ตลาดการเมือง‘พรรคเล็ก-น้องใหม่’ ปรับทัพ‘หนีตาย-เพิ่มอำนาจต่อรอง’

ตลาดการเมือง‘พรรคเล็ก-น้องใหม่’  ปรับทัพ‘หนีตาย-เพิ่มอำนาจต่อรอง’

ฐานข้อมูลพรรคการเมือง มี 85 พรรค ที่ดำเนินกิจการอยู่ แต่พรรคไหนจะได้ส.ส.เข้าสภาฯ หรือไม่ ขึ้นอยู่กับกลเกมที่หนีตายกติกาเลือกตั้งที่เปลี่ยนไป และเพื่อ เพิ่มอำนาจต่อรองทางการเมือง ยามที่ขั้วอำนาจกำลังผลัดใบ

 

          “กติกาการเมือง” ที่จะใช้ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป ไม่ว่าจะเป็นร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ(พ.ร.ป.)ว่าด้วยพรรคการเมืองและร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.ยังต้องรอลุ้น คำวินิจฉัยของ ศาลรัฐธรรมนูญ ที่จะชี้ขาดช่วงไม่เกินกลายเดือนพ.ย.นี้

 

          ทว่าสิ่งที่จะต้องจับตา คือ เนื้อหาของร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ซึ่งมีไฮไลท์สำคัญอยู่ที่ “สูตรคำนวณส.ส.บัญชีรายชื่อ” ที่จะเป็นจุดชี้ชะตา “นักการเมือง” โดยเฉพาะบรรดาพรรคเล็ก ซึ่งรอบที่แล้วถูกเรียกขานว่าเป็น “พรรคปัดเศษ” ว่าจะมีโอกาสการได้กลับมาสู่สภาฯ อีกครั้งหรือไม่

 

          ในการเลือกตั้งปี 2562 มีพรรคการเมืองที่ได้ ส.ส.เข้าสภา ทั้งสิ้น 26 พรรคกาเมือง จำนวนนี้พบว่าเป็น “ส.ส.” ปัดเศษ คือ ได้รับคะแนนเลือกตั้งต่ำกว่า ส.ส.พึงมี ถึง 11 พรรค ได้แก่ พรรคประชาภิวัฒน์ ของ สมเกียรติ ศรลัมพ์ , พรรคเพื่อชาติไทย (เดิมคือ พรรคพลังไทยรักไทย) ของ คฑาเทพ เตชะเดชเรืองกุล , พรรคไทยศรีวิไลย์ ของ มงคลกิตติ์ สุขสินธรานนท์ , พรรคครูไทยเพื่อประชาชน ของ ปรีดา บุญเพลิง, พรรคพลเมืองไทย ของ สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์, พรรคประชาธิปไตยใหม่ ของ สุรทิน พิจารณ์, พรรคพลังธรรมใหม่ ของ นพ.ระวี มาศฉมาดล, พรรคไทรักธรรม ของพีระวิทย์ เรื่องลือดลภาค ปัจจุบันถูกศาลรัฐธรรมนูญ สั่งยุบพรรค

 

          พรรคประชานิยม ของ พล.ต.อ.ยงยุทธ เทพจำนง , พรรคประชาชนปฏิรูป ของ ไพบูลย์ นิติตะวัน , พรรคประชาธรรมไทย ของ พิเชษฐ์ สถิรชวาล ซึ่งทั้ง 3 พรรคนี้ สิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมืองและ 3ส.ส.ย้ายไปสังกัดกับพรรคพลังประชารัฐ

ตลาดการเมือง‘พรรคเล็ก-น้องใหม่’  ปรับทัพ‘หนีตาย-เพิ่มอำนาจต่อรอง’

          ต้องยอมรับว่า การเลือกตั้งรอบที่แล้วบรรดาพรรดาพรรคเล็กเข้าสภา ด้วยอานิสงส์ของ กติกา “บัตรเลือกตั้งใบเดียว” และระบบคำนวณแบบสัดส่วนผสม ที่มีเจตนารมณ์ ให้เคารพทุกเสียงของผู้สิทธิเลือกตั้ง ไม่ให้ถูก “ทิ้งตกน้ำ”

 

          แต่ทว่า เวลานี้เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าในการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่ช้าไม่นานหลังจากนี้ จะมีการนำ  “บัตร2ใบ” เลือกคนที่รัก-เลือกพรรคที่ชอบ  ส่วนระบบคำนวณนั้น ใช้แบบเติมเต็ม โดยยึดฐานคะแนนเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อทั้งประเทศ เป็นตัวคำนวณหลัก

 

          เมื่อกติกาไม่เอื้อให้ คิดคะแนนแบบ “ปัดเศษ”  ทางรอดของพรรคปัดเศษ ที่มีในตอนนี้ คือ การหาสังกัดพรรคใหม่

 

          ล่าสุดเป็นที่แน่ชัด แล้วว่า “ส.ส.ปัดเศษ” ที่จะย้ายไปสังกัดพรรคใหม่นั้น ประกอบด้วย “พรรคประชาภิวัฒน์” โดย นันทนา สงฆ์ประชา ส.ส.บัญชีรายชื่อ จะย้ายไป ภูมิใจไทย, พรรคพลเมืองไทย โดย ศิลัมพา เลิศนุวัฒน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ จะย้ายเข้าสังกัดพรรคเพื่อไทย

ตลาดการเมือง‘พรรคเล็ก-น้องใหม่’  ปรับทัพ‘หนีตาย-เพิ่มอำนาจต่อรอง’

          ขณะที่ พรรคครูไทยเพื่อประชาชน, พรรคประชาธิปไตยใหม่, พรรคไทยศรีวิไลย์, พรรคเพื่อชาติ และ พรรคพลังธรรมใหม่ ยังมั่นใจในฐานเสียงและพร้อมลุยทำการเมืองในนามพรรคของตัวเองต่อไป เนื่องจากประเมินตามกติกาแล้ว เชื่อว่าคะแนนนิยมของพรรค จะเกินเส้น “ส.ส.พึงมี” ที่คาดว่าสูตรหาร100 นั้น ส.ส.บัญชีรายชื่อหนึ่งคนต้องได้คะแนน 3.5แสนคะแนน

 

          ไม่ต่างไปจากขนาดย่อมอย่าง “พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย” ของ “ดำรงค์ พิเดช” ที่เป็นผู้ก่อตั้ง ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น พรรคโอกาสไทย และส่งไม้ต่อให้ “มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์” บุรุษที่เคยปั้น พรรคเศรษฐกิจไทย ส่ง 6 ส.ส.เข้าสภา

 

          ขณะที่เจ้าตัวมีท่าทีจะพักงานการเมือง แต่ปัจจุบันยังทำงานการเมืองในพื้นที่ภาคกลาง ให้กับ พรรคพลังประชารัฐ ร่วมกับ “พิเชษฐ สถิรชวาล”

 

 

          ส่วน “พรรคชาติพัฒนา”  ของ “สุวัจน์ ลิปตพัลลภ” ที่จับมือกับ “กรณ์ จาติกวณิช” อดีตหัวหน้าพรรคกล้า พรรคน้องใหม่และเปลี่ยนชื่อเป็น “ชาติพัฒนากล้า” พร้อมชูสโลแกน “กล้าพัฒนาชาติ” พร้อมปรับโครงสร้างบริหาร ให้ “กรณ์” เป็นแม่ทัพแนวหน้า ขณะที่ “สุวัจน์” เป็นหางเสือคุมงานอยู่เบื้องหลัง

ตลาดการเมือง‘พรรคเล็ก-น้องใหม่’  ปรับทัพ‘หนีตาย-เพิ่มอำนาจต่อรอง’

          โดยการปรับทัพของ “พรรคชาติพัฒนากล้า” ครั้งนี้ ปฏิเสธไม่ไว้ว่า เพื่อหนีตายกติกาเลือกตั้ง และการกู้หน้า ฟื้นสถานะ "คนชาติพัฒนา” ให้กลับมายิ่งใหญ่ หลังจากที่ในการเลือกตั้ง ปี2562 ถือเป็นยุคที่ตกต่ำที่สุด

 

          ส่วนพรรคที่ตั้งขึ้นใหม่ และยังไม่ผ่านศึกเลือกตั้ง มีโมเดล “พรรคกล้า” ไว้ในใจ ทั้ง “สร้างอนาคตไทย” ของ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์-อุตตม สาวนายน, “พรรคไทยสร้างไทย” ของ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ ที่แกนนำทั้ง2ฝ่าย ไม่ปฏิเสธถึงการพูดคุย เพียงแต่ขอรอดูความชัดเจนของกติกาเลือกตั้งที่กำลังจะออกมาในเร็ววัน 

ตลาดการเมือง‘พรรคเล็ก-น้องใหม่’  ปรับทัพ‘หนีตาย-เพิ่มอำนาจต่อรอง’

          ยิ่งไปกว่านั้นยังมีความพยายาม “เปิดดีล” ไปยัง พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย เพื่อขอความนิยมเฉพาะตัว “เสรีพิศุทธ์” มาดึงคะแนนพรรคตระกูล “ส.” แต่ติดเงื่อนไขบางประการจึงทำให้ดีลยังไม่ลงตัวในเวลานี้ แต่หากเป็นช่วงใกล้เลือกตั้งที่ฝุ่นควันการเมืองเริ่มครุกรุ่นก็ต้องไปลุ้นกันอีกยก 

ตลาดการเมือง‘พรรคเล็ก-น้องใหม่’  ปรับทัพ‘หนีตาย-เพิ่มอำนาจต่อรอง’

          ไม่ต่างไปจาก “พรรครวมไทยสร้างชาติ”  ของ “พีรพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค” ที่แม้เจ้าตัวจะออกมาปฏิเสธเสียงแข็งไม่ใช้พรรคอะไหล่ของใคร แต่จุดยืนของพรรคชัดเจนแล้วว่า จะยังคงสนับสุนน “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และต้องจับตาการเปิดดีลกับพรรคการเมืองอื่นๆ ที่มีจุดยืนสนับสนุน “บิ๊กตู่” เพื่อสร้างจุดแข็งในการสู้ศึกเลือกตั้งครั้งต่อไป

 

          ฐานข้อมูลพรรคการเมือง ที่ กกต.​เก็บรวบรวม ล่าสุด พบว่ามีพรรคการเมืองที่ดำเนินการอยู่ ทั้งสิ้น 85 พรรค แต่ด้วยกติกาเลือกตั้งที่เปลี่ยนไป และเอื้อให้พรรคการเมืองใหญ่คว้าชัยในการเลือกตั้ง ต้องจับตาเมื่อไทม์ไลน์เลือกตั้งนับหนึ่ง จะมีพรรคไหนโยกย้าย เพื่อหนีตากติกากติกาเลือกตั้ง อีกหรือไม่

 

          โดยผลลัพท์ของการจับมือรวมตัวครั้งนี้ คงหนีไม่พ้น การเพิ่มอำนาจต่อรองทางการเมือง ในยามที่ขั้วอำนาจกำลังผลัดใบ และส่อเค้าเปลี่ยนมือ.