จับตา! พายุโซนร้อน "หินหนามหน่อ" ลูกล่าสุด ทวีกำลังแรง
จับตา! พายุโซนร้อน "หินหนามหน่อ" ทวีกำลังแรง กรมอุตุนิยมวิทยาเตือนทั่วไทยเสี่ยงฝนตกหนัก 29-31 สิงหาคม 65 นี้ ภาคอีสาน-กลาง-ตะวันออก-ใต้ เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าหลาก
วันที่ 30 สิงหาคม 2565 กรมอุตุนิยมวิทยา "พยากรณ์อากาศ" อัปเดตเส้นทางพายุเข้าบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก ขณะนี้มีพายุโซนร้อนลูกที่ 11 ชื่อ หินหนามหน่อ (HINNAMNOR) ยังไม่มีผลกระทบกับไทยในขณะนี้ มีแนวโน้มเคลื่อนตัวทางตะวันตก
ซึ่งเมื่อวานนี้(29 สิงหาคม 2565) กรมอุตุนิยมวิทยา ได้เผยเส้นทางพายุบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก ขณะนี้มีพายุโซนร้อนลูกที่ 11 ชื่อ หินหนามหน่อ (HINNAMNOR) หมายถึง "ห่านป่า" ตั้งชื่อโดย สปป.ลาว โดยความคืบหน้าล่าสุดสำหรับพายุ "หินหนามหน่อ" นี้ยังอยู่ห่างไกลจากประเทศไทย ขณะที่เส้นทางของพายุมีแนวโน้มเคลื่อนตัวทางตะวันตก ซึ่งต้องติดตามเป็นระยะ ๆ
ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ กรมอุตุนิยมวิทยา ชี้แจงกรณีพบเห็นกลุ่ม เมฆดำทะมึนที่ปกคลุมพื้นที่ กทม.และปริมณฑล โดยระบุว่าเป็นกลุ่มเมฆฝนคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) มีลักษณะการเคลื่อนที่ขึ้นลงที่รุนแรง ทำให้เกิดแนวโค้งคล้ายเมฆอาร์คัส (Arcus) ซึ่งมีลักษณะโค้งเหมือนกันชนหน้ารถและม้วนคล้ายแบบหลอดและแบบชั้น
หลายครั้งที่เกิดพายุหลายคนคงสงสัยว่า "ชื่อพายุ" ในแต่ละลูกที่กรมอุตุนิยมวิทยา มีประกาศออกมานั้นมีชื่อและมีที่มาอย่างไร ซึ่งบางชื่อก็แปลกมาก ๆ เช่นชื่อพายุลูกล่าสุด พายุ "หมาอ๊อน" ซึ่งการตั้งชื่อพายุแต่ละชนิดเดิมทีแล้วประเทศสหรัฐอเมริกาจะเป็นผู้ตั้งชื่อของพายุทั่วโลกมาโดยตลอด เพราะยังถือเป็นประเทศเดียวที่มีความพร้อมในด้านเทคโนโลยีทางดาวเทียม
เกณฑ์การตั้งชื่อพายุแต่ละชนิด
หากพายุนั้นมีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางของพายุมากกว่า 63 กิโลเมตร/ชั่วโมง พายุลูกนั้นจะสามารถตั้งชื่อได้ ชื่อของพายุจะถูกเรียกตามคอลัมน์แรกที่ตัวบนสุด และจะวนต่อไปเรื่อย ๆ จนถึงคอลัมน์สุดท้าย เมื่อเกิดพายุตัวต่อไปขึ้นและมีความเร็วลมใกล้เส้นที่กำหนด พายุลูกนั้นจะถูกใช้ชื่อถัดลงมาจากคอลัมน์ที่ 1 เมื่อใช้จนหมดคอลัมน์แล้ว พายุลูกต่อไปที่เกิดขึ้นจะใช้ชื่อจากคอลัมน์ที่อยู่ถัดไป เมื่อใช้ครบทั้ง 5 คอลัมน์แล้วให้วนกลับมาใช้ที่คอลัมน์แรกอีกครั้ง
สำหรับประเทศไทยอยู่ในโซนมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกตอนบนและทะเลจีนใต้ ร่วมกับสมาชิกประเทศอื่น ๆ คือ กัมพูชา, จีน, เกาหลีเหนือ-ใต้, ฮ่องกง, ญี่ปุ่น, ลาว, มาเก๊า, มาเลเซีย ไมโครเนีย (รัฐอิสระอยู่บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือหมู่เกาะอินโดนีเซีย) ฟิลิปปินส์, สหรัฐฯ และเวียดนาม รวม 14 ประเทศ
