน ปรับแนวเขตใหม่ พื้นที่ 265,000 ไร่ ถึง 12 กรกฎาคม 2567 ผ่านช่องทางออนไลน์

อย่างไรก็ตาม ตามระเบียบในการกำหนดพื้นที่บริเวณใดเป็นอุทยานแห่งชาติ การขยายอุทยานแห่งชาติ หรือการเพิกถอนอุทยานแห่งชาติไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน จะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชนที่เกี่ยวข้อง และประชาชน เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาดำเนินการ 

เปิดรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชนที่เกี่ยวข้องและประชาชน ในการกำหนดพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดสระแก้ว

ประชาชนแสดงความคิดเห็น ลงชื่อคัดค้านผ่านเว็บไซต์ (คลิก) ตั้งแต่วันนี้ – 12 กรกฎาคม 2567

 

#saveทับลาน ลงชื่อคัดค้านอุทยานแห่งชาติทับลาน ปรับเขตป่าทับลาน 2.6 แสนไร่

#saveทับลาน ลงชื่อคัดค้านอุทยานแห่งชาติทับลาน ปรับเขตป่าทับลาน 2.6 แสนไร่

ชวนรู้จักอุทยานฯทับลาน "ป่าทับลาน" มรดกโลก ป่าลานผืนสุดท้ายของประเทศไทย

ชวนรู้จักอุทยานแห่งชาติทับลาน มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอปักธงชัย อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอครบุรี อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา และอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 1,387,375 ไร่ หรือ 2,235.80 ตารางกิโลเมตร 

สภาพป่ามีความอุดมสมบูรณ์และมีป่าลานซึ่งหาดูได้ยากที่มีเฉพาะบางท้องที่เท่านั้น มีต้นลานขึ้นตามธรรมชาติ เป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำลำธารต่าง ๆ และมีธรรมชาติที่สวยงาม เช่น หุบผา หน้าผา น้ำตก นับว่าเป็นอุทยานแห่งชาติที่มีพื้นที่มากเป็นอันดับสองของประเทศไทย รองจากอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน

เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทับลาน อุทยานแห่งชาติปางสีดา อุทยานแห่งชาติตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ได้รับการประกาศให้เป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติโดยยูเนสโก ภายใต้ชื่อ "กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่"

ลักษณะภูมิประเทศ

อุทยานแห่งชาติทับลานเป็นอุทยานแห่งชาติที่มีพื้นที่ส่วนหนึ่งอยู่ในเขตทิวเขาพนมดงรัก สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปประกอบด้วยภูเขาใหญ่น้อยสลับซับซ้อนต่อเนื่องกันเป็นบริเวณกว้างขวาง โดยมีเขาที่สำคัญหลายลูก เช่น เขาละมั่ง เขาภูสามง่าม เขาภูสูง เขาใหญ่ เขาวง เขาสลัดได เขาทิดสี เขาไม้ปล้อง เขาทับเจ็ก และเขาด่านงิ้ว 

ซึ่งยอดเขาละมั่งเป็นยอดเขาที่สูงสุด มีระดับความสูงประมาณ 992 เมตรจากระดับน้ำทะเล เป็นทิวเขายาวต่อเนื่องกันทำให้มีหุบเขาตามธรรมชาติ เหว และน้ำตก เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำหลายสาย เช่น ห้วยขมิ้น ห้วยปลาก้าง ห้วยคำแช ห้วยคำขี้แรด ห้วยมูลสามง่าม ห้วยภูหอม ห้วยกระทิง ห้วยลำเลย ห้วยกุดตาสี ห้วยลำดวน เป็นต้น 

ลำห้วยแต่ละสายไหลรวมกันเป็นแม่น้ำมูล ส่วนลำห้วยสวนน้ำหอม ห้วยหินยาว ห้วยชมพู ห้วยสาลิกา ห้วยวังมืด ห้วยลำไยใหญ่ ฯลฯ ลำห้วยเหล่านี้จะไหลรวมกันเป็นแม่น้ำบางปะกง

อุทยานแห่งชาติทับลาน ประกาศเป็นอุทยานฯ ลำดับที่ 39 ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2524 

