แจกเงิน 10,000 บาท อัปเดตเงินช่วยเหลือเงินเยียวยา เช็กเงื่อนไขล่าสุด
เงินดิจิทัลหรือดิจิตอล 10000 บาท รอไปก่อน อัปเดตแจกเงิน 10,000 บาท ตรวจสอบเงินช่วยเหลือเงินเยียวยา เช็กเงื่อนไขล่าสุด
ทุกข์สองเด้งทั้งภัยพิบัติและเศรษฐกิจไม่ดีเหมือนเป็นเคราะห์ซ้ำ ชาวบ้านเดือดร้อน รัฐบาลกำลังให้เงินช่วยเหลือ แต่สำหรับ เงินดิจิทัล หรือ ดิจิตอล 10000 ต้องรอไปก่อน อัปเดตแจกเงิน 10,000 บาท อัปเดตเงินช่วยเหลือเช็กเงินเยียวยาน้ำท่วม เช็กเงื่อนไขล่าสุด กรุงเทพธุรกิจ เช็กอัปเดต
ล่าสุด เพจ "ไทยคู่ฟ้า" ของรัฐบาล เผยว่าภายหลังกระทรวงมหาดไทยได้รายงานให้ ครม. รับทราบกรณีกรมบัญชีกลาง อนุมัติให้ผู้ว่าราชการ หรือ ผวจ. พื้นที่ซึ่งประกาศเขตให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน
สามารถใช้เงินทดรองราชการจ่ายเป็นค่าช่วยล้างดินโคลน รวมทั้งซากวัสดุต่างๆ ในที่อยู่อาศัยประชาชนซึ่งประสบอุทกภัยในอัตรา 10,000 บาทต่อหลัง
พร้อมกำชับให้ อปท. ในพื้นที่เกิด น้ำท่วม ให้คำแนะนำ อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในขั้นตอนต่าง ๆ เช่น การประชาสัมพันธ์ การยื่นคำขอ การลงพื้นที่สำรวจ และประชุมพิจารณาอนุมัติให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว
สำหรับการจ่ายเงินช่วยเหลือค่าล้างดินโคลนหลังละ 10,000 บาท เป็นคนละส่วนกับเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในฤดูฝน ปี 2567 ครัวเรือนละ 9,000 บาท
หลักเกณฑ์เบื้องต้น บ้านเรือนที่จะได้รับเงินช่วยเหลือ หลังละ 10,000 บาท นี้ จะจ่ายตามความจำเป็นและเหมาะสม ไม่รวมถึงที่อยู่อาศัยที่เสียหายทั้งหลัง หรือที่ส่วนราชการหรือส่วนอื่น ๆ ดำเนินการให้ความช่วยเหลือเรียบร้อยแล้ว ส่วนกรณีที่มีหน่วยงานเข้าช่วยเหลือทำความสะอาดบางส่วน แต่เจ้าของที่อยู่อาศัยยังต้องจ้างแรงงาน ซื้อเครื่องมือเข้าทำความสะอาดเพิ่มเติมก่อนเข้าพักอาศัยได้ตามปกติ ทางคณะกรรมการจะลงพื้นที่สำรวจเป็นรายกรณี
ขณะนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้เร่งหารือกับ กรมบัญชีกลาง ในกรณีการรับเงินชดเชยเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการขนย้ายดินโคลนออกจากบ้านเรือนที่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าไปให้การช่วยเหลือได้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ประกาศเขตให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน โดยใช้เงินทดรองราชการจ่ายเป็นค่าช่วยล้างดินโคลน ในที่อยู่อาศัยประชาชนซึ่งประสบอุทกภัยในอัตรา 10,000 บาทต่อหลัง ซึ่งหลังจากนี้ก็ขอให้ ปภ. ร่วมกันจังหวัด เร่งสำรวจและจ่ายเงินช่วยเหลือให้ผู้ประสบอุทกภัยโดยเร็วที่สุด
ข้อมูลล่าสุด มีผู้ยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเข้ามาทั้งสิ้น 54 จังหวัด รวม 162,238 ครัวเรือน
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้นำส่งข้อมูลที่ได้รับการตรวจสอบและยืนยันจากจังหวัดให้ธนาคารออมสินแล้วจำนวน 6 ครั้ง รวม 18,897 ครัวเรือน เป็นเงิน 94,615,000 บาท
ธนาคารออมสิน ได้โอนเงินเข้าบัญชีผู้ประสบภัยสำเร็จแล้วจำนวน 6 ครั้ง (27,30 ก.ย. 67 และ 2,4,8,9 ต.ค.67) รวม 17,352 ครัวเรือน เป็นเงิน 86,888,000 บาท
กรณีที่ธนาคารออมสินไม่สามารถโอนจ่ายได้สำเร็จ
ขอให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
- การผูกบัญชีพร้อมเพย์กับหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน
- หากประชาชนต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือต้องการขอความช่วยเหลือในเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข ขั้นตอน ตลอดจนระยะเวลาการดำเนินการ และการกรอกข้อมูลยื่นคำร้องเพื่อขอรับเงินช่วยเหลือ สามารถสอบถามได้ที่กองช่วยเหลือผู้ประสบภัย ปภ. หมายเลขโทรศัพท์
0-2637-3508 – 10,12
089-600-6777
084-874-7387 - หากต้องการสอบถามเรื่องการยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือผ่านระบบออนไลน์ https://flood67.disaster.go.th คลิก
- พบปัญหาในการใช้งาน สามารถสอบถามได้ที่ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปภ. ได้ที่หมายเลข 0-2637-3604-06 และ 089-968-1232
อ้างอิง - ทำเนียบรัฐบาล , กรมบัญชีกลาง , กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และทีมข่าวกรุงเทพธุรกิจ