ทางรัฐ คืออะไร? มีเวลาเดือนครึ่ง ลงทะเบียนเงินดิจิทัล 10000 บาท ยืนยันตัวตน
ทางรัฐ คืออะไร มีเวลาเดือนครึ่ง ลงทะเบียนเงินดิจิทัล 10000 บาท 1 ส.ค. โอนเงินเข้าโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท 50 ล.คนทั่วไทย ไตรมาส 4 แอพ Super App งบ 95 ล.บาท เช็กเงื่อนไขรับสิทธิ สินค้าซื้อไม่ได้ ดูคลิปวิธีลงทะเบียน ยืนยันตัวตนเงินดิจิตอล ใครได้เงินก่อน
ประชาชนรออีกอึดใจเดียวเท่านั้น มีความคืบหน้า ความชัดเจนขึ้นมาเรื่อยๆ สำหรับ เงินดิจิทัล 10000 บาท (Digital Wallet) ของ รัฐบาลนายกเศรษฐา "กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" พามาทำความรู้จัก "ทางรัฐ"คืออะไร? มีเวลาเดือนครึ่ง "ลงทะเบียนเงินดิจิทัล 10000 บาท" เริ่มลงทะเบียนวันแรก 1 สิงหาคม 2567 โอนเงินเข้าโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท 50 ล้านคนทั่วไทย ไตรมาส 4 ปี 2567
พัฒนาแอพ Super App อัดงบประมาณ 95 ล้านบาท เช็กเงื่อนไขรับสิทธิได้เงิน ดูคลิปขั้นตอนลงทะเบียน "6 วิธีลงทะเบียน" ยืนยันตัวตนเงินดิจิตอล ใครบ้างได้เงินก่อน ย้ำ 2 กลุ่มโดนตัดสิทธิแจกเงิน คนทำผิดเงื่อนไขโครงการรัฐบาลเก่าโดนด้วย เช็กสินค้าซื้อได้ สินค้าซื้อไม่ได้ที่นี่
แพลตฟอร์มการชำระเงิน หรือ ซูเปอร์แอป "ทางรัฐ" งบประมาณ 95 ล้านบาท
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบให้สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) เป็นผู้ดำเนินโครงการแพลตฟอร์มการชำระเงิน (Payment Platform) กรอบงบประมาณโครงการฯ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 95 ล้านบาท
และให้หน่วยงานของรัฐและสถาบันการเงินร่วมมือกับ สพร. ในการสนับสนุนข้อมูล และร่วมกำหนดแนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระยะต่อไป
คืบหน้า พัฒนาแอพทางรัฐ
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ DGA กำลังเร่งพัฒนาแอปพลิเคชันทางรัฐให้เป็น Government Super App รองรับนโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท
DGA ประกาศผู้ชนะการเสนอราคาในโครงการพัฒนาแอปพลิเคชันทางรัฐ เพื่อรองรับเงินดิจิทัล 10,000 บาท 2 โครงการ ได้แก่
- โครงการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลกลาง (Government Super App): บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ชนะการประมูล ด้วยวงเงิน 27.3 ล้านบาท
- โครงการพัฒนาระบบลงทะเบียนร้านค้า : บริษัท เด็พธเฟิร์สท จำกัด ชนะการประมูล ด้วยวงเงิน 4.69 ล้านบาท
ระยะเวลาลงทะเบียนเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10000 บาทถึงวันไหน?
เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา ที่ทำเนียบรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เผยความคืบหน้ากรณีเปิดลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ในวันที่ 1 ส.ค. 67 ระบุว่า ตามนั้นส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมรอฟังการแถลงในวันที่ 24 กรกฎาคม 2567 โดยระยะเวลาการเปิดลงทะเบียนประมาณเดือนครึ่ง
ข้อมูล ณ 16 กรกฎาคม 2567
ทางรัฐ คืออะไร?
จุดประสงค์หลักพัฒนาแพลตฟอร์มการชำระเงิน Payment Platform หรือ ซูเปอร์แอป Super App "ทางรัฐ" ขึ้นเพื่ออะไร?
- แพลตฟอร์มการชำระเงินกลางของประเทศไทยที่สามารถเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการทางการเงินที่หลากหลาย
- ช่วยยกระดับโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินของประเทศไทย ลดต้นทุนของระบบเศรษฐกิจในภาพรวม
- ยกระดับศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ตลอดจนเป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลอันก่อให้เกิดประโยชน์โดยตรงต่อทุกภาคส่วน
- ยกระดับการพัฒนาพื้นฐานทางสังคมด้วยกระบวนการทำงานต่าง ๆ ของภาครัฐที่มีความโปร่งใสและเพิ่มประสิทธิภาพระบบงานภาครัฐ เพื่อให้บริการประชาชนได้อย่างรวดเร็ว
- มีระบบแพลตฟอร์มการชำระเงินสามารถรองรับการบริหารจัดการการชำระเงินของภาครัฐให้กับประชาชนที่มีประสิทธิภาพ ประหยัด ปลอดภัย เชื่อถือได้และเปิดกว้างให้เชื่อมต่อกับผู้ให้บริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ได้หลายรายและตอบโจทย์นโยบายรัฐบาลดิจิทัลของรัฐบาลได้
- รองรับการให้เงินช่วยเหลือ/สนับสนุนจากรัฐถึงประชาชนที่สามารถเจาะจงเป้าหมายการรับเงิน ประชาชนได้รับเงินอย่างรวดเร็วและตรงตัวมากขึ้น
- ให้ภาครัฐมีฐานข้อมูลของการจ่ายเงินช่วยเหลือและค่าชดเชยต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์นโยบายเกี่ยวกับเงินสนับสนุนต่าง ๆ เพื่อการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องได้ต่อไป
ระยะเวลาดำเนินการพัฒนาแอปฯ "ทางรัฐ" งบประมาณ 95 ล้านบาท เปิดใช้วันไหน?
- ระยะเวลาดำเนินการในระยะแรก จำนวน 160 วัน (ไม่รวมระยะเวลาการจัดซื้อจัดจ้าง) แบ่งเป็น
- เดือนกรกฎาคม – กันยายน 2567 : จัดซื้อจัดจ้างและประชุมเชิงปฏิบัติการ
- เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2567 : ดำเนินการพัฒนาและทดสอบระบบ
- เดือนตุลาคม 2567 – มีนาคม 2568 : ให้บริการระบบและสนับสนุนการใช้งาน
จากระยะเวลาโครงการนี้ในช่วง 160 วัน ที่จะเปิดให้บริการระบบช่วงตุลาคม 2567 – มีนาคม 2568 นั่นสอดคล้องกับแผนนโยบายแจกเงินดิจิทัล 10000 บาท ของรัฐบาลเศรษฐา ที่ย้ำหลายรอบว่าเงินดิจิทัลวอลเล็ต (Digital Wallet) ประชาชนได้ใช้จ่ายเงินในช่วงไตรมาส 4 ปี 2567 นี้แน่นอน
งบประมาณ 95 ล้านบาท พัฒนาแอปฯ "ทางรัฐ" มาจากไหน?
