“วรนัยน์”โพสต์เตรียมหาสังกัดพรรคใหม่-หลังลาออกหัวหน้ารวมไทยยูไนเต็ด

“วรนัยน์”โพสต์เตรียมหาสังกัดพรรคใหม่-หลังลาออกหัวหน้ารวมไทยยูไนเต็ด

“วรนัยน์”โพสต์เตรียมหาสังกัดพรรคใหม่-หลังออกหัวหน้ารวมไทยยูไนเต็ด ย้ำต้องมีจุดยืน หนุนกระจายอำนาจ ให้โอกาสคนรุ่นใหม่ ไร้ขั้วการเมือง

นายวรนัยน์ วาณิชกะ หัวหน้าพรรครวมไทยยูไนเต็ด เปิดใจผ่านเฟซบุคส่วนตัว โดยระบุว่า หลังจากได้ตรึกตรองมาซักระยะ จึงได้ตัดสินใจดำเนินการลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรครวมไทยยูไนเต็ด แต่ไม่ได้หมายความว่าจะวางมือจากการเมือง แต่เป็นการเลือกที่จะหาที่อยู่ใหม่เพื่อเดินเส้นทางเดิม นั่นคือ เส้นทางสู่การกระจายอํานาจในสองปัจจัยหลัก หนึ่งคือ สิทธิมนุษย์ชนในความเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย ไม่ใช่อภิสิทธิ์ที่กระจุกอยู่ในมือคนกลุ่มน้อย สองคือ โอกาสทางเศรษฐกิจของประชาชนทุกคน ไม่ใช่กระจุกความมั่งคั่งในมือของกลุ่มคนไม่ถึง 1% ของประเทศ

นายวรนัย กล่าวอีกว่า หลักการของการขับเคลื่อนเส้นทางนี้คือ คน “รุ่นใหม่” ซึ่งไม่ได้หมายถึงอายุ แต่คือความคิด โลกนี้มีทั้งคนอายุ 70 ที่มีความคือทันสมัย และคนอายุ 20 ที่มีความคือดึกดำบรรพ์ เป็นเส้นทางที่ก้าวสู่อนาคตโดยไม่ทิ้งอดีตไว้ข้างหลัง เพราะไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ ใส่เสื้อสีใด เป็นติ่งขั้วไหน อนุรักษ์นิยมหรือเสรีนิยม ประเทศเราขับเคลื่อนไปข้างหน้าไม่ได้ 

ทั้งนี้หากเราไม่ร่วมกันวิวัฒนาการ เป็นเส้นทางที่ปูโดยหลักการของประชาธิปไตย ซึ่งควรเป็นบรรทัดฐานในการหาฉันทามติร่วมกันในทุกข้อขัดแย้งของสังคม ผมได้มีการพูดคุยเบื้องต้นกับบางพรรคการเมือง ซึ่งกําลังพิจารณาดูว่า พรรคใดยินดีให้โอกาสกับจุดยืนและนโยบายที่ได้พูดถึงในช่วงเวลาเพียงแค่ 1 ปี ของเส้นทางการเมืองของตน (ก่อนหน้านี้เป็นสื่อมวลชนและอาจารย์มหาวิทยาลัย)

นายวรนัย ระบุว่า พรรคการเมืองที่จะตัดสินใจร่วมเดินทางด้วย คือพรรคที่ยืนดีเปิดรับจุดยืนและนโยบายที่เป็น Center Left หรือ กลางซ้าย กลาง คือการวิวัฒนาการร่วมกันทั้งประเทศ ไม่ใช่ไปเพียงแค่ขั้วเดียว ซึ่งเป็นบทเรียนอันซ้ำซากในประวัติศาสตร์ของเรา สองขั้วชักกะเย่อกันจนโดนรถถังชนล้มทั้งประเทศ แต่หากเราจับมือร่วมกัน รถถังก็จะไม่มีข้ออ้างเข้ามา 
 

“ไม่ใช่การจับมือกันโดยผู้ใหญ่จูงมือผู้น้อย เดินตามหลังอย่างไม่มีปากมีเสียง แต่เป็นการจับมือกันโดยมีศักดิศรีของความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน ซ้าย คือการปฏิรูปโครงสร้างประเทศ ไม่ใช่ยึดติดกับความเหมือนเดิม เพราะปัญหาของประเทศเรา คือโครงสร้างอำนาจที่กระจุก”

นายวรนัย ระบุต่อว่า เพราะฉะนั้น จุดยืนของการเข้าร่วมกับพรรคการเมืองของตนคือ หากเข้าไปในสภา จะยกมือให้กับแคนดิเดตนายกที่มาจากเสียงข้างมากของประชาชนเท่านั้น ไม่ใช่จาก ส.ว. นโยบายปฏิรูปโครงสร้างอำนาจการเมืองคือ เลือกตั้งผู้ว่าทั่วประเทศ ไม่ใช่แค่ในพื้นที่ปกครองพิเศษ เพราะคำว่า “พิเศษ” นั่นแหละ คือความอภิสิทธิ์ คือความเหลื่อมลํ้า ประชาชนในทุกจังหวัดต้องมีความเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย เลือกผู้ว่าของตน ไม่ใช่ระบบ “นายสั่งมาให้คุม” 

