ชมภาพในหลวง พระราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการแข่งขันมหกรรมกีฬาเรือใบเฉลิมพระเกียรติฯ

ชมภาพในหลวง พระราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการแข่งขันมหกรรมกีฬาเรือใบเฉลิมพระเกียรติฯ

ชมภาพในหลวง พระราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการแข่งขันมหกรรมกีฬาเรือใบเฉลิมพระเกียรติฯ เส้นทางหาดชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ไปยังอ่าวเตยงาม อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

ชมภาพในหลวง พระราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการแข่งขันมหกรรมกีฬาเรือใบเฉลิมพระเกียรติฯ วันนี้ (19 เมษายน 2567) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานรางวัลการแข่งขันมหกรรมกีฬาเรือใบเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567ณ อาคารอเนกประสงค์ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรการแข่งขันกีฬาเรือใบ ในมหกรรมกีฬาเรือใบเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

ในโอกาสนี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงร่วมการแข่งขันกีฬาเรือใบข้ามอ่าวในทีมเรือใบ “วายุ” รุ่นไออาร์ซี ซีโร่ (IRC Zero) หมายเลขเรือ THA72 เส้นทางหาดชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ไปยังอ่าวเตยงาม อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ทรงใช้เวลารวม 4.33 ชม. จากหาดชะอำอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรีไปยังอ่าวเตยงามอ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ซึ่งเป็นทีมชนะเลิศอันดับที่1 ในการแข่งขันเรือใบข้ามอ่าว ในมหกรรมเรือใบเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ซึ่งใช้กติกาตามมาตราฐานสากลโดยใช้แต้มต่อ(Handicap) ตัดสินตามประเภทของเรือ และอายุของเรือ

ชมภาพในหลวง พระราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการแข่งขันมหกรรมกีฬาเรือใบเฉลิมพระเกียรติฯ

ชมภาพในหลวง พระราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการแข่งขันมหกรรมกีฬาเรือใบเฉลิมพระเกียรติฯ

ชมภาพในหลวง พระราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการแข่งขันมหกรรมกีฬาเรือใบเฉลิมพระเกียรติฯ

ชมภาพในหลวง พระราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการแข่งขันมหกรรมกีฬาเรือใบเฉลิมพระเกียรติฯ

ชมภาพในหลวง พระราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการแข่งขันมหกรรมกีฬาเรือใบเฉลิมพระเกียรติฯ

เมื่อจบการแข่งขัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ประทับพักพระราชอิริยาบถ ตามพระราชอัธยาศัย สมควรแก่เวลา เสด็จลงจากเรือพระที่นั่งประภาสแสงจันทร์ ไปยังเรือ RIB เสด็จฯ ไปยังหาดเตยงาม หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

ครั้นเสด็จฯ ถึง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉายพระบรมฉายาลักษณ์ร่วมกับสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และนักกีฬาเรือใบ THA72 บริเวณหน้าอนุสรณ์สถานราชนาวิกโยธิน จากนั้นทรงพระดำเนินไปยังเรือนรับรองที่ประทับ ทรงลงพระปรมาภิไธย และทรงลงพระนามาภิไธยในสมุดที่ระลึก

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จฯ ออกจากเรือนรับรองที่ประทับไปยังอาคารอเนกประสงค์ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน พลเรือเอก อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขันมหกรรมกีฬาเรือใบเฉลิมพระเกียรติฯ และพลเรือเอก สมประสงค์ นิลสมัย นายกสมาคมกีฬาแข่งเรือใบแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์เข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายสูจิบัตรและเหรียญที่ระลึก

ชมภาพในหลวง พระราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการแข่งขันมหกรรมกีฬาเรือใบเฉลิมพระเกียรติฯ

ชมภาพในหลวง พระราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการแข่งขันมหกรรมกีฬาเรือใบเฉลิมพระเกียรติฯ

ชมภาพในหลวง พระราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการแข่งขันมหกรรมกีฬาเรือใบเฉลิมพระเกียรติฯ

ชมภาพในหลวง พระราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการแข่งขันมหกรรมกีฬาเรือใบเฉลิมพระเกียรติฯ

ชมภาพในหลวง พระราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการแข่งขันมหกรรมกีฬาเรือใบเฉลิมพระเกียรติฯ

ชมภาพในหลวง พระราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการแข่งขันมหกรรมกีฬาเรือใบเฉลิมพระเกียรติฯ

โอกาสนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานรางวัลนิรันดร หางเสือเรือพระที่นั่ง “เวคา” พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร แก่ผู้ชนะเลิศการแข่งขันกีฬาเรือใบข้ามอ่าว และพระราชทานถ้วยรางวัลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แก่ผู้ชนะเลิศการแข่งขันเรือใบทางไกล ประเภท Over All ระยะทาง 15 ไมล์ผู้ชนะเลิศการแข่งขันเรือใบทางไกล ประเภท Optimist ระยะทาง 7 ไมล์ และพระราชทานเหรียญรางวัลแก่นักกีฬาเรือใบข้ามอ่าว

จากนั้น เสด็จออกจากห้องพิธี ไปยังห้องประทับรับรองเพื่อประทับพระราชอิริยาบถ ตามพระราชอัธยาศัย สมควรแก่เวลา เสด็จเข้าห้องภูลมโล ทอดพระเนตรนิทรรศการสืบสาน รักษา และต่อยอด เพื่อพัฒนากีฬาเรือใบของประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉายพระบรมฉายาลักษณ์ ร่วมกับสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี พร้อมคณะกรรมการจัดการแข่งขันฯ ผู้ชนะเลิศการแข่งขันฯ แล้วเสด็จฯ กลับพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต

สำหรับ มหกรรมกีฬาเรือใบเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 จัดโดยกองทัพเรือ ร่วมกับ สมาคมกีฬาแข่งเรือใบแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประกอบด้วย การแข่งขันเรือใบข้ามอ่าวจากหัวหิน มายังอ่าวนาวิกโยธิน หาดเตยงาม อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี และการแข่งขันเรือใบทางไกล ณ หาดเตยงาม ซึ่งทำการแข่งขันในวันที่ 19 เมษายน 2567 และการแข่งขันเรือใบชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ณ อ่าวดงตาล อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ทำการแข่งขันระหว่างวันที่ 21 ถึง 23 เมษายน 2567

ชมภาพในหลวง พระราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการแข่งขันมหกรรมกีฬาเรือใบเฉลิมพระเกียรติฯ

ชมภาพในหลวง พระราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการแข่งขันมหกรรมกีฬาเรือใบเฉลิมพระเกียรติฯ

ชมภาพในหลวง พระราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการแข่งขันมหกรรมกีฬาเรือใบเฉลิมพระเกียรติฯ

ชมภาพในหลวง พระราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการแข่งขันมหกรรมกีฬาเรือใบเฉลิมพระเกียรติฯ

ทั้งนี้ กองทัพเรือ ขอพระราชทานกราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการแข่งขันเรือใบ ในรายการมหกรรมกีฬาเรือใบเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 และพระราชทานรางวัลนิรันดรหางเสือเรือพระที่นั่งเวคาของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร แก่ผู้ชนะเลิศการแข่งขันเรือใบข้ามอ่าว และพระราชทานถ้วยรางวัลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แก่ผู้ชนะเลิศการแข่งขันเรือใบทางไกลประเภท Overall และประเภท Optimist

โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินในการแข่งขันกีฬาดังกล่าว ยังความปลื้มปิติแก่ กำลังพลกองทัพเรือ ตลอดจนนักกีฬาเรือใบ ทุกคนมีโอกาสเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ

และนับเป็นอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ของกีฬาแล่นใบไทย ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงเอาพระราชหฤทัยใส่ ในการสืบสาน รักษา และต่อยอดกีฬาเรือใบซึ่งเป็นกีฬาที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระปรีชาสามารถในการเล่นใบ และมีพระอัจฉริยภาพในการต่อเรือใบด้วยพระองค์เอง อันจะเป็นการส่งเสริมกีฬาเรือใบและปลูกฝังให้เยาวชนไทยหันมาสนใจในกีฬาเรือใบ ให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น

ย้อนเหตุการณ์สำคัญ เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2509 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงแล่นใบประเภทโอเค นามว่าเรือ “เวคา” จากวังไกลกังวล อําเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ออกเดินทางข้ามอ่าวไทยมายังอ่าวนาวิกโยธิน รวมระยะทาง 60 ไมล์ทะเล ซึ่งการแล่นใบครั้งนั้นได้ทรงเรือใบเพียงลำพัง โดยมีเรือตามเสด็จเพียง 3 ลำเท่านั้น คือ เรือของหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เรือของพระองค์เจ้าพีระพงศ์ภาณุเดช และเรือของพลเรือโท สนอง นิสาลักษณ์ ทรงออกจากวังไกลกังวลเวลา 04.28 น. ถึงอ่าวนาวิกโยธินเวลา 21.28 น. เป็นเวลาถึง 17 ชั่วโมง และยังทรงนำธงราชนาวิกโยธินมาปักไว้เหนือยอดก้อนหินที่ชายหาดแห่งนี้ อันเป็นการแสดงออกถึงพระวิริยอุตสาหะ ที่ปวงชนทุกหมู่เหล่าสมควรน้อมนำพระราชกรณียกิจด้านความเพียรความอดทนไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ยังทรงแฝงความหมายที่ลึกซึ้ง ดังพระราชดำรัสที่ได้ตรัสไว้ว่า

