พระราชกรณียกิจด้านกีฬาในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี

พระราชกรณียกิจด้านกีฬาในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี

สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีโดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระกรณียกิจในทุกหนทุกแห่ง หนึ่งในพระราชกรณียกิจสำคัญ คือการส่งเสริมสุขภาพพลานามัยด้านกีฬาแก่พสกนิกรทุกหมู่เหล่า

พระราชกรณียกิจด้านกีฬาในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี

ดังเป็นที่ประจักษ์ว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี สนพระราชหฤทัยกีฬาหลายประเภท อาทิ กีฬาไอซ์ ฮอกกี้

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงฝึกฝนกีฬาไอซ์ฮอกกี้ด้วยพระวิริยะอุสาหะ ทรงร่วมการแข่งขันไอซ์ ฮอกกี้นัดเปิดสนามไทยแลนด์ อินเตอร์เนชันแนล ไอซ์ ฮอกกี้ อารีนา เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2566 ภายหลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิด “ไทยแลนด์ อินเตอร์เนชันแนล ไอซ์ ฮอกกี้ อารีนา เชียงใหม่” (Thailand International Ice Hockey Arena Chiangmai) อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ในการแข่งขันกีฬาดังกล่าว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงฉลองพระองค์กีฬาไอซ์ ฮอกกี้ สังกัดทีม BLUE แข่งขันกับทีม WHITE ในนัดคู่เปิดสนาม ซึ่งบรรยากาศการแข่งขันในวันนั้น ทรงทำคะแนนแรกให้กับทีม BLUE โดยระหว่างที่ทรงแข่งขันอยู่ในสนามนั้น สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี สำราญพระราชหฤทัยไปพร้อมกับสมาชิกในทีม ด้วยพระพักตร์แจ่มใสตลอดเกมการแข่งขัน  

ทั้งนี้ “ไทยแลนด์ อินเตอร์เนชันแนล ไอซ์ ฮอกกี้ อารีนา เชียงใหม่” ตั้งอยู่ที่ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์เชียงใหม่ - ลำปาง ดอนจั่น ตำบลท่าศาลา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ บนพื้นที่ 1,500ตารางเมตร เป็นสนามแข่งขันกีฬาฮอกกี้น้ำแข็งและกีฬาบนลานน้ำแข็งแห่งแรกของจังหวัดเชียงใหม่ที่ได้รับการรับรองจากสมาคมกีฬาฮอกกี้น้ำแข็งแห่งประเทศไทย มีขนาดสนามได้มาตรฐานระดับนานาชาติ ในอนาคตจะใช้จัดการแข่งขันกีฬาฮอกกี้น้ำแข็ง และกีฬาบนลานน้ำแข็งรายการต่าง ๆ ในระดับประเทศและระดับนานาชาติ

นอกจากนี้ ยังจะใช้เป็นสนามฝึกซ้อมของตัวแทนนักกีฬาฮอกกี้น้ำแข็ง และกีฬาบนลานน้ำแข็งทีมชาติไทยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดทางภาคเหนือ รวมถึงใช้ในการฝึกซ้อมของนักกีฬาเยาวชนไทย เพื่อนำไปสู่การพัฒนาวงการฮอกกี้น้ำแข็งของไทยให้ก้าวไปสู่ระดับโลก 

พระราชกรณียกิจด้านกีฬาในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี

พระราชกรณียกิจด้านกีฬาในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี

ทรงร่วมการแข่งขันเรือใบนานาชาติ

ต่อมา เมื่อวันที่ 9  ธันวาคม 2566 สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงแข่งขันกีฬาเรือใบนานาชาติชิงถ้วยพระราชทาน “ภูเก็ตคิงส์คัพรีกัตต้า” ครั้งที่ 35 ณ หาดกะตะ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต 