ซึ่งจะแบ่งพายุเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 28 ชื่อ โดยจะเริ่มจากอักษรภาษาอังกฤษ เริ่มจากประเทศกัมพูชาเป็นประเทศแรก และปิดท้ายด้วยประเทศเวียดนามเป็นประเทศสุดท้าย โดยไทยเราอยู่อันดับที่ 12 เมื่อใช้หมด 1 กลุ่ม ก็จะขึ้นชื่อแรกในกลุ่มที่ 2 เรียงกันเรื่อยไปจนครบทุกกลุ่ม แล้วจึงกลับมาใช้ชื่อแรกของกลุ่มที่ 1 ใหม่อีกครั้ง
สำหรับรายชื่อพายุหมุนเขตร้อน ปี 2565 มีดังนี้
- มาลากัส Malakas ตั้งโดยประเทศฟิลิปปินส์ ก่อตัว 8 เมษายน
- เมกี Megi ตั้งโดยประเทศเกาหลีใต้ ก่อตัว 10 เมษายน
- ชบา Chaba ตั้งโดยประเทศไทย ก่อตัว 29 มิถุนายน]
- อาเอเร Aere เป็นคำในภาษามาร์แชลล์ (ภาษาพื้นเมืองของหมู่เกาะมาร์แชลล์) ก่อตัว 30 มิถุนายน
- ซงด่า sông Đà Songda ตั้งโดยประเทศเวียดนาม ก่อตัว 28 กรกฎาคม
- ทราเซซ Trases ตั้งโดยประเทศกัมพูชา ก่อตัว 1 สิงหาคม
- มู่หลาน Mulan ตั้งโดยประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน (ทาง WMO ไม่ประกาศเป็นดีเปรสชัน)
- เมอารี Meari ตั้งโดยประเทศเกาหลีเหนือ ก่อตัว 8 สิงหาคม
- มาง่อน Ma-on ตั้งโดยฮ่องกง ก่อตัว 20 สิงหาคม
- โทะคาเงะ Tokage ตั้งโดยประเทศญี่ปุ่น ก่อตัว 21 สิงหาคม
- ฮินนามโน Hinnamnor ตั้งโดย สปป.ลาว
- หมุ่ยฟ้า Muifa ตั้งโดยประเทศมาเก๊า
- เมอร์บุก Merbok ตั้งโดยประเทศมาเลเซีย
- นันมาดอล Namadol ตั้งโดยกลุ่มประเทศไมโครนีเซีย
- ตาลัส Talas ตั้งโดยประเทศฟิลิปปินส์
- โนรู Noru ตั้งโดยประเทศ เกาหลีใต้
- กุหลาบ Kulab ตั้งโดยประเทศไทย
- โรคี Roke ตั้งโดยประเทศสหรัฐอเมริกา
- เซินกา Sonca ตั้งโดยประเทศเวียดนาม
- เนสาด Nesat ตั้งโดยประเทศกัมพูชา
- ไห่ถาง Haitang ตั้งโดยประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
- นาลแก Nalgae ตั้งโดยประเทศเกาหลีเหนือ
- บันยัน Banyan บันยัน ตั้งโดยประเทศฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
- ยามาเนโกะ Yamaneko ตั้งโดยประเทศญี่ปุ่น
- ป่าคา Pakhar ตั้งโดย สปป.ลาว
- แซนวู Sanvu ตั้งโดยมาเก๊า
- มาวาร์ Mawar ตั้งโดยประเทศมาเลเซีย
- หมาอ๊อน เป็นชื่อพายุหมุนเขตร้อนในรายชื่อชุดที่ 5 ลำดับที่ 4 ของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกฝั่งเหนือ ส่งโดยฮ่องกง
ทั้งนี้ประเทศไทย "กรมอุตุนิยมวิทยา" ได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อเป็นตัวแทนในการเสนอชื่อพายุภาษาไทย จนได้ชื่อตามลำดับ ได้แก่ พระพิรุณ, ทุเรียน, วิภา, รามสูร, เมขลา, มรกต, นิดา, ชบา, กุหลาบ และขนุน
ข้อมูลจาก กรมอุตุนิยมวิทยา /วิกิพีเดีย