แฮกเฟซบุ๊ก สวมรอยหลอกญาติ-เพื่อนโอนเงิน บุกจับสาวบัญชีม้าที่อ่อนนุช
แฉเปิดโปงมิจฉาชีพ แฮกเฟซบุ๊ก สวมรอยหลอกญาติ-เพื่อนโอนเงิน ตำรวจบุกจับสาวบัญชีม้าที่อ่อนนุช กรุงเทพ
กรณี มิจฉาชีพ แฮกเฟซบุ๊ก สวมรอยหลอกญาติ-เพื่อน โอนเงิน ตำรวจบุกจับสาวบัญชีม้าที่อ่อนนุช กรุงเทพ เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2567 เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.สส.3 บก.สส.บช.น. จับกุมตัว น.ส.เพ็ญ อายุ 32 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับ ศาลจังหวัดธัญบุรี ที่ 657/2567 ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2567
โดยกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐาน
- ร่วมกันฉ้อโกงทรัพย์
- ร่วมกันโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวงนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชนหรือเป็นผู้เปิดหรือยินยอมให้บุคคลอื่นใช้บัญชีเงินฝาก บัตรอิเล็กทรอนิกส์ หรือบัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ของตน โดยมิได้มีเจตนาใช้เพื่อตนหรือเพื่อกิจการที่ตนเกี่ยวข้อง หรือยินยอมให้บุคคลอื่นใช้หรือยืมใช้เลขหมายโทรศัพท์ด้วยรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของตน
ทั้งนี้โดยประการที่รู้หรือควรรู้ว่าจะนำไปใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือความผิดทางอาญาอื่นใด
จับกุมสาวบัญชีม้าที่บริเวณหน้าบ้าน ซอยอ่อนนุช 86 แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร
จากการตรวจสอบในระบบฐานข้อมูลสำนักงานตำรวจแห่งชาติพบหมายจับอีก 2 หมาย ดังนี้
- หมายจับศาลจังหวัดเวียงสระ ที่ 163/2567 ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2567 ซึ่งต้องหาว่ากระทำผิดฐาน ร่วมกันฉ้อโกงทรัพย์และร่วมกันโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวงนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชนหรือผ็เปิดหรือยินยอมให้บุคคลอื่นใช้บัญชีเงินฝาก บัตรอิเล็กทรอนิกส์ หรือบัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ของตน โดยมิได้มีเจตนาใช้เพื่อตนหรือเพื่อกิจการที่ตนเกี่ยวข้อง หรือยินยอมให้บุคคลอื่นใช้หรือยืมใช้เลขหมายโทรศัพท์ด้วยรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของตน ทั้งนี้โดยประการที่รู้หรือควรรู้ว่าจะนำไปใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือความผิดทางอาญาอื่นใด
- หมายจับศาลจังหวัดลำพูน ที่ จ.314/2567 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2567 ซึ่งต้องหาว่ากระทำผิดฐาน เปิดหรือยินยิมให้บุคคลอื่นใช้บัญชีเงินฝาก บัตรอิเล็กทรอนิกส์ หรือบัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ของตน โดยมิได้มีเจตนาใช้เพื่อตนหรือเพื่อกิจการที่ตนเกี่ยวข้อง หรือยินยอมให้บุคคลอื่นใช้หรือยืมใช้เลขหมายโทรศัพท์ด้วยรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของตน ทั้งนี้โดยประการที่รู้หรือควรรู้ว่าจะนำไปใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือความผิดทางอาญาอื่นใด
เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2566 เวลาประมาณ 08.00 น. มีคนร้ายไม่ปรากฏว่าเป็นผู้ใด ได้เข้าใช้เฟสบุ๊กของ นางสาวณัฐปรียา แล้วได้ส่งข้อความทางแชทเฟสบุ๊กของผู้เสียหาย ชื่อ ศุภกาญจน์ มีข้อความขอยืมเงินจากผู้เสียหาย จำนวน 7,000 บาท
โดยบอกว่าจะส่งคิวอาร์โค้ดให้ผู้เสียหายสแกน จ่ายเงินค่าสินค้าให้ และจะคืนเงินให้ในภายหลัง ผู้เสียหายเห็นข้อความดังกล่าวและเห็นว่าเป็นเฟสบุ๊กของญาติ จึงหลงเชื่อว่าเป็นนางสาวณัฐปรียาฯ เจ้าของเฟสบุ๊กดังกล่าว จึงให้ยืมเงินโดยสแกนจ่ายเงินไปตาม คิวอาร์โค้ดที่คนร้ายส่งมาให้ผ่านแอปพลิเคชั่นโอนเงินในโทรศํพท์มือถือ
เมื่อสแกนฯปรากฎยอด เงินที่ให้ชำระ จำนวน 7,000 บาท ผู้เสียหายโอนเงินไปแล้ว ปรากฏในสลิปการโอนเงินว่าปลายทางเป็น หมายเลขพร้อมเพย์ 095-9201530 ชื่อ "เพ็ญ"
ต่อมาหลังจากเกิดเหตุผู้เสียหายทราบว่า เฟสบุ๊กชื่อ "ณัฐปรียา" ของ ญาติ ถูกผู้อื่นเข้าใช้และใช้หลอกลวงให้เพื่อนทางเฟสบุ๊กโอนเงินให้ รวมทั้งผู้เสียหายด้วยที่หลงเชื่อ ว่าเฟสบุ๊กชื่อ "ณัฐปรียา"เป็นญาติ ที่ส่งข้อความมายืมเงินจริง และได้โอนเงินไปได้
จึงได้รับความเสียหาย ผู้เสียหายจึงมาพบพนักงานสอบสวน แจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดี เบื้องต้นมีผู้เสียหายหลายรายหลงเชื่อถูกหลอกให้โอนเงินไป ซึ่งอยู่ในระหว่างรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย
ในชั้นจับกุมให้การปฏิเสธ ตลอดข้อกล่าวหา โดยรับว่า โดยเมื่อประมาณปี 2566 ได้มีกลุ่มคนรู้จักแถวบ้านของผู้ต้องหา พาไปเปิดบัญชี โดยจะว่าจ้างให้ผู้ต้องหาเปิดบัญชีม้าโดยจะได้รับค่าตอบเเทนในการเปิดบัญชีครั้งล่ะ 300 บาท/ต่อครั้ง
ซึ่งผู้ต้องหาเห็นว่าได้เงิน ประกอบกับตัวผู้ต้องหาเองนั้นได้ตกงานอยู่ จึงไปได้เปิดบัญชี เเละได้นำเงินค่าจ้างดังกล่าวไปใช้ในชีวิตประจำวัน จากนั้นจึงได้ทำบันทึกจับกุมและนำผู้ต้องหาส่ง พนักงานสอบสวน สภ.คลองหลวง ดำเนินคดีตามกฎหมาย
ด้าน พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ขอเตือนภัยให้ระวังมิจฉาชีพ แฮก Facebook หรือ LINE ของคนรู้จักหรือญาติ มาหลอกขอยืมเงิน ให้จ่ายบิล ต้องรีบโอน ผ่านแชทสนทนา วิธีป้องกัน คือ มีสติ ไม่เชื่อ ไม่เร่ง ไม่รีบ ไม่โอน
พยายามมองโลกในแง่ร้ายไว้ก่อนว่า ให้คิดเสมอว่า Facebook หรือ LINE ของเพื่อนที่ทักมายืมเงินนั้น อาจจะกำลังถูกแฮกอยู่ ขอให้โทรไปตรวจสอบให้แน่ใจว่าเป็นเพื่อนหรือญาติของเราจริงๆที่ต้องการยืมเงิน ไม่ต้องเกรงใจ แค่นี้เราก็ไม่ต้องตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพแล้ว