ในหลวง ทรงรับปธน.เยอรมนี ในโอกาสเดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

ในหลวง ทรงรับปธน.เยอรมนี ในโอกาสเดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

ในหลวง พระราชินี ทรงรับประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และภริยา ในโอกาสเดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต

วันนี้ (25 มกราคม 2567) เวลา 18.25 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จออก ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ทรงรับนายฟรังค์-วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์ (His Excellency Dr.Frank-Walter Steinmeier) ประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และนางเอ็ลเคอ บือเดินเบนเดอร์ (Mrs. Elke  Büdenbender) ภริยา ในโอกาสเดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะแขกของรัฐบาล (Official Visit) ระหว่างวันที่ 24 – 26 มกราคม 2567

ในหลวง ทรงรับปธน.เยอรมนี ในโอกาสเดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ  

 

ในโอกาสนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระกรัณฑ์ถมตะทองลายดอกพุดตานใบเทศ และตลับถมตะทองลายดอกพุดตานใบเทศประดับเพชรแก่ประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และภริยา และประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภาพพิมพ์นูนต่ำภาพรัฐสภาสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และแจกันพอร์ซเลนลวดลายต้นหญ้าและนกไอบิสสีน้ำเงินแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี

ในหลวง ทรงรับปธน.เยอรมนี ในโอกาสเดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

นายฟรังค์-วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์ ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ตั้งแต่พุทธศักราช 2560 โดยในอดีต เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรองนายกรัฐมนตรีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีมาก่อน 

ในหลวง ทรงรับปธน.เยอรมนี ในโอกาสเดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

 

ประเทศไทยกับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี มีความสัมพันธ์อันดีต่อกันมายาวนาน นับตั้งแต่ราชอาณาจักรสยามกับอาณาจักรปรัสเซีย หรือสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีในปัจจุบัน ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อพุทธศักราช 2405

ในหลวง ทรงรับปธน.เยอรมนี ในโอกาสเดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

โดยทั้งสองฝ่ายมีความสัมพันธ์ทั้งในระดับพระราชวงศ์ รัฐบาล และประชาชนที่แน่นแฟ้น ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีครอบคลุมในทุกสาขา โดยนอกจากการเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยแล้ว ยังมีความร่วมมือด้านการศึกษา สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ซึ่งถือเป็นเสาหลักที่สำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเยอรมนี

ในหลวง ทรงรับปธน.เยอรมนี ในโอกาสเดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

ในหลวง ทรงรับปธน.เยอรมนี ในโอกาสเดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

ในหลวง ทรงรับปธน.เยอรมนี ในโอกาสเดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