รางวัล'นวัตกรรม'เชิงพาณิชย์ ที่ใช้ได้จริงในงานเทคโนโลยีและนวัตกรรม

รางวัล'นวัตกรรม'เชิงพาณิชย์ ที่ใช้ได้จริงในงานเทคโนโลยีและนวัตกรรม

การประกวด RSP INNOVATION AWARDS 2023" ในงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทยปี 2566 ทำให้ได้เห็นนวัตกรรมที่นำมาใช้ในชีวิตได้จริง อาทิ สเปรย์จากมะกรูดใช้แทนยาแก้ปวด

ในยุคสมัยที่มีการคิดค้น นวัตกรรมใหม่ๆ ทำให้มนุษย์มีทางเลือกมากขึ้น ยกตัวอย่าง ยาแก้ปวดไม่ได้มีแค่ยากินอย่างเดียว นักวิจัยสามารถสกัดแก้ปวดจากเบต้าไพนีนในมะกรูด พัฒนาเป็นสเปรย์สามัญประจำบ้านเป็นยาแก้ปวดได้ หรือผลิตภัณฑ์น้ำมันหัวหอมสกัดใช้บรรเทาอาการหวัดคัดจมูก
การประกวดผลงานนวัตกรรม ระดับประเทศ อาร์เอสพี อินโนเวชั่น อะวอร์ด 2023(RSP INNOVATION AWARDS 2023" ) โดยสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ในงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทย ประจำปี 2566 เพื่อมอบรางวัลสำหรับการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ  ณ อิมแพค เมืองทองธานี

การประกวดครั้งนี้ เปิดโอกาสให้นักวิจัยและผู้ประกอบการได้เผยแพร่ความสำเร็จ ผลงานวิจัยและพัฒนา นวัตกรรมเชิงพาณิชย์ เพื่อนำไปปรับใช้ได้จริง

สุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า การประกวดครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 สาขา ได้แก่สาขานักธุรกิจนวัตกรรม และนวัตกรรมเชิงพาณิชย์

 

รางวัล\'นวัตกรรม\'เชิงพาณิชย์ ที่ใช้ได้จริงในงานเทคโนโลยีและนวัตกรรม

นอกจากนี้ ยังได้นำผลิตภัณฑ์และผลงานมาจัดแสดง เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีโอกาสได้ทดลองตลาด นำประสบการณ์ไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตอบโจทย์ให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

รางวัลชนะเลิศ สาขานักธุรกิจนวัตกรรม ได้แก่

  • ผลิตภัณฑ์ SUWAN Spray นวัตกรรมสารสกัดแก้ปวดจากเบต้าไพนีนในมะกรูด โดย ณฐมน ปิยะพงษ์  Suwan Spray by Bensu Co.,Ltd จากมหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งได้พัฒนาสูตร สำหรับใช้เป็นสเปรย์สามัญประจำบ้าน ทดแทนการใช้ยาแก้ปวด ใช้ได้กับทุกคน และเป็นทางเลือกให้กับผู้ที่ต้องการหลีกเลี่ยงทานยาแก้ปวด

ส่วนรางวัลรองชนะเลิศอีก 2 รางวัล ได้แก่

  • ผลิตภัณฑ์น้ำมันหัวหอมสกัด ออซ-พี บรรเทาอาการหวัด โดย ภญ.ชญานิษฐ์ ชูแข บริษัท พีร์ชญาลี้ จำกัด  จาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ปุ๋ยอินทรีย์แม่นยำ “พรี-ไอออนิคส์” โดยทิวา จามะรี บริษัททิวา อินโนเวท จำกัด จาก มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งได้คิดค้นนวัตกรรมเครื่อง N-Machine ผลิตปุ๋ยไนโตเจนอินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ผลิตได้เร็วกว่าการหมักแบบเดิมมากถึง 30 เท่า

ส่วนรางวัลชนะเลิศ สาขากระบวนการ/นวัตกรรมเชิงพาณิชย์   ได้แก่

  • ผลงาน ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร “ V Flow 3”  วิสิษฐ กอวรกุล บริษัทเจดับบลิว เฮอร์เบิล จำกัด จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร ขิง พุทราจีน เห็ดหูหนูดำ เพื่อการดูแลสุขภาพและหลอดเลือด ซึ่งได้พัฒนารูปแบบสารสกัด ชนิดชงดื่มและชนิดเม็ด ให้อยู่ในรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ทานง่าย สะดวก มีประโยชน์

รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่

  • ผลงาน “ZEREE A” นวัตกรรม Jelly Gummy  โดยนายสัตวแพทย์ณฐวัธน์ เอกศิริวรากิตติ์  บริษัท นาโนเซรี่ จำกัด จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์สำหรับทางเดินอาหารและสมองพัฒนาในรูปแบบเยลลี่กัมมี่ สามารถพกพาได้สะดวกสบาย รับประทานง่าย ไม่ยุ่งยาก และมีประสิทธิภาพดี
  • ผลงาน “ชุดตรวจคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งในระดับเบื้องต้น”  โดย รศ.ดร.ธีระพงษ์ พวงมะลิ จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มุ่งเน้นตรวจวัดดีเอ็นที่พบในเลือด และจัดเป็นตัวบ่งชี้ชนิดทั่วไป(Universal biomarker) ของมะเร็งเกือบทุกชนิด  เหมาะสำหรับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งในระดับเบื้องต้น แตกต่างจากการตรวจคัดกรองมะเร็งในปัจจุบัน ที่ตรวจวัดตัวบ่งชี้ทางชีวภาพที่มีความจำเพาะกับมะเร็งแต่ละชนิด ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการตรวจคัดกรอง
  • ดูรายละเอียดได้ที่ www.facebook.com/mhesi.rsp?mibextid=LQQJ4d