อุทยานแห่งชาติทับลาน มีสถานที่น่าสนใจ ได้แก่ 

  • ป่าลานและสวนพักผ่อนหย่อนใจ อยู่บริเวณที่ทำการอุทยานฯ เป็นป่าลานที่ขึ้นเองตามธรรมชาติแห่งสุดท้ายของประเทศไทย 
  • ต้นลานและพันธุ์ไม้นานาชนิด 
  • น้ำตกทับลานหรือน้ำตกเหวนกกก เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่สวยงาม มีความสูง 20 เมตร มีน้ำไหลเฉพาะในช่วงฤดูฝนเท่านั้น 
  • อ่างเก็บน้ำทับลาน เป็นอ่างเก็บน้ำที่สวยงามล้อมรอบไปด้วยภูเขา 
  • หาดชมตะวัน เป็นชายหาดริมอ่างเก็บน้ำของเขื่อนลำปลายมาศ ตัวหาดมีความยาว 300 เมตร 
  • น้ำตกบ่อทอง เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามมากในช่วงฤดูฝน ประมาณเดือนกรกฎาคม-เดือนกันยายน 
  • น้ำตกห้วยคำภู เป็นลำธารที่มีน้ำไหลลดหลั่นลงมาเป็นชั้น ๆ ด้านล่างเป็นฝายน้ำล้นเหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ 
  • ลำแปรง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มีสัตว์ป่านานาชนิด 
  • น้ำตกห้วยใหญ่ เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่มีความสวยงาม มีความสูง 50 เมตร กว้าง 30 เมตร ไหลแผ่กว้างเป็นม่านน้ำตก มีน้ำไหลตลอดปี 
  • น้ำตกสวนห้อม ห้วยขมิ้น ห้วยใหญ่ใต้ น้ำตกมีลักษณะเป็นหน้าผา มีความสูง 50 เมตรกว้าง 30 เมตร น้ำตกมีความสวยงามมากในฤดูฝน (ประมาณเดือนกรกฎาคม-กันยายน) 
  • เขื่อนลำมูลบน เป็นเขื่อนดินสูง 30 เมตร และเป็นต้นน้ำของแม่น้ำมูลที่เกิดจากผืนป่าทับลาน บนสันเขื่อน มองเห็นทิวทัศน์สวยงามของอ่างเก็บน้ำได้ และมีการพัฒนาบริเวณหาดบริเวณท้ายเขื่อนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เรียกว่า หาดจอมทอง 

 

#saveทับลาน ลงชื่อคัดค้านอุทยานแห่งชาติทับลาน ปรับเขตป่าทับลาน 2.6 แสนไร่

#saveทับลาน ลงชื่อคัดค้านอุทยานแห่งชาติทับลาน ปรับเขตป่าทับลาน 2.6 แสนไร่

 

มูลนิธิสืบนาคะเสถียร เปิด 6 ผลกระทบ หากมีการเพิกถอนพื้นที่ อุทยานแห่งชาติทับลาน กว่า 265,000 ไร่

1.หากใช้เส้นแนวเขตสำรวจอุทยานแห่งชาติทับลาน ปี 2543 ตามมติ ครม. เป็นแนวเขตทับลาน อช.ทับลาน จะเป็นการบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติกว่า 164,960 ไร่ ผิดกฎหมายตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ

2. กระทบต่อรูปคดีที่กล่าวโทษดำเนินคดีไว้แล้วตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ 2504 และอยู่ระหว่างดำเนินการ เป็นนายทุน/ผู้ครอบครองรายใหม่ 470 ราย และเปลี่ยนแปลงพื้นที่ใช้ประโยชน์ 23 ราย เนื้อที่กว่า 11,083-3-20 ไร่

3. เอื้อประโยชน์ต่อนายทุนให้มีการเข้ามาซื้อขายแลกเปลี่ยนมือเพื่อสร้างโรงแรม รีสอร์ท และบ้านพักตากอากาศเพิ่มมากขึ้น

4. ลดคุณค่าความเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ ผืนป่าแห่งนี้เป็นต้นน้ำลำธารที่ไหลหล่อเลี้ยงชุมชนโดยรอบ และเป็นพื้นที่ความหวังในการฟื้นฟูประชากรเสือโคร่ง

5. เปิดโอกาสให้การใช้ประโยชน์ที่ดิน ขุด ถม อัด ตัดไม้ ทำลายสภาพพืชพรรณบริเวณนั้น ผิวดินขาดสิ่งปกคลุมในการรักษาความชุ่มชื้น และช่วยดูดซึมน้ำ จนส่งผลต่อการระบายน้ำตามธรรมชาติและอาจเกิดปัญหาน้ำท่วมอย่างฉับพลันในบริเวณพื้นที่ราบทางตอนล่างตอนช่วงฤดูฝน

6. แหล่งที่อยู่อาศัย หากิน หรือเส้นทางอพยพเคลื่อนย้ายของสัตว์ป่า เนื่องจากกิจกรรมมนุษย์เข้าไปรบกวนสัตว์ป่าตามแนวเขตเกินความสามารถในการควบคุมในพื้นที่

 

#saveทับลาน ลงชื่อคัดค้านอุทยานแห่งชาติทับลาน ปรับเขตป่าทับลาน 2.6 แสนไร่

อ้างอิง-ภาพ : อุทยานแห่งชาติทับลาน - Thap Lan National Park