สทนช. ตอบแล้ว จริงหรือไม่ 10 เขตในกรุงเทพฯ 'เสี่ยงจมใต้บาดาล'

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ตอบแล้ว เรื่องจริงหรือไม่ จากกระแสข่าว 10 เขต ในกรุงเทพมหานคร เสี่ยงจมใต้บาดาล
จากกระแสข่าวมีการเปิดเผยข้อมูล 10 เขตใน กรุงเทพมหานครเสี่ยงจมน้ำ ล่าสุด ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ตรวจสอบโดย สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ได้ตรวจสอบข้อมูลนี้ พบว่า “เป็นข้อมูลบิดเบือน”
ในขณะนี้ กรุงเทพฯ โดยเฉพาะพื้นที่ชั้นใน มีการทรุดตัวน้อยมาก เนื่องจากไม่ได้มีการสูบน้ำบาดาลมาใช้น้ำทะเลสูงขึ้นจริงในปัจจุบัน แต่ก็ยังอยู่ในอัตราการเพิ่มที่ป้องกันได้
จากข้อมูลน้ำท่วมในพื้นที่ภาคกลาง กรุงเทพฯ และปริมณฑล สามารถจัดกลุ่มความ เสี่ยงน้ำท่วมได้เป็น 3 ประเภท คือ
1.น้ำท่วมเมืองหรือน้ำรอการระบาย จากฝนตกหนักในเมืองมากเกินกว่าความสามารถระบบระบายน้ำ
2.น้ำล้นจากฝั่งแม่น้ำ จากปริมาณฝนตกหนักเกินความจุลำน้ำ ทำให้น้ำล้นฝั่งเข้าท่วมชุมชน
3.น้ำท่วมชายฝั่งชุมชนหรือเมืองที่อยู่ริมชายฝั่งทะเล เมื่อต้องเผชิญกับระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น
ทั้งนี้ กรุงเทพมีระดับความสูงเฉลี่ย 1.5 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลบวกกับมีการทรุดตัวของดินในอัตรา 30 มม./ปี(บางวิจัยบอก 10-20 มม./ปีหลังมีมาตการห้ามขุดเจาะน้ำบาดาล) ปัจจุบันการทรุดตัวของดินกรุงเทพมหานครเริ่มชะลอตัวลง แต่จากการปัญหาดินทรุดที่สะสมมานาน ทำให้บางส่วนของเมืองอยู่ต่ำกว่า ระดับน้ำทะเล 1 เมตร ซึ่งหากเกิดฝนตกหนัก เกิดพายุโซนร้อน หรือมีน้ำทะเลหนุนสูง จนไม่สามารถระบายน้ำได้ทันท่วงทีก็จะทำให้เกิดน้ำท่วมได้
ในขณะที่ระดับน้ำทะเลในอ่าวไทย เพิ่มขึ้น เฉลี่ยปีละ 3 มม. (อุณหภูมิสูงขึ้นเฉลี่ย 1.5 องศาเซลเซียส ทำให้น้ำทะเลหนุนสูงขึ้นมากกว่า 1 เมตร) โดยที่คาดว่าระดับน้ำทะเลอ่าวไทย จะมีอัตราสูงขึ้น ประมาณ 1-1.5 ม.