พ.ย.67 เงินสมทบประกันสังคม ม.33, 39, 40 ต้องจ่ายเท่าไหร่ 42 จังหวัด จ่ายน้อยลง

พ.ย.67 เงินสมทบประกันสังคม ม.33, 39, 40 ต้องจ่ายเท่าไหร่ 42 จังหวัด จ่ายน้อยลง

อัปเดตล่าสุด พฤศจิกายน 2567 “ผู้ประกันตน ม.33 - ม.39 - ม.40” ต้องจ่ายเงินสมทบประกันสังคมเท่าไหร่? ทั้งนายจ้างและลูกจ้าง เช็กรายชื่อ 42 จังหวัด จ่ายเงินสมทบน้อยลง หลังครม. มีมติเห็นชอบ ลดส่งเงินสมทบประกันสังคม ถึงงวด มี.ค. 68 เนื่องจากเจอสถานการณ์ “น้ำท่วม 2567”

ประกันสังคม อัปเดตล่าสุดพฤศจิกายน 2567 เงินสมทบประกันสังคม “ผู้ประกันตน ม.33 - ม.39 - ม.40” เงินสมทบประกันสังคมจ่ายเท่าไหร่? ทั้งนายจ้างและลูกจ้าง เช็กรายชื่อ 42 จังหวัด จ่ายเงินสมทบน้อยลง หลังครม. มีมติเห็นชอบ ลดส่งเงินสมทบประกันสังคม ถึงงวด มี.ค. 68  เนื่องจากเจอสถานการณ์ “น้ำท่วม 2567”

พ.ย.67 เงินสมทบประกันสังคม ม.33, 39, 40 ต้องจ่ายเท่าไหร่ 42 จังหวัด จ่ายน้อยลง
จ่ายเงินสมทบประกันสังคม พฤศจิกายน 2567 ต้องจ่ายเท่าไหร่?

ผู้ประกันตน มาตรา 33 (ม.33)

  • พนักงานประจำ พนักงานหรือลูกจ้างทุกระดับตำแหน่งที่สถานประกอบการจ้างให้ทำงานเป็นประจำ และเต็มเวลา ที่อยู่ในระบบประกันสังคมมาตรา 33 ต้องจ่ายเงินสมทบเป็นจำนวน 5% ของรายได้ต่อเดือน คิดจากฐานค่าจ้างต่ำสุด 1,650 บาท และสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

ลูกจ้างและนายจ้าง จ่ายฝ่ายละ 5% เงินเดือน 15,000 บาทขึ้นไป ต้องจ่ายเงินสมทบ 750 บาทต่อเดือน

เมื่อรวมเงินสมทบประกันสังคมที่จ่ายทั้งหมดตลอด 12 เดือน ผู้ที่มีเงินเดือนมากกว่า 15,000 บาท จ่ายเงินสมทบรวมทั้งหมด 9,000 บาท

ผู้ประกันตน มาตรา 39 (ม.39)

  • บุคคลที่เคยทำงานในบริษัทเอกชน เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 (ม.33) มาก่อนแล้ว ได้ลาออกจากบริษัท แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมไว้ จึงสมัครใช้สิทธิในมาตรา 39 แทน โดยการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน ม.39 นั้นสามารถทำได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม

ผู้ประกันตน ส่งเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 39 ด้วยตนเอง เป็นจำนวน 432 บาท ต่อเดือน

เมื่อรวมเงินสมทบประกันสังคมที่จ่ายทั้งหมดตลอด 12 เดือน เป็นวงเงินทั้งสิ้น 5,184 บาท 

ผู้ประกันตนมาตรา 40

  • ประชาชนทั่วไป ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และแรงงานนอกระบบ ฟรีแลนซ์ ที่มีอายุ 15 – 65 ปี ซึ่งต้องไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39

เงินสมทบที่ต้องนำส่งมี 3 ทางเลือก

ทางเลือกที่ 1 จ่ายในอัตรา 70 บาทต่อเดือน

  • สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 3 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย
  • จ่ายครบ 12 เดือน เป็นวงเงินทั้งสิ้น 840 บาท

ทางเลือกที่ 2 จ่าย 100 บาทต่อเดือน

  • สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีชราภาพ
  • จ่ายครบ 12 เดือน เป็นวงเงินทั้งสิ้น 1,200 บาท   

ทางเลือกที่ 3 จ่าย 300 บาทต่อเดือน

  • สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 5 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร
  • จ่ายครบ 12 เดือน เป็นวงเงินทั้งสิ้น 3,600 บาท
     

คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงแรงงานขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบ และการนำส่งเงินสมทบของนายจ้าง และผู้ประกันตนในท้องที่ที่ประสบภัยพิบัติ พ.ศ. .... และร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ลดหย่อนการออกเงินสมทบของนายจ้าง และผู้ประกันตนในท้องที่ที่ประสบภัยพิบัติอย่างร้ายแรง พ.ศ. …. 
มีรายละเอียด ดังนี้

1. ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบของนายจ้าง และผู้ประกันตนในท้องที่ที่ประสบภัยพิบัติ พ.ศ. ....  ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบของนายจ้างและการนำส่งเงินสมทบของนายจ้างตามมาตรา 47 วรรคสอง และการนำส่งเงินสมทบของผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ในท้องที่ที่ประสบภัยพิบัติอย่างร้ายแรงจากวาตภัยและอุทกภัยในงวดเดือนกันยายน พ.ศ. 2567  ถึงงวดเดือนธันวาคม พ.ศ. 2567 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่นายจ้างและผู้ประกันตน (เดิม ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการหักเงินสมทบไว้) โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ 

