ตั้งศูนย์ JIC หนุนภารกิจ ศปช. ประชาสัมพันธ์ สื่อสารช่วยเหลือ ‘น้ำท่วมภาคใต้’

ตั้งศูนย์ JIC หนุนภารกิจ ศปช. ประชาสัมพันธ์ สื่อสารช่วยเหลือ ‘น้ำท่วมภาคใต้’

รัฐบาล ได้มอบหมายให้กรมประชาสัมพันธ์ สนับสนุนการทำงานของศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารร่วม (Joint Information Center : JIC) ซึ่งเป็นกลไกการสื่อสารในภาวะวิกฤต เพื่อช่วยเหลือ ‘น้ำท่วมภาคใต้’

รัฐบาล ได้มอบหมายให้กรมประชาสัมพันธ์ สนับสนุนการทำงานของศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารร่วม (Joint Information Center : JIC) ซึ่งเป็นกลไกการสื่อสารในภาวะวิกฤต เพื่อช่วยเหลือและสร้างความเข้าใจแก่ภาคประชาชนในพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบ ‘น้ำท่วมภาคใต้

ตั้งศูนย์ JIC หนุนภารกิจ ศปช. ประชาสัมพันธ์ สื่อสารช่วยเหลือ ‘น้ำท่วมภาคใต้’

นางสาวจิราพร สินธุไพร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้กรมประชาสัมพันธ์ สนับสนุนการทำงานของศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) ตั้งแต่เหตุการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือ จนถึงขณะนี้มีเหตุการณ์อุทกภัยเกิดขึ้นในหลายพื้นที่จังหวัดภาคใต้ โดยใช้กลไก ศูนย์ข้อมูลข่าวสารร่วม (Joint Information Center : JIC) ซึ่งเป็นกลไกการสื่อสารในภาวะวิกฤตที่ได้วางระบบการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 

“สำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 (สงขลา) ซึ่งเป็นหน่วยของกรมประชาสัมพันธ์ในระดับพื้นที่ ทำงานร่วมกับ ศอ.บต. ซึ่งเป็นแกนกลางในการบริหารสถานการณ์ มีบทบาทคล้าย ศปช.ส่วนหน้า ซึ่งมีการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารทั้งการแจ้งเตือนประชาชน และการสร้างความเข้าใจในการบริหารจัดการสถาการณ์ ตลอดจนความช่วยเหลือที่จะเข้าไปถึงพื้นที่ต่าง ๆ ได้อย่างตรงจุด โดยให้มีการถอดบทเรียนการสื่อสารในภาวะวิกฤตจากกรณีอุทกภัยในภาคเหนือ เพื่อนำมาปรับแผนการทำงานรองรับการสื่อสารสถานการณ์อุทกภัยในภาคใต้ในครั้งนี้ด้วย" นางสาว จิราพร กล่าว

สำหรับกลไก JIC ของกรมประชาสัมพันธ์ เป็นการวางกลไกการสื่อสารร่วมกันระหว่างหน่วยงานของกรมประชาสัมพันธ์ในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ตลอดจนประชาสัมพันธ์จังหวัดทุกจังหวัด ที่มีการประมวลข้อมูลจากหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง เชื่อถือได้
 

สำหรับประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ที่กำลังเผชิญผลกระทบในขณะนี้สามารถติดตามสถานการณ์ได้ในช่องทางต่าง ๆ ดังนี้

1. สถานีโทรทัศน์ : NBT2HD เปิดช่วงพิเศษ “ช่วยเหลือน้ำท่วมภาคใต้” ในช่วงข่าวภาคหลักเป็นประจำทุกวัน รวมทั้งในรายการ Better Future เวลา 10.00 - 11.00 น. ทุกวัน และรายการ NBT มีคำตอบ เวลา 15.00-16.00 น. ทุกวันจันทร์-ศุกร์ 

2. สถานีโทรทัศน์ NBT11 (NBT South) จัดรายการพิเศษ“เกาะติดน้ำท่วมภาคใต้” ผ่านทาง NBT.South โดยดำเนินการร่วมกัน 3 สถานี NBT.สุราษฎร์ธานี  สงขลา  และยะลา  ออกอากาศ ในวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 11.00 -12.00 น. และวันเสาร์ – อาทิตย์ ออกอากาศเวลา 10.00 – 12.00 น .

3. สื่อวิทยุ 7 สถานีในพื้นที่ 5 จังหวัด (สงขลา ปัตตานี ยะลา  สตูล นราธิวาส  เบตง และสุไหงโก-ลก) ปรับผังรายการรายงานสถานการณ์น้ำท่วม  การประสานความช่วยเหลือ และการแจ้งข้อมูลข่าวสารจากภาครัฐให้ประชาชนรับทราบ

4. ช่องทาง Online สามารถติดตามทาง X และ Facebook:  NBT CONNEXT  NBT2HD กรมประชาสัมพันธ์ Facebook: สำนักประชาสัมพันธ์เขต 6  และ Facebook : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดทุกจังหวัดในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ

นอกจากนี้กรมประชาสัมพันธ์ได้ร่วมมือกับทางศอ.บต.เปิดรายการพิเศษ “1880 ศอ.บต.ร่วมด้วยช่วยน้ำท่วม”ในรูปแบบวิทยุ Pool  ผ่านทางสวท.9 สถานี  และวิทยุชุมชน ศอ.บต.เครือข่าย 5 จังหวัด 8 สถานี จะเริ่มออกอากาศในวันที่ 2 ธ.ค.67 ทุกวัน เวลา 09.00 – 10.00 น.