ในหลวง ทรงเปิดศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวง “ชนกาธิเบศรดำริ” เชียงใหม่

ในหลวง ทรงเปิดศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวง “ชนกาธิเบศรดำริ” เชียงใหม่

ในหลวง พระราชินี เสด็จฯ ไปทรงเปิดศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวง “ชนกาธิเบศรดำริ” ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวงชนกาธิเบศรดำริ ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ สร้างรายได้ให้แก่เกษตรบนพื้นที่สูง 168 ล้านบาท

ในหลวง ทรงเปิดศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวง “ชนกาธิเบศรดำริ” เชียงใหม่

วันนี้ (12 ก.พ.66) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินออกจากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ไปยังท่าอากาศยานทหาร กองบิน 41 อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

เวลา 18.42 น. ครั้นเสด็จฯ ถึง พลตรีจรัส ปัญญาดี รองแม่ทัพน้อยที่ 3 และนายทหารราชองครักษ์ กราบบังคมทูลรายงาน นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ อธิบดีผู้พิพากษาภาค 5 นายปานทอง สุ่มมาตย์ พลตำรวจโท ปียะ ต๊ะวิชัย นาวาอากาศเอก วงศ์วิวัติ วัฒนวรางกูร ผู้บังคับการกองบิน 41 ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 ข้าราชการและประชาชน เฝ้าฯ รับเสด็จ

พลโท สุริยะ เอี่ยมสุโร แม่ทัพภาคที่ 3 กราบบังคมทูลเชิญเสด็จขึ้นแท่นรับการถวายความเคารพจากกองทหารเกียรติยศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นแท่นทรงรับการถวายความเคารพ จากกองทหารเกียรติยศ ดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จฯ ออกจากท่อากาศยานทหาร กองบิน 41 ไปยังศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวง ชนกาธิเบศรดำริ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ในหลวง ทรงเปิดศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวง “ชนกาธิเบศรดำริ” เชียงใหม่

เมื่อรถยนต์พระที่นั่งถึงศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวงชนกาธิเบศรดำริ นายศักดิ์ชัย คุณานุวัฒน์ชัยเดข รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พลตรีสันติ สุขป้อม ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 33 พลตำรวจตรีธวัชชัย พงษ์วิวัฒนชัย ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ นายจรัลธาดา กรรณสูต องคมนตรีและประธานกรรมการมูลนิธิโครงการหลวง พลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์ องคมนตรีและประธานกรรมการบริหารมูลนิธิโครงการหลวง คณะกรรมการมูลนิธิโครงการหลวง คณะกรรมการบริหารมูลนิธิโครงการหลวง ผู้บริหาร ข้าราชการและเจ้าหน้าที่มูลนิธิโครงการหลวง เฝ้า ฯ รับเสด็จ

เสด็จเข้าพลับพลาพิธี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระพุทธนวราชบพิตร ทรงกราบ ประทับพระราชอาสน์ ทรงศีล นายภูเบศวร์ เมืองมูล หัวหน้าฝ้ายสถานีวิจัยและศูนย์พัฒนาโครงการหลวง เข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายสูจิบัตร แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นางพรนันทน์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์และสารสนเทศ เข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายสูจิบัตร แด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี

นายจรัลธาดา กรรณสูต องคมนตรีและประธานกรรมการมูลนิธิโครงการหลวง กราบบังคมทูลรายงานการดำเนินงานของมูลนิธิ ฯ การก่อสร้างศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวง “ชนกาธิเบศรดำริ” พร้อมทั้งกราบบังคมทูลเชิญเสด็จทรงประกอบพิธีเปิดศูนย์วิจัยฯ กราบบังคมทูลเบิก พลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์ องคมนตรี ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิโครงการหลวง เข้าเฝ้าฯ ถวายแผ่นศิลา เพื่อทรงลงพระปรมาภิโธย และพระนามาภิไธย เบิกผู้ให้การสนับสนุน เข้ารับพระราชทานของที่ระลึก และกราบบังคมทูลเชิญเสด็จทอดพระเนตรการปฏิบัติงานและกิจกรรมต่างๆ ของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวงชนกาธิเบศรดำริ ตามลำดับ

ในหลวง ทรงเปิดศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวง “ชนกาธิเบศรดำริ” เชียงใหม่

เสด็จออกจากพลับพลาพิธี ไปยังแท่นพิธีทรงกดปุ่มไฟฟ้าเปิดแพรคลุมป้าย “ชนกาธิเบศรดำริ” ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวง เสด็จเข้าพลับพลาพิธี ทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระสงฆ์ ประทับพระราชอาสน์ ทรงหลั่งทักษิโณทก พลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์ องคมนตรีและประธานกรรมการบริหารมูลนิธิโครงการหลวงกราบบังคมทูลเบิก ผู้ให้การสนับสนุนการก่อสร้างศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวง ชนกาธิเบศรดำริ เข้ารับพระราชทานของที่ระลึก จำนวน 100 ราย พระราชทานของที่ระลึก ตามลำดับ

พลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์ องคมนตรีและประธานกรรมการบริหารมูลนิธิโครงการหลวง เข้าเฝ้าฯ ถวายแผ่นศิลา เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและพระนามาภิไธย ทรงลงพระปรมาภิไธย และพระนามาภิไธย ในแผ่นศิลาเสด็จ ฯ ไปทรงกราบที่หน้าเครื่องนมัสการ ทรงลาพระสงฆ์ เสด็จออกจากพลับพลาพิธี ไปยังบริเวณปลูกต้นไม้

ในหลวง ทรงเปิดศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวง “ชนกาธิเบศรดำริ” เชียงใหม่

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปลูกต้นรวงผึ้ง จำนวน 1 ต้น สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี ทรงปลูกต้นรวงผึ้ง จำนวน 1 ต้น เสด็จเข้าอาคารศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวง ชนกาธิเบศรดำริ ชั้น 1 ทอดพระเนตรนิทรรศการผลงานวิจัยของมูลนิธิโครงการหลวง ตามพระราชอัธยาศัย เสด็จขึ้นชั้น 2  เสด็จเข้าห้องรับรอง ทรงลงพระปรมาภิไธย และทรงลงพระนามาภิไธย ในสมุดที่ระลึก ประทับพักพระราชอิริยาบถ ตามพระราชอัธยาศัย เสด็จออกจากห้องรับรอง ไปยังห้องเอนกประสงค์ เสด็จเข้าห้องเอนกประสงค์ ประทับพระราชอาสน์

ทรงรับฟังการถวายรายงานเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์อาคารศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวง ชนกาธิเบศรดำริ เสด็จออกจากห้องเอนกประสงค์ ไปยังห้องรับรอง เสด็จลงชั้น 1 ฉายพระบรมฉายาลักษณ์ร่วมกับสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี และคณะกรรมการมูลนิธิ ฯ ผู้บริหารของมูลนิธิ ฯ และผู้สนับสนุนการก่อสร้างอาคาร นายจรัลธาดา กรรณสูต องคมนตรีและประธานกรรมการมูลนิชิโครงการหลวง ทูลเกล้าฯ  ถวายของที่ระลึกแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 

ในหลวง ทรงเปิดศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวง “ชนกาธิเบศรดำริ” เชียงใหม่

 

  ในหลวง ทรงเปิดศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวง “ชนกาธิเบศรดำริ” เชียงใหม่

พลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์ องคมนตรีและประธานกรรมการบริหารมูลนิธิโครงการหลวงทูลเกล้า ฯ ถวายของที่ระลึก แด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จออกจากบริเวณฉายพระบรมฉายาลักษณ์ ไปประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินออกจากศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวง “ชนกาธิเบศรดำริ” ไปยังท่าอากาศยานทหารกองบิน 41 อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 

รถยนต์พระที่นั่งถึงท่าอากาศยานทหาร กองบิน 41 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นแท่นทรงรับการถวายความเคารพจากกองทหารเกียรติยศ ประทับเครื่องบินพระที่นั่ง เสด็จ ฯ ออกจากท่าอากาศยานทหาร กองบิน 41 อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ กลับพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต

ในหลวง ทรงเปิดศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวง “ชนกาธิเบศรดำริ” เชียงใหม่

ในหลวง ทรงเปิดศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวง “ชนกาธิเบศรดำริ” เชียงใหม่

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวง “ชนกาธิเบศรดำริ” อันเป็นศูนย์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งขึ้น และพระราชทานนามศูนย์วิจัย ฯ ว่า “ชนกาธิเบศรดำริ” มีความหมายว่า เป็นศูนย์รวมการวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง สืบสาน รักษา และต่อยอด ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่สร้างประโยชน์ทั้งแก่ประชาชนบนพื้นที่สูง ประชาชนในพื้นที่โดยรอบ และประชาชนโดยรวมของประเทศ ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ 21.9ไร่ 

อีกทั้ง ที่ผ่านมา ผลงานวิจัยของมูลนิธิโครงการหลวงที่เริ่มจากจุดเล็กๆ สู่ผลลัพธ์อันยิ่งใหญ่ มีผลสำเร็จจากงานวิจัย ระหว่างปีพุทธศักราช 2560-2565 มีองค์ความรู้ นวัตกรรมและเทคโนทางเทคโนโลยีพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ 50 ชนิด 126 พันธุ์ ขยายผลสู่เกษตรกรในพื้นที่ 23 ศูนย์ สร้างรายได้กว่า 168 ล้านบาท และมีพันธุ์พืชที่ขึ้นทะเบียน18 ชนิด 40 พันธุ์ ดังนี้ 

