ปภ. เตือน 11 จังหวัดภาคใต้ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน ดินถล่ม ช่วง 20 – 26 พ.ย. 67
ปภ. ออกประกาศแจ้งเตือน 11 จังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง และดินถล่ม ในช่วงวันที่ 20 – 26 พ.ย. 67
วันนี้ (18 พ.ย. 67) เวลา 16.30 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แจ้ง 11 จังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง และดินถล่ม ในช่วงวันที่ 20 – 26 พ.ย. 67 โดยให้จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศ สภาพน้ำ ปริมาณฝน และแนวโน้มสถานการณ์ภัยอย่างใกล้ชิด พร้อมจัดทีมปฏิบัติการและเครื่องจักรกลสาธารณภัยเข้าประจำพื้นที่เสี่ยงเพื่อเข้าเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทันทีที่เกิดภัย รวมถึงแจ้งเตือนประชาชนให้ติดตามพยากรณ์อากาศและปฏิบัติตามประกาศเตือนภัยอย่างเคร่งครัด
นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) ได้ติดตามสภาวะอากาศและพิจารณาปัจจัยเสี่ยง ประกอบกับสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ติดตามการคาดการณ์สภาพอากาศ พบว่า บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากสาธารณรัฐประชาชนจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ขณะที่มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางพื้นที่ โดยมีพื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์ ในช่วงวันที่ 20 – 26 พฤศจิกายน 2567 ดังนี้
พื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง และดินถล่ม
จังหวัดสุราษฎร์ธานี 12 อำเภอ ได้แก่
- อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี
- อำเภอกาญจนดิษฐ์
- อำเภอบ้านนาสาร
- อำเภอเวียงสระ
- อำเภอบ้านนาเดิม
- อำเภอพุนพิน
- อำเภอเคียนซา
- อำเภอพระแสง
- อำเภอชัยบุรี
- อำเภอดอนสัก
- อำเภอเกาะพะงัน
- อำเภอเกาะสมุย
จังหวัดนครศรีธรรมราช 18 อำเภอ ได้แก่
- อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
- อำเภอปากพนัง
- อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
- อำเภอพระพรหม
- อำเภอร่อนพิบูลย์
- อำเภอจุฬาภรณ์
- อำเภอขนอม
- อำเภอทุ่งสง
- อำเภอสิชล
- อำเภอนบพิตำ
- อำเภอพิปูน
- อำเภอฉวาง
- อำเภอท่าศาลา
- อำเภอพรหมคีรี
- อำเภอลานสกา
- อำเภอเชียรใหญ่
- อำเภอชะอวด
- อำเภอหัวไทร
จังหวัดพัทลุง 2 อำเภอ ได้แก่
- อำเภอเมืองพัทลุง
- อำเภอควนขนุน
จังหวัดสงขลา 12 อำเภอ ได้แก่
- อำเภอเมืองสงขลา
- อำเภอกระแสสินธุ์
- อำเภอสทิงพระ
- อำเภอควนเนียง
- อำเภอบางกล่ำ
- อำเภอสิงหนคร
- อำเภอหาดใหญ่
- อำเภอรัตภูมิ
- อำเภอระโนด
- อำเภอจะนะ
- อำเภอเทพา
- อำเภอนาทวี
จังหวัดปัตตานี 11 อำเภอ ได้แก่
- อำเภอเมืองปัตตานี
- อำเภอแม่ลาน
- อำเภอกะพ้อ
- อำเภอทุ่งยางแดง
- อำเภอไม้แก่น
- อำเภอยะรัง
- อำเภอสายบุรี
- อำเภอยะหริ่ง
- อำเภอปานะเระ
- อำเภอมายอ
- อำเภอหนองจิก
จังหวัดยะลา 8 อำเภอ ได้แก่
- อำเภอเมืองยะลา
- อำเภอกรงปินัง
- อำเภอเบตง
- อำเภอธารโต
- อำเภอบันนังสตา
- อำเภอกาบัง
- อำเภอยะหา
- อำเภอรามัน
จังหวัดนราธิวาส 13 อำเภอ ได้แก่
- อำเภอนราธิวาส
- อำเภอศรีสาคร
- อำเภอเจาะไอร้อง
- อำเภอแว้ง
- อำเภอบาเจาะ
- อำเภอยี่งอ
- อำเภอระแงะ
- อำเภอรือเสาะ
- อำเภอจะแนะ
- อำเภอสุคิริน
- อำเภอสุไหงโก-ลก
- อำเภอสุไหงปาดี
- อำเภอตากใบ
จังหวัดตรัง 6 อำเภอ ได้แก่
- อำเภอเมืองตรัง