และผู้ว่าจะต้องมีอำนาจในการบริหารอย่างแท้จริง ไม่ใช่เลือกแล้วก็ต้องมานั่งเป็นลูกหม้อให้รัฐบาลกลาง เลือกงบประมาณของตน ไม่ใช่ส่งส่วยภาษี 100% ให้นาย แล้วมานั่งภาวนาว่านายจะปัดเศษให้พอกินพอใช้ พร้อมแนบใบสั่งว่าจะต้องทำอะไร รัฐบาลกลางเป็นผู้ประสานงาน ไม่ใช่เจ้านาย ทั้งสองสิ่งนี้ คือสิทธิอำนาจทางการเมืองที่จะกำหนดอนาคตของตน
 
โดยนโยบายปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจที่กระจุกอยู่ในกรุงเทพ ไม่ใช่นโยบายกู้เงินมาแจกจนถังแตกทั้งประเทศ แต่เป็นการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ สร้างงาน สร้างเงิน เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง คือ คาสิโนเสรี จุดประสงค์ไม่ใช่การพนัน แต่คือการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ท่องเที่ยวจะโตก็ต้องมีสิ่งดึงดูดใหม่ฯ ไม่ใช่เที่ยวของเดิม เศรษฐกิจจะก้าวกระโดดก็ต้องมีอุตสาหกรรมใหม่ฯ ไม่ใช่ขายแต่ของเดิม คุณภาพชีวิตจะพัฒนาเทียบเท่าประเทศที่พัฒนาแล้ว ก็ต้องมีเงินใหม่อันมหาศาลเข้ามาสะพัดในระบบ  ไม่ใช่แตกแบ๊งค์เงินเก่า
 

ซึ่งเงินภาษีคาสิโนเข้าจังหวัด เอามาพัฒนาโรงเรียน โรงพยาบาล ถนนหนทาง ไม่ต้องรอขอจากรัฐกลาง ส่วนแบ่งภาษีของรัฐบาลกลาง เอามาตั้งกองทุนสตาร์ทอัพให้นักศึกษาพึ่งจบ และเพิ่มงบในกองทุนเบี้ยเลี้ยงผู้สูงอายุ สรุปคือ ขับเคลื่อนอนาคตของประเทศพร้อมกับดูแลพ่อแม่ของเรา จะเป็นบาปหรือเป็นบุญ ให้ประชาชนในพี้นที่ตัดสินใจ ประชามติว่าควรทำหรือไม่ขึ้นอยู่กับประชาชนในแต่ละจังหวัด แต่ไม่ได้หมายความว่ามีได้ทุกจังหวัด ไม่เกินสามพื้นที่ทั่วประเทศ ยุทธศาสตร์แต่ละภูมิภาค 

“ที่แน่ฯไม่ต้องทำในหรือใกล้กรุงเทพ ทั้งประชากรและเศรษฐกิจกระจุกแออัดพอแล้ว สร้างงาน สร้างเงินที่อื่น สร้างโอกาสให้คนกระจายออกจากเมืองหลวง นโยบายเศรษฐกิจต้องพลิกโฉม ไม่ใช่ประชาชนมีเงิน 5 บาท แจกให้อีก 1 บาท แต่ก็ยังจนอยู่ดี” 

นโยบาย Soft Power สิ่งแรกที่ควารเข้าใจ Soft Power เป็นกระบวนการของการเมืองระหว่างประเทศตามขั้นตอนด้งนี้ : ส่งออกวัฒนธรรมร่วมสมัย หากชาวโลกลุ่มหลง มันก็จะต่อยอดสู่ความเชื่อมั่นในแบรนด์สินค้า และส่งผลให้ภาพพจน์ของประเทศและอำนาจในการต่อรองบนเวทีโลก ฮอลลีวู้ด J-Pop K-Pop คือเครื่องมือ Soft Power ที่ช่วยให้อเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ประสบความสำเร็จบนเวทีโลก

เพราะฉะนั้น Soft Power ของไทยคืออะไร ที่แน่ ๆ ไม่ใช่ข้าวเหนียวมะม่วง ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์และไม่ใช่บุคคล คำถามคือ ชีพจรของชาวโลกต้องการอะไร คำตอบคือ วัฒนธรรม LGBTQ+ ร่วมสมัยของไทย ซึ่งมีศักยภาพอยู่แล้วในการผลิต Series Y และวงดนตรี ที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศ ซึ่งสามารถต่อยอดไปถึงแบรนด์เศรษฐกิจโดยเฉพาะอุตสาหกรรมไลฟสไตล์และแฟชั่น

ซึ่งสามารถนำไปสู่ Bangkok Pride Parade เป็นเทศกาลระดับโลก ต่อยอดไปการท่องเที่ยว และสร้างภาพพจน์ของประเทศไทยบนเวทีโลกว่า นี่คือแบบอย่างของประเทศที่ทันสมัยและมีสิทธิ์เสรีภาพ แต่ Soft Power นี้จะทำไม่ได้ หากสมรสเท่าเทียมไม่เกิดขึ้นจริง หากเสรีภาพของประชาชนยังถูกลิดรอน

“คำถามที่ฮึกเหิมคือ พรรคการเมืองไหนทำได้ ซึ่งเป็นคำถามที่เศร้าสลดคือ มีกี่พรรคที่เข้าใจว่า Soft Power คืออะไร กระจายอำนาจ กระจายโอกาส คือจุดเป้าหมายบนเส้นทางการเมืองของให้มันเกิดในรุ่นเรา คือสโลแกนที่ควรผลักดันให้เป็นฉันทามติเพราะเราคือคนไทยทุกคน” นายวรนัยน์ กล่าว