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงอยู่ในทีม“วายุ”ร่วมกับอดีตนักกีฬาเรือใบทีมชาติไทยและนักกีฬาต่างชาติร่วม 14 คน รุ่นไออาร์ซี ซีโร (IRC Zero) หมายเลขเรือ THA72 เป็นเรือใบท้องเดี่ยวที่มีความเร็วและใหญ่ที่สุด มีเรือเข้าแข่งขัน 4 ลำจาก 3 ประเทศ ประกอบด้วย ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และประเทศไทย โดยทีมเรือใบของสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีเข้าเส้นชัยในลำดับที่ 1 ทั้ง 2 รอบการแข่งขัน

สำหรับการแข่งขันเรือใบนานาชาติชิงถ้วยพระราชทาน “ภูเก็ตคิงส์คัพรีกัตต้า” จัดขึ้นครั้งแรก เมื่อปี 2530 ในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเจริญพระชนมพรรษา 60 พรรษา โดยสโมสรเรือใบราชวรุณ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองทัพเรือ สมาคมกีฬาแข่งเรือใบแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และจังหวัดภูเก็ตซึ่งจะจัดการแข่งขันในช่วงต้นเดือนธันวาคมของทุกปี การแข่งขันเรือใบ “ภูเก็ตคิงส์คัพรีกัตต้า”

ครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 35 ประจำปี 2566 เพื่อน้อมรำลึกในพระอัจฉริยภาพ และพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นนักกีฬาเรือใบ ทรงพระปรีชาสามารถ และประสบความสำเร็จในระดับสากล และเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ที่ทรงสืบสานกีฬาเรือใบของไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ และระดับนานาชาติ สร้างแรงบันดาลใจแก่นักกีฬาเรือใบรุ่นใหม่ โดยเฉพาะเยาวชนให้ได้ฝึกฝนทักษะและพัฒนาต่อยอดการเล่นเรือใบสู่ระดับสากล

พระราชกรณียกิจด้านกีฬาในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี

พระราชกรณียกิจด้านกีฬาในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี

พระราชกรณียกิจด้านกีฬาในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี กีฬาวิ่ง

กีฬาวิ่ง นับเป็นกีฬาอีกประเภทหนึ่งที่สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีทรงให้การสนับสนุนให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี โดยเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2566 เสด็จพระราชดำเนิน ไปทรงร่วมกิจกรรม “วิ่งเฉลิมพระเกียรติ CIB RUN เคียงข้างประชาชน” ณ สนามลู่ปั่นจักรยานเจริญสุขมงคลจิต ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ ในการนี้ ทรงร่วมวิ่งในระยะทาง10 กิโลเมตร ใช้เวลา 61 นาที 45 วินาที จากนั้นทอดพระเนตรนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก่อนเสด็จพระราชดำเนินกลับ ทรงเยี่ยมชมร้าน Golden Place สาขาเจริญสุขมงคลจิต อันเป็นร้านที่ก่อตั้งจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงริเริ่มให้มีรูปแบบและบริหารจัดการที่เหมาะสมกับการดำรงชีพ ด้วยความสนพระราชหฤทัย

พระราชกรณียกิจด้านกีฬาในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี

พระราชกรณียกิจด้านกีฬาในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี

พระราชกรณียกิจด้านกีฬาในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี

พระราชกรณียกิจด้านกีฬาในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี

พระราชกรณียกิจด้านกีฬาในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี

พระราชกรณียกิจด้านกีฬาในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี

พระราชกรณียกิจด้านกีฬาในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงเปิดสนามสราญจิตมงคลสุข

เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีทรงเปิดสนามจักรยาน“สราญจิตมงคลสุข” ณ บริเวณโครงการพัฒนาบึงสีไฟเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร โดยสนามจักรยานแห่งนี้ จังหวัดพิจิตร ร่วมกับส่วนราชการ พสกนิกรชาวจังหวัดพิจิตรทุกหมู่เหล่า จัดทำโครงการพัฒนาบึงสีไฟ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยพัฒนาพื้นที่บึงสีไฟให้เป็นสนามแข่งขันจักรยานระดับนานาชาติ ตามมาตรฐานระดับนานาชาติของสหพันธ์จักรยานสากล เพื่อให้ประชาชนและเยาวชนในพื้นที่จังหวัดพิจิตร และจังหวัดใกล้เคียง ใช้เป็นสถานที่ออกกำลังกาย ฝึกฝนทักษะทางกีฬา ทำให้มีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่แข็งแรง กับยกระดับจังหวัดให้เป็นเมืองกีฬา(Sport City) ได้ในอนาคต

ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงฉลองพระองค์ชุดทรงจักรยาน เสด็จพระราชดำเนินไปยังลู่ปั่นจักรยาน ทรงบีบแตรสัญญาณปล่อยจักรยานในสนามจักรยานเป็นปฐมฤกษ์ แล้วทรงจักรยานร่วมกับคณะกรรมการโครงการพัฒนาบึงสีไฟเฉลิมพระเกียรติ ฯ ข้าราชการ และประชาชนจังหวัดพิจิตร รวมถึงจังหวัดใกล้เคียง ด้วยระยะทาง 1 รอบสนาม หรือ 10.28 กิโลเมตร 

จากนั้น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงจักรยานบีเอ็มเอ็กซ์ (BMX)  ในโอกาสนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทอดพระเนตรสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงจักรยานบีเอ็มเอ็กซ์ ด้วยความสนพระราชหฤทัย และทอดพระเนตรการสาธิตการปั่นจักรยานบีเอ็มเอ็กซ์ ประเภทชาย และประเภทหญิง แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับ 

พระราชกรณียกิจด้านกีฬาในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี

พระราชกรณียกิจด้านกีฬาในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี

พระราชกรณียกิจด้านกีฬาในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี

การแข่งขันกีฬาเรือใบข้ามอ่าว

วันที่ 19 เมษายน 2567 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงร่วมการแข่งขันกีฬาเรือใบข้ามอ่าว ในมหกรรมเรือใบเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 เส้นทางหาดชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ไปยังอ่าวเตยงามอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ระยะทาง 45 ไมล์ทะเล ในเส้นทางการเดินเรือแล่นตัดกลางอ่าวโดยไม่มีสิ่งกีดขวาง ในรูปแบบการแล่นเรือใบขวางลม ประเภท TP52 รุ่นไออาร์ซี ซีโร่(IRC Zero)  

สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงลงแข่งขันในทีมวายุเลขที่เรือTHA72 ทรงทำหน้าที่หลัก คือ บังคับหางเสือเรือ สลับไปทรงชักใบเรือ ปรับใบเรือเพื่อให้แล่นไปตามทิศทางที่ต้องการ ทั้งนี้ สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงได้รับใบอนุญาตขับเรือ Motor Boat License และ Sail Boat License จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และ RYA Coastal Skipper จากประเทศอิตาลี  

พระราชกรณียกิจด้านกีฬาในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี

พระราชกรณียกิจด้านกีฬาในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี

พระราชกรณียกิจด้านกีฬาในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี

พระราชกรณียกิจด้านกีฬาในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี

พระราชกรณียกิจด้านกีฬาในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี

เรือใบทีมวายุเริ่มสตาร์ท เวลา 10.45 น. และเข้าเส้นชัยเวลา 15.18 น.ใช้เวลารวม 4.33 ชั่วโมง ชนะเลิศอันดับที่ 1 ในการแข่งขันเรือใบข้ามอ่าว ในมหกรรมเรือใบเฉลิมพระเกียรติฯ ซึ่งใช้กติกาตามมาตราฐานสากลโดยใช้แต้มต่อ(Handicap)ตัดสินตามประเภทของเรือ และอายุของเรือเป็นหลัก โดยกองทัพเรือร่วมกับสมาคมกีฬาแข่งเรือใบแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดการแข่งขันเรือใบข้ามอ่าว ในมหกรรมเรือใบเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 สนองพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสืบสาน และต่อยอด พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงส่งเสริมการเล่นกีฬาเรือใบ เพื่อให้ประชาชนทุกหมู่เหล่ามีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง สนับสนุนนักกีฬาไทยเป็นที่ยอมรับในระดับสากลต่อไป