ฝนตกหนัก น้ำท่วมเพชรบูรณ์ ชาวบ้านเก็บของขึ้นที่สูง รถเล็กสัญจรไม่ได้
"พายุฝนถล่ม" อิทธิพลร่องมรสุมกำลังแรงภาคเหนือตอนบน ฝนตกหนักวันนี้ น้ำท่วมเพชรบูรณ์ น้ำป่าไหลหลาก ต.ตาดกลอย อ.หล่มเก่า ชาวบ้านเก็บของขึ้นที่สูง รถเล็กสัญจรไม่ได้ เช็กสภาพอากาศ พื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมฉับพลัน กรมอุตุนิยมวิทยา ฉ.12 แจ้งรายชื่อ 44 จว.เจอพายุฝนฟ้าคะนอง
อิทธิพลร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง "พายุฝนถล่ม" ฝนตกหนักวันนี้ เกิดน้ำท่วมเพชรบูรณ์ น้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ต.ตาดกลอย อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ ชาวบ้านเก็บของขึ้นที่สูง รถเล็กสัญจรไม่ได้
เช็กสภาพอากาศ ฝนตกวันนี้ มีฝนเพิ่มทั่วไทย พื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมฉับพลัน หลังกรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศฉบับ 12 แจ้งรายชื่อ 44 จังหวัดเจอพายุฝนฟ้าคะนอง
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศฉบับ 12 แจ้งรายชื่อ 44 จังหวัด เสี่ยงเจอพายุฝนฟ้าคะนอง ไทยตอนบน "ภาคเหนือ - กลาง - อีสาน" มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 17–19 กรกฎาคม 2567
ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ อ่าวไทย ภาคกลาง และภาคตะวันออก
ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และมีฝนตกหนักมากบางแห่งขอให้ประชาชนในบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก
โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย
ฝนตกวันนี้ จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก
เช็กอากาศวันนี้ วันที่ 18 กรกฎาคม 2567
ภาคเหนือ
- จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- จังหวัดเลย ชัยภูมิ หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง
- จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี และราชบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคตะวันออก
- จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้
- จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา และภูเก็ต
อ่านประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยฉบับที่ 12 มีผลกระทบ 17–19 ก.ค. 67 (คลิก)
แผนรับมืออิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง จังหวัดเพชรบูรณ์
เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา นายกฤษณ์ คงเมือง ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ ในฐานะผู้อำนวยการจังหวัด ประชุมคณะกรรมการศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยจังหวัดเพชรบูรณ์ ปี 2567 ได้มอบหมายให้นายชนก มากพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นประธานการประชุมฯ
โดยมีนายธงชัย เสนาะศรีตระกูล หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเพชรบูรณ์ พร้อมด้วย คณะกรรมการฯ ผู้แทนศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต ๙ พิษณุโลก
ผู้แทนสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 2 สระบุรี ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาพิษณุโลก ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 1 (ลำปาง)
ในส่วนของอำเภอ ทุกอำเภอ ได้เข้าร่วมประชุมฯ ณ ที่ว่าการอำเภอ ผ่านระบบอิเลกทรอนิกส์ พร้อมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ เพื่อให้มีการประเมินสถานการณ์ และวางแผนเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์
ตามประกาศแจ้งเตือนกรมอุตุนิยมวิทยา ที่คาดว่าฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ในระหว่างวันที่ 14-22 กรกฎาคม 2567
ในการนี้ นายชนก มากพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นประธานการประชุมฯ ได้มีข้อสั่งการให้ทุกหน่วยงาน ดำเนินการ ดังนี้
1. ให้อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ การเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ ให้ใช้กลไกทั้งท้องถิ่นและท้องที่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านผู้นำชุมชุม ตลอดจนอาสาสมัครภาคประชาชน ในการเฝ้าระวัง ติดตามแนวโน้มสถานการณ์ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่อาจส่งผลให้เกิดสถานการณ์อุทกภัย พร้อมทั้งแจ้งเตือนประชาชนให้ครอบคลุมทุกพื้นที่และเตรียมพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ทุกช่องทาง ปฏิบัติหน้าที่เต็มกำลัง 24 ชั่วโมง
2. เร่งกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำขุดลอกคูคลองสาธารณะ ท่อระบายน้ำ โดยเฉพาะในพื้นที่ เสี่ยงที่เกิดอุทกภัยเป็นประจำ
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำให้เต็มศักยภาพ
3. การสร้างการรับรู้สู่ประชาชน ให้ใช้ช่องทางที่สามารถส่งข่าวสารไปถึงประชาชนในพื้นที่เสี่ยงได้โดยตรง อาทิ หอกระจายข่าว เครือข่ายภาคประชาชน ฯลฯ เพื่อให้ประชาชนทราบสถานการณ์และทราบถึงสิทธิการได้รับความช่วยเหลือและหลักเกณฑ์ในการให้ความช่วยเหลือของภาครัฐ รวมถึงให้มีการเตรียมความพร้อมหากจำเป็นต้องอพยพได้อย่างทันท่วงที
4. เมื่อเกิดสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ ให้จัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ในระดับอำเภอ และท้องถิ่น เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการระดมสรรพกำลังและทรัพยากรจากหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งประสานการเผชิญเหตุระหว่างหน่วยงานต่าง (ทั้งฝ่ายทหาร ตำรวจ พลเรือน องค์ปกครองส่วนท้องถิ่น มูลนิธิ และอาสาสมัครในพื้นที่ได้อย่างมีเอกภาพ
5. การให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัย ให้ความสำคัญในการให้ความช่วยเหลือด้านความปลอดภัยในชีวิตและการดำรงชีพก่อนเป็นอันดับแรก อาทิ
การจัดหาอาหาร ยารักษาโรคการรักษาความปลอดภัยให้ประชาชน การจัดหน่วยแพทย์คอยดูแลสภาพร่างกายและสภาพจิตใจผู้ได้รับผลกระทบ
รวมทั้งเร่งเข้าให้ความช่วยเหลือประชาชนให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้โดยเร็ว ตลอดจนขอให้กำชับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องถือปฏิบัติตามระเบียบอย่างเคร่งครัด
6. กรณีที่มีความจำเป็นสามารถขอรับการสนับสนุนทรัพยากร ขอให้ประสานการปฏิบัติการกับจังหวัดผ่านทางสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเพชรบูรณ์
อ้างอิง-ภาพ : สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเพชรบูรณ์ , องค์การบริหารส่วนตำบลตาดกลอย หล่มเก่า เพชรบูรณ์ , Natt Natthamon