ผัก ไม้ผล ไม้ดอก พืชไร่ และพืชเครื่องดื่ม มีการจดทะเบียนสิทธิบัตร 6 รายการ ผลิตภัณฑ์ใหม่ 15 ชนิด โดยมีผลสำเร็จของงานวิจัยที่เป็นผลงานเด่น อาทิ กุหลาบ ดอกใหญ่ มีสีสันสะดุดตาปักแจกันได้นาน สตรอว์เบอร์รี่มี10 พันธุ์พระราชทานและสายพันธุ์ล่าสุดพระราชทาน 89 ลักษณะเด่นคือมีสารอนุมูลอิสระ “แอโทไซยานิน” สูงกว่าพันธุ์ทั่วไป 1-2 เท่า จึงมีผลใหญ่ผิวสีแดงเข้ม คีนัวเป็นพืชใหม่ของประเทศไทยที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง การดำเนินงานวิจัยและพัฒนาชีวพันธุ์เพื่อใช้ทดแทนสารเคมีทางการเกษตรสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ผลิตผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมปัจจุบันมีชีวพันธุ์ที่ส่งเสริมเกษตรกรรวม 13 ชนิด และเครื่องต้นแบบตรวจวิเคราะห์สารเคมีตกค้างในผลผลิต ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่จากงานวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจหาสารเคมีตกค้างได้อย่างแม่นยำและสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน มีแผนขยายผลไปใช้ในศูนย์พัฒนาโครงการหลวงต่อไป

นอกจากนี้ พืชพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี ที่พระราชทานต้นเอเดลไวส์ ให้แก่โครงการหลวง นำมาขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ขณะนี้สามารถเจริญเติบโตได้ในประเทศไทย ที่สถานีดอยอินทนนท์ ดอยอ่างข่าง จนเจริญเติบโตและออกดอกได้มากกว่า 4,450 ต้น และอยู่ระหว่างการวิจัย นำดอกมาสกัดเป็นผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิว และเจนเทียน พันธุ์พืชใหม่ที่ได้รับพระราชทานมาพร้อมเอเดลไวส์ ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาและขยายพันธุ์เนื้อเยื่อ 

รวมทั้งพัฒนาเทคนิคการย้ายปลูกที่เหมาะสม และพืชพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ที่ได้พระราชทานพืช 18 ชนิด 44 พันธุ์ แบ่งเป็นกลุ่มไม้ผล 4 ชนิด กลุ่มพืชสมุนไพร 4 ชนิด กลุ่มไม้ดอกเขตหนาว 1 ชนิด และกลุ่มพืชผัก9 ชนิด ได้ทดสอบการปลูกใน สถานีของโครงการหลวง5 แห่ง ซึ่งบางพืชสามารถนำไปขยายผลได้เลยทันที

ทั้งนี้ผลสำเร็จจากงานวิจัยนวัตกรรมและเทคโนทางเทคโนโลยีพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ ไม่ได้นำมาซึ่งคุณค่าทางเศรษฐกิจเท่านั้น หากแต่ยังนำมามาสู่การการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและสังคม โดยน้อมนำพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มาสู่การพัฒนาหัตถกรรมโครงการหลวง ความก้าวหน้าและพัฒนากัญชงให้มีต้นทุนต่ำด้วย การลดขั้นตอนการทำเส้นใย จึงทำให้ราคาจับต้องได้ เมื่อได้เส้นใยก็นำมาทอเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยผสมกับเส้นใยธรรมชาติอื่นๆ ย้อมด้วยสีธรรมชาติ โดยใช้กี่ 4 แบบตามแต่ละชุมชน 

ด้านภาคสังคม มีโครงการวัคซีนวัยรุ่นเพราะบางพื้นที่อยู่ติดกับแนวชายแดนมีความเสี่ยงกับเยาวชนในเรื่องยาเสพติด จึงเน้นสร้างความเข้าใจให้กับเยาวชนในพื้นที่ให้ห่างไกลจากยาเสพติด ด้วยการสร้างผู้นำเยาวชนต้นแบบจำนวน 150 คนเพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนรุ่นน้องให้ห่างไกลจากยาเสพติด ให้การสนับสนุนอาชีพเพื่อไม่หันกลับไปทำความผิดซ้ำ

ด้านสิ่งแวดล้อม มีโครงการสวมหมวกให้ดอย เป็นกลยุทธ์สร้างแรงจูงใจให้แก่เกษตรกรมีความหวงแหนป่าถ้าทำลายป่าก็ทำลายชีวิต ด้วยการน้อมนำแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง มาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสร้างให้ชาวบ้านเกิดความรักและหวงแหนป่าไม้ จัดทำกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์ 

นอกจากนี้ยังใช้ดาต้าเซ็นเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ผ่านภาพถ่ายดาวเทียม รวมถึงเตรียมความพร้อมสู่การประเมินคาร์บอนเครดิต เพื่อคำนวณการลดการดูดซับก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ 

ในหลวง ทรงเปิดศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวง “ชนกาธิเบศรดำริ” เชียงใหม่

ในหลวง ทรงเปิดศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวง “ชนกาธิเบศรดำริ” เชียงใหม่   ในหลวง ทรงเปิดศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวง “ชนกาธิเบศรดำริ” เชียงใหม่   ในหลวง ทรงเปิดศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวง “ชนกาธิเบศรดำริ” เชียงใหม่