ด่วน! ตำรวจ ออกโรงเตือน บริษัทขายตรง ธุรกิจขายตรง ใช้กลหลอกลวง 'แชร์ลูกโซ่'

ด่วน! ตำรวจ ออกโรงเตือน บริษัทขายตรง ธุรกิจขายตรง ใช้กลหลอกลวง 'แชร์ลูกโซ่'

ด่วน! ตำรวจ ออกโรงเตือนแล้ว ข้อสังเกต "ธุรกิจขายตรง" บริษัทขายตรงที่เป็นข่าว หลายครั้งต่อเนื่องตามสถานการณ์ ใช้กลหลอกลวงประชาชน เป็นขบวนการ แชร์ลูกโซ่ เปิดจุดสังเกตไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ ชวนให้ลงทุนในธุรกิจ รับผลตอบแทนสูง มีรายได้จำนวนมาก ชวนสมาชิกใหม่ร่วมธุรกิจ

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ออกโรงเตือนแล้ว ข้อสังเกต "ธุรกิจขายตรง" บริษัทขายตรงที่เป็นข่าว หลายครั้งต่อเนื่องตามสถานการณ์ปัจจุบัน ใช้กลวิธีหลอกลวงประชาชน เป็นขบวนการ "แชร์ลูกโซ่"

เปิดจุดสังเกตไม่ให้ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ ที่มาในรูปแบบการชักชวนให้ลงทุนในธุรกิจ ผ่านช่องทางออนไลน์ จัดสัมมนาในความรู้ รับผลตอบแทนสูง มีรายได้จำนวนมาก ชักชวนสมาชิกใหม่ร่วมธุรกิจ

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2567 พล.ต.ต.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รักษาราชการแทน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รรท.ผบ.ตร.) ได้มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนที่อาจได้รับความเสียหายจากอาชญากรรมรูปแบบต่าง ๆ

ย้อนรอยมิจฉาชีพ ชักชวนประชาชนให้ลงทุนในธุรกิจขายตรง เข้าข่ายขบวนการแชร์ลูกโซ่ เสียเงิน

ในอดีตที่ผ่านมาพี่น้องประชาชนจำนวนมากได้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพที่มาในรูปแบบของการชักชวนให้ลงทุนในธุรกิจ ผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์

หรือการจัดสัมมนาในความรู้ บางครั้งก็จะมาในรูปแบบของการลงทุนในธุรกิจ บางครั้งก็มาในรูปแบบของการขายตรง หลอกลวงว่าจะได้รับผลตอบแทนสูง และมักจะมีรายได้จากการชักชวนสมาชิกใหม่มาร่วมธุรกิจ เช่น 

  • คดียูฟัน (Ufund) 
  • คดีแม่ชม้อย 
  • คดี FOREX-3D 

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงขอเตือนพี่น้องประชาชน ให้ระมัดระวังในการลงทุนเกี่ยวกับธุรกิจลักษณะขายตรง ที่อาจเข้าข่ายเป็นขบวนการแชร์ลูกโซ่ หรือหลอกลวงประชาชน 

เปิด 6 ข้อสังเกต "แชร์ลูกโซ่" ในรูปแบบ"ธุรกิจขายตรง" บริษัทขายตรง

1. โมเดลแชร์ลูกโซ่ - หากโครงสร้างธุรกิจเน้นการรับสมัครคนใหม่เข้าร่วมมากกว่าการขายสินค้าหรือบริการจริง โมเดลนี้ทำให้รายได้หลักมาจากการชักชวนสมาชิกใหม่และเก็บเงินค่าสมัคร แทนที่จะเกิดจากการขายสินค้า

2. การขายสินค้าหรือบริการที่ไม่ตรงความจริง - หากสินค้าหรือบริการที่เสนอขายไม่มีคุณภาพ ไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่โฆษณาไว้ หรือไม่มีสินค้าจริงในการจำหน่าย แต่มีการหลอกลวงเพื่อเก็บเงินจากผู้ร่วมธุรกิจ

3. การบังคับซื้อสินค้าหรือการลงทุนจำนวนมาก - หากบริษัทบังคับให้ผู้สมัครเข้าร่วมต้องลงทุนจำนวนมากในการซื้อสินค้าเกินความจำเป็น หรือกักตุนสินค้าโดยไม่สามารถขายออกได้จริง

4. การใช้ข้อมูลที่เป็นเท็จหรือหลอกลวง - หากบริษัทนำเสนอข้อมูลทางธุรกิจหรือรายได้ที่เกินจริง โฆษณาผลตอบแทนที่สูงเกินจริงโดยไม่สามารถทำได้ตามสัญญา

5. การไม่มีใบอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง - ธุรกิจขายตรงในประเทศไทยต้องได้รับใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)

6. ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายการคุ้มครองผู้บริโภค - หากธุรกิจไม่ให้ข้อมูลที่ชัดเจนแก่ผู้บริโภค ไม่สามารถคืนเงินหรือเปลี่ยนสินค้าตามที่กฎหมายกำหนด หรือไม่มีการคุ้มครองสิทธิ์ของผู้บริโภค ก็อาจเข้าข่ายผิดกฎหมาย

ด่วน! ตำรวจ ออกโรงเตือน บริษัทขายตรง ธุรกิจขายตรง ใช้กลหลอกลวง \'แชร์ลูกโซ่\'

ช่องทางแจ้งความร้องทุกข์ ขอความช่วยเหลือ พบเห็นธุรกิจขายตรง เข้าข่ายการกระทำความผิด หรืออาชญากรรมรูปแบบต่างๆ

หากพี่น้องประชาชนพบเห็นธุรกิจในลักษณะดังกล่าว หรือสงสัยว่าอาจเข้าข่ายเป็นการกระทำความผิด สามารถแจ้งเบาะแสได้ที่ "สายด่วนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 1599" เพื่อที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะได้ดำเนินการตรวจสอบต่อไป

สุดท้ายนี้ หากพี่น้องประชาชนได้รับความเสียหายจากอาชญากรรมรูปแบบต่าง ๆ สามารถแจ้งความร้องทุกข์ได้ที่สถานีตำรวจในพื้นที่

หากเป็นคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สามารถแจ้งความร้องทุกข์ได้ที่

  • ศูนย์รับแจ้งความออนไลน์ สายด่วน 1441
  • เว็บไซต์ thaipoliceonline.go.th ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

 

อ้างอิง-ภาพ : สำนักงานตำรวจแห่งชาติ