     1)ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2567

     2)จังหวัดที่ได้รับการขยายกำหนดเวลายื่นแบบรายการฯ และการนำส่งเงินสมทบตามมาตรา 47 
มี 42 จังหวัด

พ.ย.67 เงินสมทบประกันสังคม ม.33, 39, 40 ต้องจ่ายเท่าไหร่ 42 จังหวัด จ่ายน้อยลง

รายชื่อ 42 จังหวัด ลดเงินสมทบประกันสังคม ม.33 ม.39 ถึงงวด มี.ค. 68

  1. กระบี่ 
  2. กาญจนบุรี 
  3. กาฬสินธุ์ 
  4. กำแพงเพชร 
  5. ขอนแก่น 
  6. ชัยภูมิ 
  7. ชุมพร 
  8. เชียงราย  
  9. เชียงใหม่
  10. ตรัง 
  11. ตาก
  12. นครนายก 
  13. นครปฐม 
  14. นครพนม
  15. นครราชสีมา
  16. นครศรีธรรมราช 
  17. นครสวรรค์ 
  18. น่าน 
  19. บึงกาฬ 
  20. พะเยา 
  21. พังงา 
  22. พิจิตร 
  23. พิษณุโลก
  24. เพชรบูรณ์ 
  25. แพร่
  26. ภูเก็ต 
  27. มหาสารคาม 
  28. มุกดาหาร
  29. แม่ฮ่องสอน
  30. ร้อยเอ็ด 
  31. ลำปาง
  32. ลำพูน 
  33. เลย 
  34. สตูล 
  35. สระบุรี
  36. สุโขทัย 
  37. สุราษฎร์ธานี
  38. หนองคาย
  39. หนองบัวลำภู
  40. อ่างทอง
  41. อุดรธานี 
  42. อุตรดิตถ์

3)    บุคคลที่จะต้องยื่นแบบรายการฯ และการนำส่งเงินสมทบในงวดเดือนที่ขยายกำหนดเวลายื่นแบบฯ นายจ้างที่ขึ้นทะเบียนนายจ้างตามมาตรา 34 และขึ้นทะเบียนลูกจ้าง ซึ่งเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33

  • ค่าจ้างงวดเดือนกันยายน 2567 ให้ยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบ ภายในวันที่ 15 มกราคม 2568
  • ค่าจ้างงวดเดือนตุลาคม 2567 ให้ยื่นแบบรายการ แสดงการส่งเงินสมทบ และการนำส่งเงินสมทบ ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568
  • ค่าจ้างงวดเดือนพฤศจิกายน 2567 ให้ยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบ ภายในวันที่ 15 มีนาคม 2568
  • ค่าจ้างงวดเดือนธันวาคม 2567 ให้ยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบ ภายในวันที่ 15 เมษายน 2568

4)บุคคลที่จะต้องนำส่งเงินสมทบในงวดเดือนที่ขยายกำหนดเวลานำส่งเข้ากองทุน ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ซึ่งมีทะเบียนประกันตนในท้องที่ที่กำหนดตามข้อ 2 ได้รับการขยายกำหนดเวลานำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนตามมาตรา 39 ดังนี้

  • เงินสมทบงวดเดือนกันยายน 2567 ให้นำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนภายในวันที่ 15 มกราคม 2568
  • เงินสมทบงวดเดือนตุลาคม 2567 ให้นำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568
  • เงินสมทบงวดเดือนพฤศจิกายน 2567 ให้นำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนภายในวันที่ 15 มีนาคม 2568
  • เงินสมทบงวดเดือนธันวาคม 2567 ให้นำส่งเงินสมทบเข้ากองทุน ภายในวันที่ 15 เมษายน 2568

2.ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ลดหย่อนการออกเงินสมทบของนายจ้าง และผู้ประกันตนในท้องที่ที่ประสบภัยพิบัติอย่างร้ายแรง พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการลดหย่อนการออกเงินสมทบกองทุนประกันสังคมของนายจ้าง ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และผู้ประกันตนมาตรา 39 ในท้องที่ที่ประสบภัยพิบัติอย่างร้ายแรง  โดยให้การลดหย่อนการออกเงินสมทบมีผลใช้บังคับในงวดเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 ถึงงวดเดือนมีนาคม พ.ศ. 2568 ดังนี้ 

1)กรณีนายจ้างซึ่งขึ้นทะเบียนนายจ้าง และผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ซึ่งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน ในท้องที่ที่กำหนดในข้อ 1. ให้ปรับลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม โดยให้นายจ้าง และผู้ประกันตนตามมาตรา 33 นำส่งเงินสมทบ จากเดิมอัตราฝ่ายละร้อยละ 5 เป็นอัตราฝ่ายละร้อยละ 3 ของค่าจ้างผู้ประกันตน

2)กรณีผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ซึ่งมีทะเบียนผู้ประกันตนในท้องที่ที่กำหนดในข้อ 1. ให้ปรับลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมของผู้ประกันตนตามมาตรา 39 

โดยนำส่งเงินสมทบ จากเดิมอัตราร้อยละ 9 เป็นอัตราร้อยละ 5.90  ของค่าจ้างของผู้ประกันตน คิดเป็นจำนวนเงิน จากเดือนละ 432 บาท เป็นเดือนละ 283 บาท 

ทั้งนี้ คณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของ รง. ครั้งที่ 14/2567 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2567 มีมติเห็นชอบร่างประกาศทั้ง 2 ฉบับแล้ว