บริจาคเงิน 150 ล้านให้มูลนิธิดัง จากเด็กเลี้ยงควายสู่มหาเศรษฐีหมื่นล้าน

บริจาคเงิน 150 ล้านให้มูลนิธิดัง จากเด็กเลี้ยงควายสู่มหาเศรษฐีหมื่นล้าน

ฮือฮา บริจาคเงิน 150 ล้านให้มูลนิธิดัง "ซิวซี แซ่ตั้ง" จากเด็กเลี้ยงควายสู่มหาเศรษฐีหมื่นล้าน ในนามบริษัท วิทูรปกรณ์ โฮลดิ้ง จำกัด และครอบครัววิทูรปกรณ์

รวยแล้วแจกเงิน ฮือฮา บริจาคเงิน 150 ล้าน ให้มูลนิธิดัง "ซิวซี แซ่ตั้ง" จากเด็กเลี้ยงควายสู่มหาเศรษฐีหมื่นล้าน ในนามบริษัท วิทูรปกรณ์ โฮลดิ้ง จำกัด และครอบครัววิทูรปกรณ์

มูลนิธิรามาธิบดี เปิดเผยว่า บริษัท วิทูรปกรณ์ โฮลดิ้ง จำกัด และครอบครัววิทูรปกรณ์ โดย ซิวซี แซ่ตั้ง มอบเงินบริจาค 50,000,000 บาท สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ เพื่อโครงการอาคารกายวิภาคฯ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ รับมอบโดย ศ.คลินิค นพ.อาทิตย์ อังกานนท์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และประธานคณะกรรมการบริหารมูลนิธิรามาธิบดี

บริจาคเงิน 150 ล้านให้มูลนิธิดัง จากเด็กเลี้ยงควายสู่มหาเศรษฐีหมื่นล้าน

 

และเมื่อปีที่แล้ว บริษัท วิทูรปกรณ์ โฮลดิ้ง จำกัด และครอบครัววิทูรปกรณ์ โดย ซิวซี แซ่ตั้ง มอบเงินบริจาคจำนวน 100,000,000 บาท แก่มูลนิธิรามาธิบดีฯ สมทบทุนเพื่อโครงการอาคารกายวิภาคฯ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ โดยมี ศ. นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และประธานคณะกรรมการบริหารมูลนิธิรามาธิบดีฯ และ รศ. นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ รักษาการแทนรองคณบดีฝ่ายดูแลสุขภาพและผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดีและกรรมการบริหารมูลนิธิรามาธิบดีฯ ร่วมรับมอบ

บริจาคเงิน 150 ล้านให้มูลนิธิดัง จากเด็กเลี้ยงควายสู่มหาเศรษฐีหมื่นล้าน

"ซิวซี แซ่ตั้ง" จากเด็กเลี้ยงควายสู่มหาเศรษฐีหมื่นล้าน

โพสต์ทูเดย์เคยทำรายงาน ชีวประวัติ ซิวซี แซ่ตั้ง มหาเศรษฐีหมื่นล้าน ผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัท ตะวันออกโปลีเมอร์อุตสาหกรรม เจ้าของธุรกิจผลิตยาง ฉนวนกันความร้อน คอร์กเทป พลาสติกแผ่นและพลาสติกขึ้นรูป รวมถึงอุปกรณ์ประดับยนต์

เด็กชายชาวจีนผู้เติบโตมาในครอบครัวชาวนายากจน ต้องเลี้ยงควายตักอุจจาระขาย เคยตาบอดจนคิดฆ่าตัวตาย สุดท้ายรอดมาได้ราวปาฏิหาริย์ ก่อนอพยพมายังเมืองไทย โดยมีเสื้อกางเกงติดตัวเพียงชุดเดียว ตั้งหน้าทำมาหากินอย่างสุจริต ขยันอดออม จนประสบความสำเร็จในท้ายที่สุด

เป็นเถ้าแก่ครั้งแรกในวัย 22 ปี เริ่มจากเปิดโรงงานฟอกหนัง ก่อนประสบกับภาวะซบเซาหลังรัฐบาลประกาศห้ามส่งออกเครื่องหนังไปยังต่างประเทศ จึงเบนเข็มลงใต้ไปรับจ้างกรีดยางที่ อ.เบตง จ.ยะลา ต่อมากลับมาปักหลักกรุงเทพฯ เปิดบ้านเช่า รับเหมาประตู-หน้าต่างไม้ ทำธุรกิจอิมปอร์ต-เอ็กซ์ปอร์ต ก่อนหันมาจับธุรกิจผลิตยางสังเคราะห์ ห่วงติดอวน ฉนวนกันความร้อน คอร์กเทป จนถึงประดับยนต์ จนประสบความสำเร็จดังที่เห็นทุกวันนี้

อ้างอิง - โพสต์ทูเดย์ และ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล