เตือนภัยล่วงหน้าทันที ปล่อยเรือ วางทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิ ยามเหตุฉุกเฉิน

เตือนภัยล่วงหน้าทันที ปล่อยเรือ วางทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิ ยามเหตุฉุกเฉิน

ปภ. ปล่อยเรือ วางทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิ เตรียมพร้อมเหตุฉุกเฉิน เสริมประสิทธิภาพสถานการณ์ฉุกเฉิน เตือนภัยล่วงหน้า - อพยพหนีภัยได้ทันที สร้างความเชื่อมั่น ประชาชนคนไทย นักท่องเที่ยว บริเวณมหาสมุทรอินเดีย - ทะเลอันดามัน ย้ำทุก 2 ปี มีการบำรุงรักษา วางทุ่นใหม่ พร้อมใช้งาน

มั่นใจได้ปลอดภัย! ปภ. ปล่อยเรือ วางทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิ เตรียมพร้อมรับมือเหตุฉุกเฉิน เสริมประสิทธิภาพสถานการณ์ฉุกเฉิน เตือนภัยล่วงหน้า - อพยพหนีภัยได้ทันที สร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชนคนไทยและนักท่องเที่ยว บริเวณมหาสมุทรอินเดีย และทะเลอันดามัน ประเทศไทย ย้ำทุก 2 ปี มีการบำรุงรักษา วางทุ่นใหม่ให้พร้อมใช้งาน

เตือนภัยล่วงหน้าทันที ปล่อยเรือ วางทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิ ยามเหตุฉุกเฉิน

เมื่อวานนี้ 25 พ.ย. 67 ณ ท่าเรือน้ำลึก ตำบลวิชิต อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต นายกองเอก อดุลย์ ชูทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานในพิธีปล่อยเรือวางทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิ ในมหาสมุทรอินเดียและทะเลอันดามัน 

โดยมี นายสหรัฐ วงศ์สกุลวิวัฒน์ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กงสุลใหญ่ออสเตรเลียประจำภูเก็ต กงสุลใหญ่รัสเซียประจำภูเก็ต อดีตกงสุลกิตติมศักดิ์เนปาลประจำภูเก็ต ผู้แทนกองทัพเรือ 

ผู้แทนศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) ผู้แทนกรมประมง ผู้แทนกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ผู้แทนกรมเจ้าท่า เลขาธิการศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAFDEC) ผู้แทนสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย 

ผู้แทนมูลนิธิชุมชนไท ผู้แทนหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และเครือข่ายอาสาสมัครภัยพิบัติในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตเข้าร่วมงาน 

เตือนภัยล่วงหน้าทันที ปล่อยเรือ วางทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิ ยามเหตุฉุกเฉิน

เตือนภัยล่วงหน้าทันที ปล่อยเรือ วางทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิ ยามเหตุฉุกเฉิน

การวางทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิในครั้งนี้เป็นการวางทดแทนทุ่นเดิมในมหาสมุทรอินเดียและทะเลอันดามัน การติดตั้งทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิถือเป็นกลไกหนึ่งในการป้องกันและลดผลกระทบจากภัยสึนามิ เพื่อให้สามารถเตือนภัยได้ล่วงหน้าอย่างรวดเร็ว นำไปสู่การสร้างความเชื่อมั่นในระบบเตือนภัยให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว

ภูมิหลัง การเกิดสึนามิครั้งใหญ่เมื่อปี 2547

นายสหรัฐ วงศ์สกุลวิวัฒน์ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวใต้ทะเลในมหาสมุทรอินเดีย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้ทำให้เกิดคลื่นสึนามิ

สร้างความเสียหายแก่บ้านเรือนประชาชน และสถานที่ท่องเที่ยวตามแนวชายฝั่งรอบมหาสมุทรอินเดียเป็นอย่างมาก 

จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 230,000 คน และมีประเทศที่ได้รับผลกระทบ 4 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ศรีลังกา อินเดีย และไทย

ภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าว ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบการป้องกันและกำหนดมาตรการลดผลกระทบจากคลื่นสึนามิให้มีประสิทธิภาพ 

รัฐบาล โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ได้พัฒนาระบบวิเคราะห์คาดการณ์การเกิดคลื่นสึนามิล่วงหน้าและระบบแจ้งเตือนภัยคลื่นสึนามิของประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง 

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) โดยศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.) ได้มีการติดตั้งทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิ จำนวน 2 จุด 

  • จุดที่ 1 ติดตั้งในมหาสมุทรอินเดีย สถานี 23401 ห่างจากเกาะภูเก็ตไปทางทิศตะวันตกประมาณ 965 กิโลเมตร 
  • จุดที่ 2 ติดตั้งไว้ในทะเลอันดามัน สถานี 23461 ห่างจากเกาะภูเก็ตไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 340 กิโลเมตร 

ซึ่งการวางทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิในครั้งนี้ เป็นการวางทดแทนทุ่นเดิมตามวงรอบของการบำรุงรักษา ทุก 2 ปี ทั้งในมหาสมุทรอินเดียและทะเลอันดามัน เพื่อให้ทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิมีความพร้อมใช้งานอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพในการส่งต่อข้อมูลไปยังระบบแจ้งเตือนภัยของประเทศ

