เปิดภาพดาวเทียม "สุโขทัย" น้ำท่วมขัง จม 1.4 แสนไร่ ส่วนใหญ่พื้นที่เกษตรกรรม

เปิดภาพดาวเทียม "สุโขทัย" น้ำท่วมขัง จม 1.4 แสนไร่ ส่วนใหญ่พื้นที่เกษตรกรรม

GISTDA เปิดภาพถ่ายดาวเทียม "สุโขทัย" น้ำท่วมขัง กว่า 1.4 แสนไร่ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลุ่มเกษตรกรรม ชุมชนที่อยู่อาศัย และเส้นทางคมนาคม

วันที่ 10 ตุลาคม 2567 สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมด้วยข้อมูลภาพจากดาวเทียม Sentinel-1 พบ "น้ำท่วมขัง" ในพื้นที่บางส่วนของ จ.สุโขทัย รวม 146,500 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลุ่มเกษตรกรรม ชุมชนที่อยู่อาศัย และเส้นทางคมนาคมบางแห่ง

สถานการณ์ดังกล่าว GISTDA ได้ส่งข้อมูลภาพจากดาวเทียมดังกล่าวให้กับหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ เพื่อนำไปใช้สนับสนุนในการบริหารจัดการตามภารกิจ ทั้งด้านการวางแผน และการติดตาม เพื่อประเมินสถานการณ์ต่อไป

รวมทั้งวางแผนและปรับแผนรับสัญญาณดาวเทียม เพื่อวิเคราะห์ ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถตรวจสอบพื้นที่อื่นๆ พร้อมรายงานสรุปพื้นที่น้ำท่วมแต่ละจังหวัด เพิ่มเติมได้ที่ disaster.gistda.or.th

เปิดภาพดาวเทียม \"สุโขทัย\" น้ำท่วมขัง จม 1.4 แสนไร่ ส่วนใหญ่พื้นที่เกษตรกรรม

 

ปภ. รายงาน น้ำท่วม 19 จังหวัด กระทบ 1,639 หมู่บ้าน เดือดร้อน 45,762 ครัวเรือน

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานว่า ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 19 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก พิษณุโลก นครสวรรค์ สุโขทัย อุดรธานี กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ มหาสารคาม อุบลราชธานี ชัยนาท สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และนครปฐม รวมพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ 72 อำเภอ 348 ตำบล 1,639 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 45,762 ครัวเรือน

 

ภาคเหนือ รวม 8 จังหวัด 29 อำเภอ 104 ตำบล 519 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 13,776 ครัวเรือน

1. เชียงราย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อ.แม่สาย อ.เมืองฯ อ.แม่ลาว อ.เวียงป่าเป้า อ.เวียงชัย และ อ.เชียงแสน รวม 17 ตำบล 80 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,046 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

2. เชียงใหม่ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.สารภี อ.หางดง อ.สันป่าตอง และ อ.เมืองฯ รวม 24 ตำบล 166 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,927 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

3. ลำพูน เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ อ.เมืองฯ รวม 7 ตำบล 42 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,369 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

4. ลำปาง เกิดน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอเถิน รวม 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 20 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

5. ตาก เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.สามเงา และ อ.บ้านตาก รวม 7 ตำบล 47 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,542 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

6. พิษณุโลก เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อ.พรหมพิราม อ.บางระกำ อ.เมืองฯ อ.บางกระทุ่ม อ.วังทอง อ.นครไทย และ อ.วัดโบสถ์ รวม 27 ตำบล 104 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,749 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

7. สุโขทัย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อ.สวรรคโลก อ.ศรีสำโรง อ.เมืองฯ อ.ศรีสัชนาลัย อ.กงไกรลาศ อ.คีรีมาศ และ อ.ทุ่งเสลี่ยม รวม 19 ตำบล 77 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,053 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

8. นครสวรรค์ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอเมืองฯ รวม 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 70 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 5 จังหวัด 16 อำเภอ 63 ตำบล 256 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,067ครัวเรือน

1. อุดรธานี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ และ อ.สร้างคอม รวม 9 ตำบล 25 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 251 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

2. กาฬสินธุ์ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.ยางตลาด อ.หนองกุงศรี อ.ท่าคันโท อ.สหัสขันธ์ และ อ.ฆ้องชัย รวม 12 ตำบล 15 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 68 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

3. ชัยภูมิ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.คอนสวรรค์ อ.จัตุรัส และ อ.ซับใหญ่ รวม 18 ตำบล 69 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

4. มหาสารคาม เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ และ อ.กันทรวิชัย รวม 13 ตำบล 118 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 23 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

5. อุบลราชธานี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ อ.สว่างวีระวงศ์ อ.เขื่องใน อ.วารินชำราบ รวม 11 ตำบล 29 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 721 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

ภาคกลาง รวม 6 จังหวัด 27 อำเภอ 181 ตำบล 864 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 30,919 ครัวเรือน

1. ชัยนาท เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ อ.มโนรมย์ อ.วัดสิงห์ อ.สรรพยา รวม 16 ตำบล 49 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 588 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

2. สิงห์บุรี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.อินทร์บุรี อ.เมืองฯ และ อ.พรหมบุรี รวม 4 ตำบล 14 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 480 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

3. สุพรรณบุรี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อ.เดิมบางนางบวช อ.บางปลาม้า อ.สองพี่น้อง อ.ศรีประจันต์ อ.สามชุก และ อ.เมืองฯ รวม 35 ตำบล 149 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,797 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

4. อ่างทอง เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.วิเศษชัยชาญ อ.ไชโย อ.เมืองฯ และ อ.ป่าโมก รวม 19 ตำบล 56 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 887 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

5. พระนครศรีอยุธยา เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อ.บางบาล อ.ผักไห่ อ.เสนา อ.พระนครศรีอยุธยา อ.บางปะอิน อ.บางไทร และ อ.บางปะหัน รวม 96 ตำบล 545 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 23,497 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

6. นครปฐม เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.นครชัยศรี อ.บางเลน และ อ.กำแพงแสน รวม 11 ตำบล 51 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 670 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

ทั้งนี้ ประชาชนสามารถติดตามการรายงานสถานการณ์ ข่าวสารสาธารณภัย ได้ทาง Facebook กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM และ X @DDPMNews ติดตามการประกาศแจ้งเตือนภัยได้ทางแอปพลิเคชัน "Thai Disaster Alert" ทั้งระบบ IOS และ Android

และหากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือได้ทางไลน์ "ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784" โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 (ตลอด 24 ชั่วโมง)