- อำเภอวังวิเศษ
- อำเภอย่านตาขาว
- อำเภอห้วยยอด
- อำเภอนาโยง
- อำเภอปะเหลียน
จังหวัดสตูล 5 อำเภอ ได้แก่
- อำเภอเมืองสตูล
- อำเภอทุ่งหว้า
- อำเภอมะนัง
- อำเภอควนกาหลง
- อำเภอควนโดน
พื้นที่เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็ก
ที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี ภูเก็ต กระบี่ และอ่างเก็บน้ำที่มีสถิติปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำมากกว่าความจุเก็บกักที่มีความเสี่ยงน้ำล้นอ่างฯ และ ส่งผลกระทบให้น้ำท่วมบริเวณด้านท้ายน้ำ สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ โดยเฉพาะเขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา ให้พิจารณาบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม ไม่ให้เกิดผลกระทบหรือเกิดผลกระทบบริเวณท้ายเขื่อนน้อยที่สุด
พื้นที่เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ
บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของแม่น้ำตาปี แม่น้ำตรัง คลองชะอวด คลองลำ คลองท่าแนะ แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำบางนรา แม่น้ำโก-ลก และคลองตันหยงมัส
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จึงได้ประสานแจ้ง 11 จังหวัดภาคใต้ รวมถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 11 สุราษฎร์ธานี ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 12 สงขลา และศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 18 ภูเก็ต เตรียมพร้อมรับมือกับปริมาณฝนที่ตกหนักบางพื้นที่ที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง และดินถล่มได้ โดยกำชับให้จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศ สภาพน้ำ และเฝ้าระวังสถานการณ์ภัยอย่างต่อเนื่อง ตลอด 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะการติดตามปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่ แต่ละจุดอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง ซึ่งอาจทำให้เกิดอุทกภัยได้ สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ โดยเฉพาะถ้ำน้ำตก ถ้ำลอด หากมีฝนตกหนักมีความเสี่ยงที่จะเกิดภัยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งการหน่วยงานที่รับผิดชอบ ประกาศแจ้งเตือนและปิดกั้นพื้นที่ห้ามบุคคลใดเข้าพื้นที่โดยเด็ดขาด ทั้งนี้ ได้กำชับให้จัดทีมปฏิบัติการพร้อมเครื่องจักรกลสาธารณภัยเข้าประจำพื้นที่เสี่ยง เพื่อเข้าเผชิญเหตุและให้การช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที นอกจากนี้ ให้จังหวัดแจ้งเตือนประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยทราบล่วงหน้า และแจ้งกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามข้อมูลสภาวะอากาศ ปริมาณฝนอย่างใกล้ชิด
สำหรับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ในระยะนี้ขอให้ติดตามสภาพอากาศ ประกาศการแจ้งเตือนภัย สถานการณ์น้ำในพื้นที่ และข่าวสารจากทางราชการอย่างต่อเนื่อง และเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยที่อาจเกิดขึ้น โดยสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยที่แอปพลิเคชัน “THAI DISASTER ALERT” และหากความเดือดร้อนจากสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM รวมถึงสายด่วนนิรภัย1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือต่อไป