ชมภาพในหลวง พระราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการแข่งขันมหกรรมกีฬาเรือใบเฉลิมพระเกียรติฯ

ชมภาพในหลวง พระราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการแข่งขันมหกรรมกีฬาเรือใบเฉลิมพระเกียรติฯ

“การเล่นเรือ สอนให้คนคิดเอง ทำเอง เพราะเมื่อเราลงไปเล่นเรือแล้ว เรือไม่วิ่งจะไม่มีใครมาคอยสอน เราต้องคิดเอง ทำเอง ว่าลมมาทางไหน ลมแรงขนาดนี้ เราสู้ไหวไหม ถ้าไหวเราก็สู้ ถ้าไม่ไหวแล้วเรายังสู้ เรือก็คว่ำ ถ้าลมเบา เราจะต้องทำอย่างไร เรือจึงจะวิ่ง แล้วถ้าไม่มีลมเราจะทำอย่างไร เราก็ควรจะนั่งรอสักครู่ให้ลมมา ถ้าเราเล่นเรือเป็น ดูทิศทางลมเป็น ถ้าเราเป็นตัวนี้ เด็กไทยเป็นตัวนี้ แล้วนำมาใช้ในชีวิต นำมาใช้ในกิจการงานได้ ไม่มีทางขาดทุน เพราะเรารู้เทคนิคการใช้ชีวิต เด็กไทยจะรู้จักและเข้าใจการคิดเอง ทำเอง ...”

ต่อมาในปีเดียวกัน พระราชทานหางเสือเรือพระที่นั่งเวคา ที่ทรงแล่นใบข้ามอ่าวไทย เพื่อเป็นรางวัลนิรันดร แก่ผู้ชนะเลิศในการแข่งขันเรือใบข้ามอ่าวไทยประจําปี ของสมาคมแข่งเรือใบแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จนถึงปัจจุบัน นอกจากจะทรงโปรดกีฬาเรือใบแล้ว พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระปรีชาสามารถในการแล่นใบ รวมทั้งมีพระอัจฉริยภาพในการต่อเรือใบด้วยพระองค์เอง ซึ่งเรือใบฝีพระหัตถ์ลำแรกที่ทรงต่อเป็นเรือ ประเภทเอ็นเตอร์ไพรส์ พระราชทานนามเรือว่า “ราชประแตน” ทรงต่อเรือใบโอเคลำแรกนาม “นวฤกษ์” ทรงจัดตั้งสโมสรเรือใบส่วนพระองค์ขึ้น คือ หมวดเรือใบหลวงจิตรลดา ทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์ สมาคมกีฬาแข่งเรือใบแห่งประเทศไทย และสโมสรเรือราชวรุณ ที่เมืองพัทยา 

นอกจากนี้ยังได้ทรงออกแบบเรือใบขึ้นอีกประเภทหนึ่ง พระราชทานนามว่า “เรือมด” ซึ่งได้ทรงจดลิขสิทธิ์ที่ประเทศอังกฤษเป็นประเภท INTERNATIONAL MOTH CLASS ต่อมาทรงพัฒนาเรือแบบมดขึ้นมาใหม่ โดยได้พระราชทาน นามว่าเรือใบ“ซูเปอร์มด” และเรือใบ“ไมโครมด

ชมภาพในหลวง พระราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการแข่งขันมหกรรมกีฬาเรือใบเฉลิมพระเกียรติฯ

ชมภาพในหลวง พระราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการแข่งขันมหกรรมกีฬาเรือใบเฉลิมพระเกียรติฯ

ชมภาพในหลวง พระราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการแข่งขันมหกรรมกีฬาเรือใบเฉลิมพระเกียรติฯ

ชมภาพในหลวง พระราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการแข่งขันมหกรรมกีฬาเรือใบเฉลิมพระเกียรติฯ

ชมภาพในหลวง พระราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการแข่งขันมหกรรมกีฬาเรือใบเฉลิมพระเกียรติฯ

ชมภาพในหลวง พระราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการแข่งขันมหกรรมกีฬาเรือใบเฉลิมพระเกียรติฯ

ชมภาพในหลวง พระราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการแข่งขันมหกรรมกีฬาเรือใบเฉลิมพระเกียรติฯ

ชมภาพในหลวง พระราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการแข่งขันมหกรรมกีฬาเรือใบเฉลิมพระเกียรติฯ