ไขข้อสงสัย ‘ยาสีฟัน’ ใช้ทารักษา ‘แผลไฟไหม้’ ได้หรือไม่ หลายคนยังเข้าใจผิด

ไขข้อสงสัย ‘ยาสีฟัน’ ใช้ทารักษา ‘แผลไฟไหม้’ ได้หรือไม่ หลายคนยังเข้าใจผิด

กรมอนามัย ไขข้อสงสัย ว่าการใช้ “ยาสีฟัน” ใช้ทารักษา “แผลไฟไหม้” ได้หรือไม่ เพราะเป็นอีกเรื่องที่หลายคนยังเข้าใจผิด พร้อมเผยวิธีปฐมพยาบาลแผลไฟไหม้ที่ถูกต้อง

กรมอนามัย ช่วยไขข้อสงสัย ว่าการใช้ “ยาสีฟัน” ใช้ทารักษา “แผลไฟไหม้” ได้หรือไม่ เพราะเป็นอีกเรื่องที่หลายคนยังเข้าใจผิด พร้อมเผยวิธีปฐมพยาบาลแผลไฟไหม้ที่ถูกต้อง

ไขข้อสงสัย ‘ยาสีฟัน’ ใช้ทารักษา ‘แผลไฟไหม้’ ได้หรือไม่ หลายคนยังเข้าใจผิด

ความจริงเรื่องการใช้ยาสีฟันกับแผลไฟไหม้

  • ยาสีฟันนั้นไม่ได้ช่วยบรรเทาอาการแผลไฟไหม้ และอาจเป็นอันตรายต่อแผลด้วยซ้ำ 

สาเหตุที่ไม่ควรใช้ยาสีฟันกับแผลไฟไหม้ มีดังนี้

  • ไม่สามารถลดความร้อน ยาสีฟันไม่ได้ช่วยลดอุณหภูมิบริเวณแผล ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันไม่ให้เนื้อเยื่อเสียหายมากขึ้น
  • ระคายเคืองแผล ส่วนประกอบในยาสีฟันบางชนิด เช่น สารฟอกฟันขาว สารแต่งกลิ่น และสารกันบูด อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อแผล ทำให้แผลหายช้า เสี่ยงติดเชื้อ การใช้ยาสีฟันอาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่แผล เนื่องจากยาสีฟันไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อโรค
     

วิธีปฐมพยาบาลแผลไฟไหม้ที่ถูกต้อง

เมื่อโดนไฟไหม้ สิ่งสำคัญคือการปฐมพยาบาลอย่างถูกต้อง เพื่อลดความรุนแรงของแผล ดังนี้

  • ราดน้ำเย็น ให้น้ำเย็นไหลผ่านบริเวณที่ถูกไฟไหม้ เป็นเวลาอย่างน้อย 20 นาที หรือจนกว่าอาการปวดแสบปวดร้อนจะหายไป
  • ประคบเย็น ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบบริเวณแผล ประมาณ 20 นาที เพื่อช่วยลดอาการบวม
  • ทายาฆ่าเชื้อ ใช้ยาฆ่าเชื้อ เช่น คลอโรเฮกซิดิน ทาบริเวณแผล
  • ปิดแผลด้วยผ้าก๊อซสะอาดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
     

เมื่อไหร่ควรพบแพทย์

  • ในกรณีที่แผลไฟไหม้อยู่ในระดับรุนแรง เช่น แผลลึก แผลกว้าง หรือมีอาการอื่นๆ เช่น เป็นไข้ มีอาการหนาวสั่น หรือหมดสติ ควรรีบพบแพทย์ทันที
  • การปฐมพยาบาลที่ถูกวิธีช่วยลดความรุนแรงของแผลไฟไหม้ได้ และอย่าลืมว่ายาสีฟันไม่สามารถช่วยบรรเทาอาการแผลไฟไหม้ได้

อ้างอิง : กรมอนามัย