เตือนภัยล่วงหน้าทันที ปล่อยเรือ วางทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิ ยามเหตุฉุกเฉิน

“การวางระบบตรวจวัดคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดียและทะเลอันดามัน ถือเป็นกลไกในการเตือนภัยสึนามิล่วงหน้าให้กับประชาชน เพื่อจะได้ไม่ตื่นตระหนกกับข่าวลือและประชาชนจะได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องจากหน่วยงานภาครัฐ 

รวมทั้งจะทำให้ประชาชนสามารถเตรียมความพร้อมในการอพยพหนีภัยสึนามิได้อย่างทันท่วงที และเป็นการสร้างความปลอดภัยในชีวิตของประชาชนได้อีกทางหนึ่ง 

ซึ่งทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิที่ดำเนินการติดตั้งในครั้งนี้ ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าสามารถช่วยลดความสูญเสียแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้ 

อย่างไรก็ตาม ขอฝากหน่วยงานภาครัฐ องค์กรต่าง ๆ สถานประกอบการ อาสาสมัคร เครือข่าย ชาวประมง และประชาชนร่วมกันสอดส่องดูแลรักษาระบบตรวจวัดคลื่นสึนามิ

รวมถึงหอเตือนภัยและอุปกรณ์เตือนภัยในพื้นที่ เพื่อให้อุปกรณ์ดังกล่าวสามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องสามารถแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ” นายสหรัฐ รองอธิบดี ปภ. กล่าว

เปิดข้อมูลการวางทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิในประเทศไทย เริ่มติดตั้งมาตั้งแต่ ธ.ค. 2549 

สำหรับการวางทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิในประเทศไทย ได้ดำเนินการติดตั้งมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2549 ตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการในการแจ้งเตือนภัยสึนามิกับองค์การบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (National Oceanic and Atmospheric Administration : NOAA) 

และได้รับมอบทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิจาก NOAA ประกอบด้วย ทุ่นลอยพร้อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (Surface Buoy) และชุดอุปกรณ์วัดความดันใต้ท้องทะเล (Bottom Pressure Recorder : BPR) 

โดยติดตั้งห่างจากเกาะภูเก็ตไปทางทิศตะวันตกประมาณ 965 กิโลเมตร หรือประมาณ 600 ไมล์ 

หลักการทำงานของทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิ

การทำงานของทุ่นจะติดตามการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำและส่งผ่านสัญญาณเสียงไปสู่ทุ่นลอยและส่งข้อมูลไปยังดาวเทียม 

จากนั้นจะส่งสัญญาณมาที่สถานีรับสัญญาณภาคพื้นดิน และประมวลผลร่วมกับทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิของนานาประเทศ แล้วส่งข้อมูลกลับมายังศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อออกประกาศแจ้งเตือนประชาชน 

เตือนภัยล่วงหน้าทันที ปล่อยเรือ วางทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิ ยามเหตุฉุกเฉิน

ต่อมาเมื่อเดือนมกราคม 2560 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ดำเนินการติดตั้งทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิเพิ่มเติมเป็นจุดที่ 2 ในทะเลอันดามัน โดยติดตั้งห่างจากเกาะภูเก็ตประมาณ 340 กิโลเมตร 

ทั้งนี้ ทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิ ทั้ง 2 จุด มีการบำรุงรักษาตามมาตรฐานของผู้ผลิตอย่างต่อเนื่องทุก ๆ 2 ปี เพื่อให้ทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิมีความพร้อมในการใช้งานได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ

นายสหรัฐ ยังกล่าวต่อว่า ปภ. ยังได้บูรณาการด้านการจัดการสาธารณภัยให้เป็นไปอย่างเป็นระบบ โดยมีหน่วยเผชิญเหตุที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ประกอบด้วย หน่วยปฏิบัติระดับพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน ได้แก่ 

  • ศูนย์ป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยเขต 12 สงขลา ดูแลรับผิดชอบพื้นที่จังหวัดสตูล 
  • ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 18 ภูเก็ต ดูแลรับผิดชอบพื้นที่จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง 

เพื่อเตรียมความพร้อมและประสานการปฏิบัติด้านการจัดการภัยสึนามิในพื้นที่เสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

ทั้งนี้ การติดตั้งทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดียและทะเลอันดามัน ถือเป็นกลไกหนึ่งในการป้องกันและลดผลกระทบจากภัยสึนามิ เพื่อให้สามารถเตือนภัยได้ล่วงหน้าอย่างรวดเร็ว 

ส่งผลให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวในพื้นที่ชายฝั่งอันดามันของประเทศไทย และประชาชนในภูมิภาครอบมหาสมุทรอินเดียสามารถเตรียมพร้อมรับมือกับภัยสึนามิและอพยพหนีภัยได้อย่างทันท่วงที นำไปสู่การสร้างความเชื่อมั่นในระบบเตือนภัยให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว

 

อ้างอิง-ภาพ : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM