ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ สานต่อพระบรมราชชนก

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ สานต่อพระบรมราชชนก

“โครงการหลวงเลอตอ” เป็นโครงการหลวงลำดับแรกในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปณิธานในการสืบสาน รักษา ต่อยอดแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยภูเขา ลดการปลูกฝิ่น และฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธาร

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ สานต่อพระบรมราชชนก

ก่อตั้งเป็น “ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแห่งใหม่ ลำดับที่ 35” คือ “ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ” ตำบลแม่ตื่น อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ครอบคลุม 2 อำเภอ คือ อ.แม่ระมาด และ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก เป็นถิ่นอาศัยของชาวไทยภูเขาเผ่าปกากะญอ รวม 6 หมู่บ้าน จำนวน 1,111 ครัวเรือน มีเป้าหมายในการเสริมสร้างอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวเขาปกาเกอะญอในพื้นที่ ด้วยการส่งเสริมพืชเศรษฐกิจทดแทนการปลูกฝิ่น และการทำไร่เลื่อนลอย

เดิมทีชาวบ้านเลอตอ ประกอบอาชีพการเกษตร ปลูกข้าวไร่พันธุ์พื้นเมือง ได้แก่ ข้าวไก่ป่า ข้าวแสงอาทิตย์ แต่ด้วยลักษณะภูมิประเทศมีความลาดชัด ลักษณะดินเป็นดินเหนียวปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ มีพื้นที่ทำนาประมาณ 10% ส่งผลให้ผลผลิตไม่เพียงพอต่อการบริโภค อีกทั้งสภาพพื้นที่โดยรวม เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน ห่างไกล ทุรกันดาร ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีน้ำประปา ราษฎรยากจน 

การเดินทางเข้าถึงจึงยากลำบากโดยเฉพาะฤดูฝนที่ตกชุกเกือบทั้งปี และดำรงชีพ ด้วยการปลูกฝิ่นและบุกรุกป่าเพื่อปลูกข้าวโพดบนพื้นที่ทำกินถือครองสืบทอดจากบรรพบุรุษ กระทั่งในปีพ.ศ. 2552 สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด รายงานว่า ชาวบ้านเลอตอ หันไปปลูกฝิ่นมากถึง 204 ไร่ ต่อมาในปีพ.ศ.2558-2559 อัตราการปลูกฝิ่นเพิ่มขึ้นเป็น 355.69 ไร่ รวมทั้งมีการบุกรุกพื้นป่าสงวน เพื่อปลูกข้าวโพดอย่างต่อเนื่องบนพื้นที่ภูเขาสูง   ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ สานต่อพระบรมราชชนก

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ สานต่อพระบรมราชชนก

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ สานต่อพระบรมราชชนก

มูลนิธิโครงการหลวง จึงเข้ามาพัฒนาชุมชนเมื่อเดือนกันยายน ปีพ.ศ. 2559 จัดตั้งเป็นศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ เพื่อสร้างอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าว รวมทั้งกรมพัฒนาที่ดิน กรมชลประทาน กรมทางหลวงชนบท การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และสำนักงานจังหวัดตาก ร่วมกันสำรวจและกำหนดแผนการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม ควบคู่ไปกับการพัฒนาปัจจัยพื้นฐาน เพื่อให้ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ นำมาเป็นข้อมูลมาวางแผนบริหารจัดการด้านต่างๆ การเกษตรเพื่อสร้างรายได้และทำกิน