สพร. จะขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบกลาง รายการเงินสำรองเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป
ที่ประชุมคณะกรรมการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล นัดพิเศษ ครั้งที่ 5/2567 เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2567 ได้มีมติอนุมัติหลักการโครงการดังกล่าวพร้อมกรอบงบประมาณ 95 ล้านบาท ด้วยแล้ว
ทำรู้จักแอปพลิเคชั่น "ทางรัฐ" เตรียมพร้อมรับเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท
"Super App" โดยแอปพลิเคชัน "ทางรัฐ" อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือ DGA เป็นแพลตฟอร์มที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับไลฟ์สไตล์ของประชาชน
เป็นศูนย์กลางรวบรวมบริการหน่วยงานรัฐเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการของหน่วยงานรัฐได้อย่างสะดวกและมีการเชื่อมต่อข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
"ทางลัดถึงรัฐ ช่องทางเดียว ง่าย จบ ครบทุกช่วงวัย" เข้าถึงบริการจากภาครัฐได้ง่ายๆ แค่ปลายนิ้ว ทั้งตรวจสอบเครดิตบูโร ค่าน้ำ ค่าไฟ ข้อมูลผู้ประกันตน เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด เช็กใบสั่งจราจร
เช็กข้อมูลใบอนุญาต ประกาศนียบัตร และบัตรผู้ประกาศฯ ที่ออกโดย กสทช. ออมเงินกับ กอช. สร้างบำนาญวัยเกษียณ และอีกกว่า 149 บริการ
ช่องทางดาวน์โหลด แอพฯ ทางรัฐ เตรียมพร้อมลงทะเบียนรับเงินดิจิทัล 10000 บาท 1 ส.ค. 67 รับเงินไตรมาส 4 ปี 2567
วิธีลงทะเบียนแอปฯ ทางรัฐ
- ดาวน์โหลดแอปฯ ทางรัฐ เปิดแอปฯ ทางรัฐ แล้วเลือกสมัครสมาชิก
- สแกนบัตรประชาชน และใบหน้าของผู้ใช้งาน
- ระบุบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่านเพื่อเริ่มใช้งาน
- ใช้งานบริการจากภาครัฐได้ทันที
อ่านรายละเอียด ลงทะเบียนแอปฯ "ทางรัฐ" รับเงินจ่ายเงินดิจิทัล 10000 บาท เงื่อนไขการใช้จ่ายเงินดิจิทัล (คลิก) หรือกดที่ภาพด้านล่างได้เลย
เปิดคลิปขั้นตอนลงทะเบียนเงินดิจิทัล 10000 บาท สมัครแอป ทางรัฐ 50 ล.คนได้เงิน
"เปิดคลิปขั้นตอนลงทะเบียนเงินดิจิทัล 10000 บาท" สมัครแอปฯ ทางรัฐ รับเงินจ่ายเงิน เข้าหลักเกณฑ์รับเลย ได้เงินใช้จ่ายตามกำหนดเดิมในไตรมาส 4 ปี 2567 นายกเศรษฐา แจ้งวันลงทะเบียนเงินดิจิตอลวอลเล็ต 1 สิงหาคม 2567 โอนเงินเข้าโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท 50 ล้านคน แถลงชัดอีกรอบ 24 ก.ค. 67
- ดูคลิปขั้นตอนลงทะเบียนเงินดิจิทัล 10000 บาท (คลิก)
6 วิธีลงทะเบียน เงินดิจิทัล 10000 บาท ยืนยันตัวตน "ทางรัฐ" รับเงินดิจิตอล
เปิด 6 วิธีลงทะเบียน "เงินดิจิทัล 10000 บาท" พร้อมยืนยันตัวตน แอปฯ "ทางรัฐ" ผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส 7-11 เซเว่น อีเลฟเว่น - ตู้อเนกประสงค์ภาครัฐ - ThaID - ตู้บุญเติม - ไปรษณีย์ไทย สะดวกรับเงินดิจิตอล Digital Wallet
- วิธีที่ 1 การลงทะเบียนเข้าใช้งานผ่านแอปทางรัฐ
- วิธีที่ 2 การยืนยันตัวตนผ่านตู้อเนกประสงค์ภาครัฐ
- วิธีที่ 4 การยืนยันตัวตนผ่านตู้บุญเติม
- วิธีที่ 5 การยืนยันตัวตนผ่านไปรษณีย์
