สายชา กินหวาน 100% 'ดื่มชานมเย็น' ชาเย็น เป็นประจำ เสี่ยงเป็น 'นิ่วในไต'

สายชา กินหวาน 100% 'ดื่มชานมเย็น' ชาเย็น เป็นประจำ เสี่ยงเป็น 'นิ่วในไต'

กรมอนามัย เตือนกินหวาน 100% "ดื่มชานมเย็น" ชาเย็นหวานๆ เป็นประจำ เสี่ยงเป็น "นิ่วในไต" สั่งร้านค้า ลดหวาน ลดน้ำตาล แบบหวานน้อยเอาอยู่ไหม? ทำความรู้จักชานม เกี่ยวอะไรกับนิ่วในไต สุดอันตรายถึงขั้นไตวายได้ หากเลี่ยงไม่ได้ เลือกดื่มยังไง ให้ดีต่อสุขภาพไม่เสี่ยงโรคตามมา

สายหวาน สายชาต้องรู้! ภัยใกล้ตัว กรมอนามัย เตือนกินหวาน 100% "ดื่มชานมเย็น" ชาเย็นหวานๆ เป็นประจำ เสี่ยงเป็น "นิ่วในไต" สั่งร้านค้า ลดหวาน ลดน้ำตาล แบบหวานน้อยเอาอยู่ไหม? ทำความรู้จักชานม เกี่ยวอะไรกับนิ่วในไต สุดอันตรายถึงขั้นไตวายได้ หากเลี่ยงไม่ได้ เลือกดื่มยังไง ให้ดีต่อสุขภาพไม่เสี่ยงโรคตามมา

สายชา กินหวาน 100% \'ดื่มชานมเย็น\' ชาเย็น เป็นประจำ เสี่ยงเป็น \'นิ่วในไต\'

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ออกโรงเตือนเลือกดื่ม ชานมร้อน หรือ เย็น แบบใดดี? ชานมเย็น หวาน ๆ แก้วโปรดที่ใครหลายคนติดใจ อาจไม่ใช่แค่ตัวการทำให้น้ำหนักพุ่งปรี๊ดอย่างเดียว แต่มันยังแอบแฝงอันตรายที่น่ากลัว นั่นก็คือ "นิ่วในไต"

"ชานม"เกี่ยวอะไรกับนิ่วในไต?

รู้จัก "นิ่วในไต" 

นิ่วในไต เกิดจากการตกผลึกของแร่ธาตุต่างๆ ในปัสสาวะ จนรวมตัวกันเป็นก้อนแข็ง ๆ มีขนาดตั้งแต่เม็ดทรายยันลูกปิงปอง ซึ่งก้อนนิ่วเนี่ยแหละ ตัวแสบเลย มันจะไปอุดตันทางเดินปัสสาวะ ทำให้อั้นฉี่ไม่ได้ ปวดท้องรุนแรง บางรายถึงขั้นไตวายได้เลย
 

รู้จัก "ชานมหวาน" 

นอกจากจะมีน้ำตาลมหาศาลแล้วยังมีสารอาหารบางอย่าง ที่เป็นตัวเร่งให้เกิดนิ่วในไต ได้แก่

  • น้ำตาลฟรุคโตส ฟรุคโตสจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ไตทำงานหนัก และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่ว
  • แคลเซียม ชานมบางชนิดมีส่วนผสมของนม ซึ่งมีแคลเซียมสูง แคลเซียมส่วนเกินจะถูกขับออกทางปัสสาวะ และอาจตกผลึกเป็นนิ่วได้
  • ออกซาเลต สารนี้พบได้ในใบชา ออกซาเลตจะจับตัวกับแคลเซียม กลายเป็นนิ่วชนิดแคลเซียมออกซาเลต ซึ่งเป็นชนิดที่พบมากที่สุด 

สายชา กินหวาน 100% \'ดื่มชานมเย็น\' ชาเย็น เป็นประจำ เสี่ยงเป็น \'นิ่วในไต\'

เลือกดื่มชานมยังไง ให้ดีต่อสุขภาพ สั่งร้านค้าแบบหวานน้อยเอาอยู่ไหม? 

  • ลดหวาน หรือสั่งแบบหวานน้อย 0-25%   
  • ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ น้ำเปล่าช่วยเจือจางปัสสาวะ ลดการตกผลึกของแร่ธาตุ
  • เลือกนมไขมันต่ำ นมพร่องมันเนยหรือนมถั่วเหลือง ช่วยลดปริมาณแคลเซียม
  • ทานผักผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น กล้วย มะเขือเทศ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่ว

สรุปแล้วเราสามารถดื่มชานมเย็นได้หรือไม่?

เราสามารถดื่มชานมเย็นได้ แต่ต้องดื่มอย่างพอประมาณ เลือกแบบหวานน้อย และอย่าลืมดื่มน้ำเปล่าเยอะๆ รักตัวเองห่วงใยสุขภาพ แล้วเราจะดื่มด่ำความอร่อยของชานมเย็นได้อย่างสบายใจ

 

อ้างอิง-ภาพ : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข