เห็นชอบ หลักเกณฑ์สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ SME 'GSB Boost Up' กษ. พักหนี้เกษตรกร 5 ปี

เห็นชอบ หลักเกณฑ์สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ SME 'GSB Boost Up' กษ. พักหนี้เกษตรกร 5 ปี

ครม. เห็นชอบปรับปรุงหลักเกณฑ์โครงสร้างสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) GSB Boost Up ของธนาคารออมสิน เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME และ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พักหนี้เกษตรกร 5 ปี

ครม. เห็นชอบปรับปรุงหลักเกณฑ์โครงสร้างสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) GSB Boost Up ของธนาคารออมสิน และ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พักหนี้เกษตรกร 5 ปี จากสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ก่อให้เกิดความเสียหายและส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและการประกอบอาชีพของผู้ประกอบการ SME ผู้ประกอบการรายย่อย และผู้ประกอบอาชีพอิสระ ทำให้ขาดรายได้และมีปัญหาด้านสภาพคล่อง

ดังนั้น เพื่อให้ปัญหาได้รับการแก้ไขและบรรเทาลง คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังได้เสนอเรื่องการปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) GSB Boost Up ของธนาคารออมสิน และรับทราบโครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัยปี 2567 ภายใต้โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 11 (โครงการ PGS 11) เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับการฟื้นฟูกิจการ
 

เห็นชอบ หลักเกณฑ์สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ SME \'GSB Boost Up\' กษ. พักหนี้เกษตรกร 5 ปี

1. จัดสรรวงเงินจำนวน 50,000 ล้านบาท ภายใต้โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) GSB Boost Up ของธนาคารออมสิน เพื่อนำมาช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย โดยขยายกลุ่มเป้าหมายให้ครอบคลุมทั้งผู้ประกอบการ SMEs ผู้ประกอบการรายย่อย และผู้ประกอบอาชีพอิสระ

ธนาคารออมสินได้ออกมาตรการช่วยเหลือพักหนี้อัตโนมัติ พักจ่ายเงินต้นและไม่คิดดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 3 เดือน ช่วงเดือน ต.ค. - ธ.ค. 67 ให้กับสินเชื่อ SME ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 10 ล้านบาท และสินเชื่อรายย่อยทุกประเภท 

สินเชื่อพัฒนากลุ่มอาชีพและสินเชื่อสวัสดิการจะสามารถช่วยบรรเทาความเดือดร้อนและแบ่งเบาภาระลูกหนี้ธนาคารออมสินในพื้นที่ประสบภัยตามประกาศ จำนวนกว่า 110,000 บัญชี คิดเป็นเงินต้นรวมกว่า 43,000 ล้านบาท 

ธนาคารออมสินสนับสนุนแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำให้แก่สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ ทั้งธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 ต่อปี เป็นระยะเวลา 2 ปี 

ปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้ที่ได้ผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย ในอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 3.5 ต่อปี เป็นระยะเวลา 2 ปี วงเงินต่อรายไม่เกิน 40 ล้านบาทรวมทุกสถาบันการเงิน ภายใต้วงเงินดังกล่าว ธนาคารออมสินสามารถปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้ที่ได้ผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยโดยตรงภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเดียวกัน และสามารถจัดสรรวงเงินโครงการได้ตามความเหมาะสม 

สามารถยื่นขอสินเชื่อได้จนถึงวันที่ 30 ธ.ค. 67
 

ขยายเวลาพักหนี้เกษตรกรอีก 5 ปี

ครม. (1 ต.ค. 67) มีมติเห็นชอบขยายระยะเวลาการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรตามโครงการแผนฟื้นฟูการเกษตร (ผกก.) และโครงการปรับโครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตร (คปร.) (การแก้ไขปัญหาหนี้สินฯ) ออกไปเป็นระยะเวลา 5 ปี จากเดิมจะสิ้นสุดโครงการในวันที่ 30 ก.ย. 67 เป็นสิ้นสุดโครงการในวันที่ 30 ก.ย. 72 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ทั้งนี้ สำนักงบประมาณ ยังขอให้ กษ. ติดตามและรายงานผลการชำระเงินคืนให้เสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนดของโครงการต่อ ครม. ด้วย


ทั้งนี้ มติ ครม. เมื่อวันที่ 24 ก.ย. 62 เห็นชอบการขยายระยะเวลาแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรตามโครงการปรับโครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตรและโครงการแผนฟื้นฟูการเกษตร ออกไปเป็นระยะเวลา 5 ปี ซึ่งจะสิ้นสุดโครงการในวันที่ 30 ก.ย. 67 และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้งดคิดค่าบริหารสินเชื่อของต้นเงินกู้ทั้งหมด แต่เนื่องจากผลการดำเนินงานปรับโครงสร้างหนี้ของเกษตรกรตามมติ ครม. ดังกล่าว พบว่ายังคงมีเกษตรกรเป็นหนี้ จำนวน 21,968 ราย ต้นเงินกู้ จำนวน 558.55 ล้านบาท ซึ่งไม่สามารถชำระหนี้ได้หมดภายในวันที่ 30 ก.ย. 67 

ดังนั้น เพื่อให้เกษตรกรได้มีเวลาในการชำระหนี้ เนื่องจากยังมีเกษตรกรบางส่วนที่มีความสามารถในการชำระหนี้ตามศักยภาพได้อย่างต่อเนื่องและเพื่อเป็นการรักษาวินัยการชำระหนี้ของเกษตรกร ประกอบกับการขยายระยะเวลาดังกล่าวจะไม่ก่อให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายงบประมาณเพิ่มขึ้นในอนาคต