'ดอกพลับพลึงธาร' บานแล้ว พืชหายากใกล้สูญพันธุ์ ที่คลองตาเลื่อน

'ดอกพลับพลึงธาร' บานแล้ว พืชหายากใกล้สูญพันธุ์ ที่คลองตาเลื่อน

สดใสยามเช้า "ดอกพลับพลึงธาร" บานแล้ว ราชินีแห่งสายน้ำ พืชหายากใกล้สูญพันธุ์ ส่งกลิ่นหอมอบอวน ที่คลองตาเลื่อน ต้อนรับผู้มาเยือน เปิดสาเหตุทำไมพลับพลึงธารถึงมีจำนวนลดลง จนน่าตกใจ ทำยังไงให้ความงดงามนี้อยู่คู่ผืนป่าประเทศไทยต่อไป

ส่องธรรมชาติวันนี้ สดใสยามเช้า ท่ามกลาง "ดอกพลับพลึงธาร" บานสะพรั่ง ราชินีแห่งสายน้ำ พืชหายากใกล้สูญพันธุ์ ส่งกลิ่นหอมอบอวน ที่คลองตาเลื่อน ต้อนรับผู้มาเยือน เปิดสาเหตุทำไมพลับพลึงธารถึงมีจำนวนลดลง จนน่าตกใจ ทำยังไงให้ความงดงามนี้อยู่คู่ผืนป่าประเทศไทยต่อไป

\'ดอกพลับพลึงธาร\' บานแล้ว พืชหายากใกล้สูญพันธุ์ ที่คลองตาเลื่อน

\'ดอกพลับพลึงธาร\' บานแล้ว พืชหายากใกล้สูญพันธุ์ ที่คลองตาเลื่อน

\'ดอกพลับพลึงธาร\' บานแล้ว พืชหายากใกล้สูญพันธุ์ ที่คลองตาเลื่อน

เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติศรีพังงา และเจ้าที่มูลนิธิอีสต์ ฟอรั่ม ร่วมสำรวจแหล่งฟื้นฟูพลับพลึงธาร ตามโครงการฟื้นฟูระบบนิเวศในแหล่งที่อยู่อาศัยของพลับพลึงธารพื้นที่ จ.ระนอง-จ.พังงา 

โดยสำรวจจุดฟื้นฟูบริเวณคลองโรงเรียนบ้านคุรอด คลองโรงเรียนบ้านทุ่งรักชัยพัฒน์ อ.คุระบุรี  จ.พังงา และสำรวจแหล่งพันธุกรรมบริเวณจุดชมพลับพลึงธาร “คลองตาเลื่อน” ปรากฏพลับพลึงธารเริ่มออกดอกขาวบานสะพรั่งส่งกลิ่นหอมอบอวน ต้อนรับผู้มาเยือน

\'ดอกพลับพลึงธาร\' บานแล้ว พืชหายากใกล้สูญพันธุ์ ที่คลองตาเลื่อน

\'ดอกพลับพลึงธาร\' บานแล้ว พืชหายากใกล้สูญพันธุ์ ที่คลองตาเลื่อน

ทำความรู้จักพลับพลึงธาร ราชินีแห่งสายน้ำ พืชถิ่นเดียวในประเทศไทย 

พลับพลึงธาร หรือ หอมน้ำ (อังกฤษ: Onion plant, Thai onion plant, Water onion) พืชน้ำชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์: Crinum thaianum อยู่ในวงศ์พลับพลึง (Amaryllidaceae) 

ถือได้ว่าเป็นพืชน้ำที่สวยงามและหายากมากที่สุดชนิดหนึ่ง เป็นพืชเฉพาะถิ่น ไม่พบที่ไหนในโลก ปัจจุบันพบเหลือแค่ร้อยละ 1 เท่านั้น และพบขึ้นอยู่อย่างกระจัดกระจายในแถบจังหวัดพังงาตอนบนและระนองตอนล่าง 

พลับพลึงธาร พืชหายากใกล้สูญพันธุ์

พลับพลึงธารมีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่า “หัวหญ้าช้อง” ปัจจุบันนิยมเรียกว่าพลับพลึงธาร มากกว่าหอมน้ำ เพราะมีดอกคล้ายดอกพลับพลึง แต่ขึ้นอยู่ในน้ำ

ซึ่งสถานะของพลับพลึงธารยังมิได้ถูกบรรจุในบัญชีของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ หรือ CITES แต่ถูกจัดอยู่ในบัญชีพืชหายาก

และมีสถานภาพเป็นพืชที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ ตามเกณฑ์ IUCN Red List เมื่อปี ค.ศ. 2011 

 

เปิดสาเหตุทำไมพลับพลึงธารถึงมีจำนวนลดลง จนน่าตกใจ กลายเป็นพืชใกล้สูญพันธุ์

สาเหตุของการลดลงเนื่องจากการเก็บหัวจำหน่ายเป็นพืชน้ำประดับ และจากสาเหตุการขุดลอกคลองเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม จนเกือบสูญพันธุ์

ต้นพลับพลึงธารนับเป็นพืชน้ำหายากที่ใกล้สูญพันธุ์หนึ่งเดียวในโลกที่พบในไทย มีอัตราการเจริญเติบโตและการรอดสูงในพื้นที่อุทยานแห่งชาติศรีพังงา จ.พังงา

\'ดอกพลับพลึงธาร\' บานแล้ว พืชหายากใกล้สูญพันธุ์ ที่คลองตาเลื่อน