เจาะร่างงบฯ กทม.ยุค "ชัชชาติ" ปี 66 วงเงิน 7.9 หมื่นล้าน เขตไหนได้เท่าไหร่
เปิดรายละเอียดร่างงบประมาณ กทม.ยุค "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" ประจำปี 2566 วงเงิน 7.9 หมื่นล้าน เขตไหนได้มากที่สุด เช็คที่นี่!
ภายหลังเว็บไซต์หน่วยงานกรุงเทพมหานคร(กทม.) และสภา กทม.ได้เปิดเผย “ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีพ.ศ.2566” วงเงิน 79,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการเปิดเผยร่างข้อบัญญัติงบประมาณ เป็นไปตามนโยายนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯกทม.
สำหรับ ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2566 วงเงิน 79,000 ล้านบาท โดยในร่างงบปี 2566 ถูกแบ่งออกเป็น 6 ด้าน ประกอบด้วย
1.งบบุคลากร 17,568 ล้านบาท (36.27%)
2.งบดำเนินงาน 17,701 ล้านบาท (17.96%)
3.งบรายจ่ายอื่น 13,703 ล้านบาท (17.27%)
4.งบลงทุน 10,383 ล้านบาท (16.63%)
5.งบเงินอุดหนุน 5,272 ล้านบาท (6.68%)
6.งบกลาง 14,370 ล้านบาท (13.76 %)
อ่านประกอบ : ผ่าร่างงบฯ กทม.ปี 66 ยุค "ชัชชาติ" 7.9 หมื่นล้าน หน่วยงานใดได้จัดสรรมากที่สุด
นอกจากนี้ หากแบ่งงบประมาณทั้ง 9 ด้าน จะพบว่าร่างฯงบประมาณปี 2566 ถูกแบ่งสัดส่วนต่างๆ ประกอบด้วย
1.ด้านการจัดบริการของสำนักงานเขต 50 เขต 18,865 ล้านบาท (23.88%)
2.ด้านการบริหารจัดการและบริหารราชการกรุงเทพมหานคร 16,282 ล้านบาท (20.61%)
3.ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 11,090 บาท (14.04%)
4.ด้านเมืองและการพัฒนาเมือง 11,072 ล้านบาท (14.01%)
5.ด้านสาธารณสุข 2,417 ล้านบาท (3.06%)
6.ด้านพัฒนาสังคมและชุมชนเมือง 944 ล้านบาท (1.20%)
7.ด้านการศึกษา 644 ล้านบาท (0.81%)
8.ด้านเศรษฐกิจและการพาณิชย์ 194 ล้านบาท (0.25%)
9.ด้านความปลอดภัยและความเป็นระเบียบเรียบร้อย 166 ล้านบาท (0.21%)
ทั้งนี้ หากแยกย่อย "สำนักงานเขต" ที่ได้รับงบประมาณของ กทม.ที่ได้รับจัดสรรงบประมาณจากมากที่สุดถึงน้อยที่สุด มีดังนี้
1.สำนักเขตหนองจอก 552,561,400 บาท
2.สำนักเขตลาดกระบัง 548,625,200 บาท
3.สำนักเขตบางขุนเทียน 498,278,700 บาท
4.สำนักเขตจตุจักร 495,825,600 บาท
5.สำนักเขตประเวศ 458,198,500 บาท
6.สำนักเขตบางกะปิ 448,938,900 บาท
7.สำนักเขตคลองสามวา 436,119,000 บาท
8.สำนักเขตมีนบุรี 428,982,700 บาท
9.สำนักเขตบางแค 422,225,700 บาท
10.สำนักเขตพระนคร 417,350,100 บาท
11.สำนักเขตหนองแขม 394,195,600 บาท
12.สำนักเขตจอมทอง 386,308,300 บาท
13.สำนักเขตสายไหม 382,963,300 บาท
14.สำนักเขตบางเขน 380,785,700 บาท
15.สำนักเขตดอนเมือง 370,012,700 บาท
16.สำนักเขตธนบุรี 368,577,900 บาท
17.สำนักเขตปทุมวัน 368,161,600 บาท
18.สำนักเขตสวนหลวง 367,604,900 บาท
19.สำนักเขตดุสิต 366,212,100 บาท
20.สำนักเขตบางกอกน้อย 364,203,900 บาท
21.สำนักเขตทวีวัฒนา 354,378,600 บาท
22.สำนักเขตภาษีเจริญ 350,186,200 บาท
23.สำนักเขตคลองเตย 348,985,200 บาท
24.สำนักเขตดินแดง 342,924,800 บาท
25.สำนักเขตลาดพร้าว 342,747,900 บาท
26.สำนักเขตตลิ่งชัน 339,581,400 บาท
27.สำนักเขตทุ่งครุ 339,155,800 บาท
28.สำนักเขตบึงกุ่ม 331,776,700 บาท
29.สำนักเขตวัฒนา 331,516,100 บาท
30.สำนักเขตบางบอน 329,629,700 บาท
31.สำนักเขตห้วยขวาง 326,282,200 บาท
32.สำนักเขตหลักสี่ 326,216,100 บาท
33.สำนักเขตราชเทวี 313,468,200 บาท
34.สำนักเขตบางซื่อ 299,844,600 บาท
35.สำนักเขตสะพานสูง 298,943,600 บาท
36.สำนักเขตคลองสาน 297,660,600 บาท
37.สำนักเขตบางคอแหลม 293,841,300 บาท
38.สำนักเขตราษฎร์บูรณะ 293,458,600 บาท
39.สำนักเขตบางพลัด 293,200,400 บาท
40.สำนักเขตพญาไท 292,258,100 บาท
41.สำนักเขตบางนา 288,638,700 บาท
42.สำนักเขตยานนาวา 276,513,500 บาท
43.สำนักเขตคันนายาว 272,905,200 บาท
44.สำนักเขตวังทองหลาง 270,702,800 บาท
45.สำนักเขตสาทร 249,968,200 บาท
46.สำนักเขตพระโขนง 249,406,400 บาท
47.สำนักเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย 240,571,800 บาท
48.สำนักเขตบางกอกใหญ่ 239,277,100 บาท
49.สำนักเขตบางรัก 231,267,100 บาท
50.สำนักเขตสัมพันธวงศ์ 189,902,700 บาท
สำหรับ การพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2566 ผู้ว่าฯ กทม.จะนำเข้าสู่วาระการประชุมสภา กทม.ใน วันที่ 6 ก.ค.นี้