คาด 12 – 20 ก.ย. นี้ มีฝนตกหนัก ระดับน้ำแม่น้ำโขง มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

คาด 12 – 20 ก.ย. นี้ มีฝนตกหนัก ระดับน้ำแม่น้ำโขง มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

สทนช. ประเมินสถานการณ์ คาดจะมีฝนตกหนัก ในช่วงวันที่ 12 – 20 ก.ย.นี้ และระดับน้ำแม่น้ำโขงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น สั่งหน่วยงานลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและเตรียมความพร้อมดูแลประชาชน

ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ลงพื้นที่ติดตาม สถานการณ์น้ำ และ น้ำท่วม ลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ และความก้าวหน้า 10 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ จ.อุดรธานี บึงกาฬ และนครพนม ระหว่างวันที่ 10 - 11 ก.ย. 67 โดยได้เดินทางไปยัง จ.อุดรธานี เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำเขื่อนห้วยหลวง อ.เมืองอุดรธานี และพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการระบายน้ำเขื่อนห้วยหลวง (คลองหลวง)

ก่อนเดินทางต่อไปติดตามพื้นที่อุทกภัย ณ จ.บึงกาฬ บริเวณเขื่อนป้องกันการกัดเซาะและสูญเสียดินแดนริมตลิ่งแม่น้ำโขง และประตูระบายน้ำห้วยกำแพง ต.บึงกาฬ อ.เมืองบึงกาฬ จากนั้นได้เดินทางไปยัง จ.นครพนม โดยเป็นประธานการประชุมหน่วยบริหารจัดการน้ำครั้งที่ 8/2567 ณ ห้องประชุม ศาลากลางจังหวัดนครพนม และลงพื้นที่ติดตามพื้นที่อุทกภัยบริเวณตลาดอินโดจีนศรีอัมพร ต.ในเมือง อ.เมืองนครพนม

คาด 12 – 20 ก.ย. นี้ มีฝนตกหนัก ระดับน้ำแม่น้ำโขง มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
 

เลขาธิการ สทนช. เปิดเผยว่า กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่า จากอิทธิพลของร่องมรสุมที่พาดผ่านจากภาคเหนือมายังภาคตะวันออกเฉียงเหนือและหย่อมความอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามที่เคลื่อนตัวมายังประเทศไทย จะส่งผลให้มีฝนปริมาณฝนตกเพิ่มขึ้น ในช่วงวันที่ 12 - 20 ก.ย. นี้ ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก ประกอบกับปัจจุบันแม่น้ำโขงมีปริมาณน้ำค่อนข้างมาก และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยคาดว่าระดับน้ำบริเวณสถานีเชียงคาน จ.เลย มีแนวโน้มน้ำล้นตลิ่งประมาณ 1 เมตร 

ขณะเดียวกันที่สถานีหนองคาย จ.หนองคาย มีแนวโน้มน้ำล้นตลิ่ง ประมาณ 1 – 2 เมตร ซึ่งจะส่งผลให้การระบายน้ำของลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขงเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น โดย สทนช. ได้รายงานข้อมูลการประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำดังกล่าวต่อนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งมีความห่วงใยต่อประชาชนในพื้นที่เสี่ยงได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงได้มอบหมายให้ สทนช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและบริหารจัดการน้ำร่วมกัน 

คาด 12 – 20 ก.ย. นี้ มีฝนตกหนัก ระดับน้ำแม่น้ำโขง มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

รวมถึงบูรณาการข้อมูลร่วมกับจังหวัดเพื่อเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์และเตรียมแนวทางในการดูแลประชาชน ทั้งการเตรียมแผนอพยพเพื่อลดความเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สิน การจัดตั้งศูนย์พักพิง การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเตียงในชุมชน รวมถึงการเฝ้าระวังในพื้นที่เปราะบางต่าง ๆ เช่น การสร้างทำนบป้องกันน้ำล้นในพื้นที่ของโรงพยาบาล เป็นต้น 

นอกจากนี้ สทนช. ได้มอบหมายให้กรมชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งระบายน้ำออกจากอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำมาก เนื่องจากคาดว่าในช่วงสัปดาห์นี้จะมีน้ำไหลเข้าอ่างฯ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งเน้นย้ำให้วางแนวทางป้องกันผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ท้ายน้ำ เช่น การเสริมคันกั้นน้ำ สูบระบายน้ำ กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ เป็นต้น โดยให้มีการวางแผนบริหารจัดการน้ำในภาพรวมของลุ่มน้ำหรือกลุ่มลุ่มน้ำตามมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566/67 แทนการบริหารจัดการแบบรายเขื่อน

คาด 12 – 20 ก.ย. นี้ มีฝนตกหนัก ระดับน้ำแม่น้ำโขง มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

“สทนช. ร่วมกับกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.) ประเมินความเสี่ยงที่พายุจรจะพัดเข้าสู่ประเทศไทยในช่วงฤดูฝนนี้ โดยตั้งแต่วันนี้จนถึงประมาณวันที่ 25 ก.ย. ยังไม่พบพายุที่จะก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกหรือทะเลจีนใต้ที่จะส่งอิทธิพลโดยตรงต่อประเทศไทย แต่หลังจากนี้ยังคงต้องมีการติดตามประเมินทิศทางของพายุอย่างต่อเนื่องอย่างไรก็ตาม ได้มีการเตรียมความพร้อมรับมือกรณีมีพายุเคลื่อนตัวเข้ามาโดยไม่ประมาท โดยจะต้องเร่งระบายมวลน้ำออกโดยเร็วที่สุดเพื่อให้มีพื้นที่ว่างสำหรับรองรับปริมาณฝนในช่วงหลังจากนี้” เลขาธิการ สทนช. กล่าว

คาด 12 – 20 ก.ย. นี้ มีฝนตกหนัก ระดับน้ำแม่น้ำโขง มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น