- วิธีที่ 6 การยืนยันตัวตนผ่าน เคาน์เตอร์เซอร์วิส 7-Eleven
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม 6 วิธีลงทะเบียน "เงินดิจิทัล 10000 บาท" ยืนยันตัวตน แอปฯ ทางรัฐ (คลิก)
เงินดิจิทัล 10000 บาท ใครบ้างได้เงิน? เข้าหลักเกณฑ์รับเลย
กลุ่มเป้าหมายเงินดิจิทัล
ประชาชนจำนวนประมาณ 50 ล้านคน โดยจะมีเกณฑ์ ได้แก่ อายุเกิน 16 ปี ณ เดือนที่มีการลงทะเบียน ไม่เป็นผู้ที่มีเงินได้พึงประเมินเกิน 840,000 บาทต่อปีภาษี
และมีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท นับเฉพาะเงินฝากสกุลบาท รวมกันทุกบัญชี ทั้งในส่วนของธนาคารพาณิชย์ และธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ เช่น
- บัญชีเงินฝากประจำ
- บัญชีเงินฝากออมทรัพย์
- บัตรเงินฝาก
- ใบรับเงินฝาก
- เงินฝากกระแสรายวัน
- ไม่นับรวมสลากออมทรัพย์สลากออมสิน หุ้น พันธบัตร โดยนับวันสิ้นสุด 31 มีนาคม 2567
เงื่อนไขการใช้จ่ายเงินดิจิทัล
- ระหว่างประชาชนกับร้านค้า ใช้จ่ายเชิงพื้นที่ในระดับอำเภอ (878 อำเภอ) โดยกำหนดให้ใช้จ่ายกับร้านค้าขนาดเล็กที่ตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดเท่านั้น
- ระหว่างร้านค้ากับร้านค้า ไม่กำหนดเงื่อนไขการใช้จ่ายเชิงพื้นที่ระหว่างร้านค้ากับร้านค้าในระดับอำเภอและขนาดของร้านค้า
- การใช้จ่ายเงินสามารถใช้จ่ายได้หลายรอบ โดยรอบที่ 1 จะเป็นการใช้จ่ายระหว่างประชาชนกับร้านค้าขนาดเล็กเท่านั้น (ตามกระทรวงพาณิชย์กำหนด) ตั้งแต่รอบที่ 2 ขึ้นไป จะเป็นการใช้จ่ายระหว่างร้านค้ากับร้านค้าโดยไม่จำกัดขนาดร้านค้า
2 กลุ่มหลักที่จะโดนตัดสิทธิโครงการแจกเงินดิจิทัล 10000 บาท
กลุ่มที่มีรายได้สูง
- ผู้ที่มีรายได้พึงประเมินเกิน 840,000 บาทต่อปี กรณีประกอบอาชีพค้าขาย ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภพ.20)
- กลุ่มที่มีเงินฝากในธนาคารสูง
- ผู้ที่มีเงินฝากในสถาบันการเงินพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐรวมกันทุกบัญชีเกิน 500,000 บาท ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567
- กลุ่มบุคคลที่เคยกระทำผิดเงื่อนไขโครงการของรัฐในอดีต หรือมีเรื่องการฟ้องร้องการเรียกเงินคืนอดีต ซึ่งมีอยู่ประมาณ 10,000 ราย ก็จะต้องถูกตัดออก
เงื่อนไขเงินดิจิทัล 10000 บาท ซื้ออะไรได้บ้าง?
สินค้าเงินดิจิตอลซื้อได้ เงินดิจิตอลหนึ่งหมื่นบาทของรับบาลเศรษฐาโอนให้ซื้อสินค้า อาหาร เครื่องดื่ม สินค้าอุปโภคและบริโภคได้เท่านั้น
รายการสินค้าซื้อไม่ได้ เงินดิจิทัล 10,000 บาท
ข้อมูลล่าสุดวันที่ 10 ก.ค. 2567 ทางกระทรวงพาณิชย์ มีการกำหนดสินค้าเป็น Negative list ดังนี้
- สลากกินแบ่งรัฐบาล
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ยาสูบ
- กัญชา
- กระท่อม
- พืชกระท่อม
- ผลิตภัณฑ์กัญชาและกระท่อม
- บัตรกำนัล
- บัตรเงินสด
- ทองคำ
- เพชร พลอย อัญมณี
- น้ำมันเชื้อเพลิง
- ก๊าซธรรมชาติ
- ร้านทำผม
- ร้านนวด
- ร้านเสริมสวย
- เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอิเล็กทรอนิกส์
- โทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน