เปิดภาพ กล้วยไม้ใหญ่ที่สุดในโลก ว่านหางช้าง ออกดอกสีเหลือง ประสีน้ำตาลม่วง
เปิดภาพ "ว่านหางช้าง" กล้วยไม้ใหญ่ที่สุดในโลก หรือ ว่านเพชรหึง ออกดอกสีเหลืองหม่น ประสีน้ำตาลแกมม่วงกระจายทั่วกลีบ เริ่มติดดอกเดือนกรกฎาคม และไปสิ้นสุดเดือนตุลาคม พบขึ้นตามป่าดิบชื้น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้
สดใสยามเช้า เปิดภาพ "ว่านหางช้าง" กล้วยไม้ใหญ่ที่สุดในโลก หรือ ว่านเพชรหึง ออกดอกสีเหลืองหม่น ประสีน้ำตาลแกมม่วงกระจายทั่วกลีบ เริ่มติดดอกเดือนกรกฎาคม และไปสิ้นสุดเดือนตุลาคม พบขึ้นตามป่าดิบชื้น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้
ทำความรู้จัก "ว่านหางช้าง" ว่านเพชรหึง กล้วยไม้ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
ว่านหางช้าง ชื่อวิทยาศาสตร์ : 𝘎𝘳𝘢𝘮𝘮𝘢𝘵𝘰𝘱𝘩𝘺𝘭𝘭𝘶𝘮 𝘴𝘱𝘦𝘤𝘪𝘰𝘴𝘶𝘮
ชื่อวงศ์ : ORCHIDACEAE
ลักษณะทั่วไปของว่านหางช้าง
ใบ : เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปแถบ กว้าง 3-4 ซม. ยาว 30-60 ซม. เรียงตัวระนาบเดียว ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ หลังใบและท้องใบเรียบ ก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น
ดอก : กลีบเลี้ยงและกลีบดอกพื้นสีเหลืองหม่น มีประสีน้ำตาลแกมม่วงกระจายทั่วกลีบ กลีบปากเล็กกว่ากลีบอื่นๆ แยก 3 แฉก ส่วนกลางกลีบมีสันนูน 3 สัน ออกเป็นช่อขนาดใหญ่
ช่อดอกตรงหรือเอนเล็กน้อย ยาวได้ถึง 2 เมตร ดอกบานเต็มที่กว้าง 6-8 ซม. ดอกทยอยบานเป็นเวลานาน
ผล : เป็นผลแห้ง แตกออกได้
ระยะติดดอก - ผล : เริ่มติดดอกเดือนกรกฎาคม สิ้นสุดระยะติดดอกเดือนตุลาคม
สภาพทางนิเวศวิทยา ว่านหางช้าง พบที่ไหนบ้าง?
- นิเวศวิทยา พบขึ้นตามป่าดิบชื้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ ถิ่นกำเนิด การกระจายพันธุ์ พม่า ลาว เวียดนาม และภูมิภาคมาเลเซีย
อ้างอิง-ภาพ : องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม , ฝ่ายนันทนาการและสื่อความหมาย อุทยานแห่งชาติเขาหลวง , อุทยานแห่งชาติเขาหลวง - Khao Luang National Park , ส่วนอุทยานแห่งชาติ สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 นครศรีธรรมราช