“กทม.”จ่อประกาศพื้นที่ภัยพิบัติเพิ่ม-เร่งเยียวยาผู้ประสบภัย2หมื่นคน
“กทม.”เล็งประกาศพื้นที่ภัยพิบัติเพิ่ม-เร่งเยียวยาผู้ประสบภัยกว่า2หมื่นคน คาด “ลาดกระบัง” หากฝนไม่ตก ไม่เกิน 7 วันน้ำลด ย้ำไม่ทิ้งประชาชน
วันนี้ ผศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร และนายเอกวรัญญู อัมระปาล โฆษก กทม. ร่วมกันแถลงข่าวสถานการณ์น้ำในพื้นที่ และการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ โดย นายเอกวรัญญู กล่าวว่า ตลอดสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ฝนตกเกิน 100 ล้านลูกบาศก์เมตรทั้งกทม.
ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบันต้องแบ่งเป็น2ส่วน คือ กลุ่มเขตหลักสี่เขตดอนเมือง เขคบางเขน น้ำสูงสุดที่คลองเปรมประชากร 1.56เมตร ปัจจุบันเหลือ 1เมตแล้ว และบางเขนในซอยต่างๆลดลงเกือบหมดแล้วเช่นกัน ทั้งนี้คาดว่า ถ้าฝนไม่ตกอีก 2-3วัน จะเข้าสู่สภาวะปกติ
ส่วนที่ 2 คือ เขตลาดกระบัง เขตประเวศ เขตหนองจอก สถานการณ์น้ำลดลงไปประมาณ 50เซนติเมตร อยู่ในสถานการณ์ที่ดีขึ้น ซึ่งเมื่อวันที่ 14 ก.ย. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี นายขัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่ากทม. ลงพื้นที่ไปหนองจอก และทำให้เห็นว่าระดับน้ำเริ่มลดระดับ โดยผู้ว่ากทม.ได้ขอให้กอนช. ทำทางด่วนน้ำ ตัดไปออกจ.ฉะเชิงเทราได้
“ผู้ว่ากทม. ได้ตัดสินใจ เปิดประตูน้ำลาดกระบัง และกระทุ่มเสือปลา ทำให้น้ำลดลงอย่าวรวดเร็ว คาดว่าไม่เกิน7วัน ถ้าฝนไม่ตกเพิ่ม น้ำจะลดลงทั้งหมด ทำให้มองว่าสถานการณ์น้ำในช่วงนี้ บริเวณรอบนอกน่าจะดีขึ้น”
สำหรับปัจจุบันน้ำสถานการณ์น้ำเหนือผ่านบางไทรมา ยังอยู่ในระดับที่รับได้ ทำให้ไม่มีอะไรที่น่าเป็นกังวล ซึ่งพื้นที่ฟันหลอริมแม่น้ำเจ้าพระยาทั้ง17เขต ได้ให้สำนักเขตเตรียมเฝ้าระวังไว้ก่อน
ผศ.ดร.ทวิดา กล่าวว่า สถานการณ์ที่ผ่านมา กทม.พยายามปรับให้มีศูนย์กลางของข้อมูล เมื่อเขตทราบข้อมูลว่าจะมีฝนตกหนักในพื้นที่ หน่วยทุกหน่วยของกทม.จะออกไปเตรียมพร้อมก่อน และได้ให้การช่วยเหลือต่างๆ ทั้งการอำนวยความสะดวกประช่ชน และการประสานอำนวยความสะดวกจราจร และอำนวยความสะดวกทางสัญจรรวมถึงมีการทำสุขาชั่วคราวในการช่วยให้มีเครื่องมือทางสุขอนามัยเพิ่มขึ้น รวมถึงการทำถุงยังชีพ
ส่วนการช่วยเหลือเยียวยา ขณะนี้สำนักงานเขตกำลังทำข้อมูลทั้งหมดเพื่อเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ และการประกาศพื้นที่สาธารณะภัยเพิ่มเติม โดยยืนยันว่า ไม่ได้ประกาศพื้นที่สาธารณภัยเพื่อให้เกิดความวิตก แต่เพื่อให้เป็นไปตามข้อบัญญัติของกทม.ในการให้ความช่วยเหลือ ซึ่งเดิม กทม.สามารถเยียวยาตามเกณฑ์ได้ แต่การประสานขอความช่วยเหลือเพิ่มเติมในการประดาศเขตภัยพิบัตินั้น แม้จะได้รับการเยียวยา แต่ต้องไม่ซ้ำประเภทกัน
สำหรับกรณีที่พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ลงพื้นที่เขตบาดกระบังเมื่อวานนี้ช่วยทำให้การประสานงานเร็วขึ้นด้วยหรือไม่นั้น ผศ.ดร.ทวิดา กล่าวว่า การประสานงานกับ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ดำเนินการมากว่า2สัปดาห์แล้ว แต่การมาของพล.อ.อนุพงษ์เพื่อให้เห็นว่า ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญ ส่วนเกณฑ์เยียวยาไม่ได้พึ่งเกิดขึ้นแต่มีอยู่เดิมมาก่อนแล้ว และก่อนหน้านี้ใช้ทรัพยากรของกทม.เป็นหลัก
นายเอกวรัญญู กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา กทม.โดนวิพากวิจารณ์เยอะพอสมควร จึงต้องชี้แจงว่าเกิดอะไรขึ้น รวมถึงกรณีพื้นที่เขตลาดกระบัง กทม. ก็มีการดูแลมาตลอดไม่ใช่เราไม่ได้ดูแลเลย และยืนยันว่า จะหาทุกช่องทางช่วยเหลือประชาชนให้ดีที่สุด และให้ความมั่นใจว่า กทม.ไม่ทิ้งประชาชนแน่นอน
สำหรับพื้นที่ประสบอุทกภัยที่จะประกาศเป็นพื้นที่สาธารณะภัย ทั้งหมด6พื้นที่ ประกอบด้วย แขวงลาดกระบัง แขวงคลองสองต้นนุ่น แขวงคลองสามประเวศ แขวงขุมทอง แขวงทับยาว และแขวงลำปลาทิว มีประชาชนได้รับความเสียหายจากอุทกภัย 10,300หลังคาเรือน มีประชากรทั้งหมด 20,767คน รวมถึงพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 1,322ไร่ แบ่งเป็นนาข้าว 800ไร่ สวนผักและผลไม้ 22ไร่ และบ่อปลาอีก 500ไร่