พระราชศรัทธาในพระศาสนา

พระราชศรัทธาในพระศาสนา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศพระองค์เป็นพุทธมามกะและทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภกศาสนาทุกศาสนา และทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ เนื่องในกิจกรรมของศาสนาอื่น ๆ

พระราชศรัทธาในพระศาสนา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชศรัทธาในพระบวรพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเนื่องในพระพุทธศาสนาในทุกโอกาส ไม่ว่าจะเป็นพระราชพิธีเนื่องในวันสำคัญทางศาสนา รวมทั้งพระราชพิธีและพิธีต่างๆ

ทั้งยังทรงสืบสานพระราชปณิธาน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทยขึ้น เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2547 และพระราชทานทุนประเดิมเริ่มแรกเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2547 เพื่อสนับสนุนพระภิกษุและสามเณรให้มีโอกาสศึกษาพุทธศาสนาขั้นสูงจากสถาบันพุทธศาสนาในประเทศ 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานทุนการศึกษาพระราชทานโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทยแด่พระภิกษุสามเณร โดยผู้ได้รับการพิจารณาคัดเลือกเข้ารับการถวายทุนการศึกษาพระราชทานทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย ในระดับระดับปริญญาเอก ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาตรี ทุนศึกษาบาลีชั้นสูง กองบาลีสนามหลวง 

พระราชศรัทธาในพระศาสนา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศพระองค์เป็นพุทธมามกะ ในปีพ.ศ. 2561 อีกทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดพิธีมหามงคลเจริญพระพุทธมนต์ในโอกาสต่างๆ ณ พระลานพระราชวังดุสิต รวมทั้งจัดพิมพ์หนังสือบทเจริญพระพุทธมนต์ พระราชทานแก่ประชาชนที่มาร่วมพีธีเพื่อเป็นพระราชกุศลธรรมทาน

ทั้งยังทรงเป็นประธานในการก่อสร้างพระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา ณ เขาชีจรรย์ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ก่อกำเนิดเมื่อครั้งสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาปรินายก (เจริญ สุวฑฒฺโน) ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดสร้างเป็นพระพุทธรูปถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงครองสิริราชสมบัติเป็นปีที่ 50 

พระราชศรัทธาในพระศาสนา

พระราชศรัทธาในพระศาสนา

พระราชศรัทธาในพระศาสนา

พระราชศรัทธาในพระศาสนา

นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภกศาสนาทุกศาสนา และทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ เนื่องในกิจกรรมของศาสนาอื่น ๆ ทั้งศาสนาคริสต์ที่มีความสัมพันธ์อันดีระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสำนักวาติกันสมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน  

ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินเยือนนครวาติกันและเฝ้า สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 23 ณ นครรัฐวาติกัน

ต่อมา เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2512 ประเทศไทยและนครรัฐวาติกัน สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการมีการแลกเปลี่ยนเอกอัครราชทูตระหว่างกันมาอย่างต่อเนื่อง

พระราชศรัทธาในพระศาสนา

พระราชศรัทธาในพระศาสนา

และเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2527 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 เฝ้า ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท  

โอกาสนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นผู้แทนพระองค์ เสด็จฯ ไปทรงรับและส่งเสด็จสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอลที่ 2 ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง 

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2528 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เข้าเฝ้า สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 ณ นครวาติกัน ในโอกาสเสด็จฯ เยือนสาธารณรัฐอิตาลีอย่างเป็นทางการ 

พระราชศรัทธาในพระศาสนา

พระราชศรัทธาในพระศาสนา

พระราชศรัทธาในพระศาสนา

พระราชศรัทธาในพระศาสนา

และเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2549 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จออกแทนพระองค์ ณ วังศุโขทัย พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้พระคาร์ดินัล เครสเซนซิโอ เซปเป อัครสังฆราชแห่งเทอเนเปิล ผู้แทนพระองค์ สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 และอาร์ชบิชอป ซัลวาโตเร เปนนักกีโอ เอกอัครสมณทูตนครรัฐวาติกันประจำประเทศไทย เฝ้า เพื่อเชิญพรและความปรารถนาดีจากสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 ในโอกาสพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 60 ปี 

นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรันซิส เฝ้าฯ ในโอกาสเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เชื่อมความสัมพันธ์ที่มีอย่างยาวนาน 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาอิสลาม เสด็จฯ ไปพระราชทานรางวัลการทดสอบการอัญเชิญพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน ระดับประเทศ ณ มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี และพระราชทานโล่เกียรติคุณและเงินรางวัลแก่คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดและอิหม่ามที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่น และพระราชทานรางวัลแก่ผู้แทนโรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียน ครู และนักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามภาคใต้ ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานีจังหวัดปัตตานีมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่เกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาซิกข์อีกด้วย 

พระราชศรัทธาในพระศาสนา

พระราชศรัทธาในพระศาสนา

พระราชศรัทธาในพระศาสนา

พระราชศรัทธาในพระศาสนา

พระราชศรัทธาในพระศาสนา

พระราชศรัทธาในพระศาสนา


ภาพ : จดหมายเหตุการจัดสร้างพระพุทธรูปแกะสลักหน้าผาเขาชีจรรย์ “พระพุทธมหาวชิราอุตตโมภาสศาสดา”