ค้นพบแล้ว 'หยาดพระโพธิสัตว์' สกุลหยาด พืชชนิดใหม่ของโลก ที่แก่งคอย สระบุรี
ค้นพบแล้ว "หยาดพระโพธิสัตว์" สกุลหยาด พืชชนิดใหม่ของโลก พบบริเวณเขาหินปูน อ.แก่งคอย จ.สระบุรี ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 50 ซม. ลำต้นอวบน้ำ ออกดอกสีขาว ด้านในหลอดกลีบดอกสีส้ม ด้านล่างสีเข้มกว่า มีเส้นหนาสีน้ำตาลแผ่เป็นรัศมี ถือเป็นพืชที่อยู่ในภาวะถูกคุกคาม ใกล้สูญพันธุ์
เปิดโฉม พืชสกุลหยาดชนิดใหม่ของโลก ค้นพบแล้ว "หยาดพระโพธิสัตว์" พืชชนิดใหม่ของโลก พบบริเวณเขาหินปูน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี
ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 50 ซม. ลำต้นอวบน้ำ ออกดอกสีขาว ด้านในหลอดกลีบดอกสีส้ม ด้านล่างสีเข้มกว่า มีเส้นหนาสีน้ำตาลแผ่เป็นรัศมี ถือเป็นพืชที่อยู่ในภาวะถูกคุกคามและใกล้สูญพันธุ์
ค้นพบ "หยาดพระโพธิสัตว์" ที่ไหน?
- หยาดพระโพธิสัตว์ Microchirita radiata D. J. Middleton, Daonurai, Poompayak & Suddee พบบริเวณเขาหินปูน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี
ลักษณะ "หยาดพระโพธิสัตว์" พืชสกุลหยาดชนิดใหม่ของโลก
ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 50 ซม. ลำต้นอวบน้ำ ส่วนบนสีม่วงแดงถึงสีม่วงแดงอมเขียว หรือสีเขียวตลอด โคนสีม่วงแดงเข้ม มีขนยาวห่างประปราย
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ยกเว้นใบที่โคนต้น เรียงเวียน แผ่นใบบางมาก มีขนสั้นนุ่มถึงขนสั้นหนาแน่นทั้ง 2 ด้าน ดอกสีขาว ด้านในหลอดกลีบดอกสีส้ม ด้านล่างสีเข้มกว่า มีเส้นหนาสีน้ำตาลแผ่เป็นรัศมี
คำระบุชนิด ‘radiata’ หมายถึงเส้นสีน้ำตาลที่แผ่เป็นรัศมีภายในหลอดกลีบดอก
ตัวอย่างต้นแบบ Thananthaisong, Poompayak, Udomsiripong, Khananthong & Daonurai 1000 เก็บรักษาไว้ที่หอพรรณไม้
สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2567 ทีมงานนักวิจัยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลกในสกุลหยาด 4 ชนิด จากจังหวัดสระบุรี 2 ชนิด ระยอง 1 ชนิด และลพบุรี 1 ชนิด
พบขึ้นอยู่ในพื้นที่จำกัดในระบบนิเวศจำเพาะคือระบบนิเวศเขาหินปูน เป็นพืชที่อยู่ในภาวะถูกคุกคามและใกล้สูญพันธุ์ พืชชนิดใหม่ของโลกทั้ง 4 ชนิด
ถูกสำรวจพบตามการดำเนินงานโครงการพรรณพฤกษชาติประเทศไทย (Flora of Thailand) ทีมงานนักวิจัยประกอบด้วย
- นางสาวนัยนา เทศนา
- นายพาโชค พูดจา
- นายธีรวัฒน์ ทะนันไธสง
- นายคุณานนต์ ดาวนุไร
- นายสมราน สุดดี หน่วยงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช
- นายเกริกวิทย์ ภูมิพยัคฆ์ หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาสมโภชน์ จ.ลพบุรี
ได้สำรวจและเก็บตัวอย่างตามวิธีการด้านพฤกษศาสตร์ และได้ประสานงานกับนักพฤกษศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญวงศ์ชาฤๅษีของไทย (Gesneriaceae) Dr. David Middleton เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นพืชชนิดใหม่ในสกุลหยาด (Microchirita) จึงได้ร่วมกันตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารนานาชาติ Thai Forest Bulletin (Botany) เล่มที่ 52(2) หน้า 80-88 ปี 2024
ทั่วโลกพบพืชในสกุลนี้ 51-55 ชนิด ประเทศไทยพบทั้งหมดถึงปัจจุบัน 41 ชนิด นับว่าเป็นศูนย์กลางของการกระจายพันธุ์ของสกุลนี้
อ้างอิง-ภาพ : หอพรรณไม้ Forest Herbarium - BKF , https://li01.tci-thaijo.org/index.php/ThaiForestBulletin