ส่วนการเกษตรกรรม มูลนิธิโครงการหลวง ส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารด้วยการสนับสนุนเพาะปลูกข้าวไร่ ปลูกผักที่เป็นพืชระยะสั้นในโรงเรือน โดยเกษตรเป็นผู้เลือกพืชผลที่ได้รับสายพันธุ์พืชมาจากโครงการหลวงอ่างขาง ได้แก่ กะหล่ำปลี ผักกาดขาวปลี คะน้าฮ่องกง เบบี้ฮ่องเต้ กวางตุ้งต้น มะเขือม่วงก้านเขียว ฟักทองญี่ปุ่น ถั่วฟักยาว พริกกะเหรี่ยง แตงกวา เคพกูสเบอรี่ อโวคาโด สตรอว์เบอร์รี่ มะม่วง กาแฟ ลิ้นจี่ นำมาเพาะปลูกเองตามความถนัด โดยจัดสรรแปลงที่ดินที่มีอยู่อย่างจำกัดแต่ให้ได้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งเสาวรส นับเป็นพืชที่มีความโดดเด่นในเรื่องรสชาติ จึงได้รับความนิยมปลูกโดยชาวบ้านมากที่สุด

เมื่อผักผลไม้พร้อมเก็บเกี่ยวในช่วงฤดูหนาวหรือฤดูแล้ว จะจัดต่อไปยังโรงคัดบรรจุ ก่อนส่งจำหน่ายผ่านฝ่ายการตลาดโครงการหลวง รวมทั้งร้านอาหาร โรงเรียนและโรงพยาบาลในอำเภอแม่ระมาด จังหวัดตากและจังหวัดกรุงเทพมหานคร รวมทั้งงานด้านปศุสัตว์ งานจักสานและหัตถกรรม นับเป็นอีกงานที่ได้รับการสนับสนุนการทำงานของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง 

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ สานต่อพระบรมราชชนก

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ สานต่อพระบรมราชชนก

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ สานต่อพระบรมราชชนก

ต่อมา เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566 ในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงเปิดศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวง “ชนกาธิเบศรดำริ” ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวง ชนกาธิเบศรดำริ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 

ในการนี้ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ เจ้าหน้าที่โครงการหลวงเลอตอ อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ชาวบ้านและเกษตรกรชาวไทยภูเขาเผ่าปกาเกอะญอซึ่งได้รับประโยชน์​จากโครงการฯ ร่วมเฝ้าทูลละอองธุลี​พระ​บาท​ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ พร้อมกันนี้ทรงโบกพระหัตถ์แย้มพระสรวลทักทายชาวบ้านและเกษตรกรชาวไทยภูเขาเพื่อพระราชทานขวัญและกำลังใจ สร้างความปลื้มปิติแก่พสกนิกรอย่างหาที่สุดมิได้

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ สานต่อพระบรมราชชนก

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ สานต่อพระบรมราชชนก

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ สานต่อพระบรมราชชนก ด้วยพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการสืบสาน รักษาและต่อยอด บ้านเลอตอที่เคยได้ชื่อว่าเป็นแหล่งปลูกฝิ่นและบุกรุกป่าสงวนเพื่อปลูกข้าวโพดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ปัจจุบัน การแก้ปัญหายาเสพติดนับตั้งแต่ก่อตั้งศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ มีการปลูกฝิ่นลดลงกว่า 98% พื้นที่เขาหัวโล้นปรับเปลี่ยนไปสู่พื้นที่สีเขียว และศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ จัดทำแปลงทดสอบสาธิตการปลูกพืช และศึกษาการเจริญเติบโตของพืชภายใต้สภาพแวดล้อมบริเวณศูนย์ฯ เพื่อคัดเลือกชนิดพืชที่มีความเหมาะสมส่งเสริมแก่เกษตรกร ภายใต้ระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ สามารถสร้างรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีแก่เกษตรกรในพื้นที่ 

นอกจากนี้ยังสนับสนุนการฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรวมทั้งส่งเสริมการปลูกป่า ตามแนวพระราชดำริ ให้ชาวบ้านอยู่ร่วมกับป่าอย่างสมดุล ภายใต้บริบทของชุมชน ส่งผลให้หมู่บ้านเลอตอเป็นสังคมที่เข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน 

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ สานต่อพระบรมราชชนก

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ สานต่อพระบรมราชชนก

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ สานต่อพระบรมราชชนก

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ สานต่อพระบรมราชชนก

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ สานต่อพระบรมราชชนก