“ประยุทธ์” ยืน1 ชายแดนใต้ คนหนุน นายกฯ ส.ส.เขต ประชาชาติ ปาร์ตี้ลิสต์ เพื่อไทย

“ประยุทธ์” ยืน1 ชายแดนใต้ คนหนุน นายกฯ ส.ส.เขต ประชาชาติ ปาร์ตี้ลิสต์ เพื่อไทย

“นิด้าโพล” เผย คนสามชายแดนใต้ หนุน “ประยุทธ์” นายกฯ 19.82% มาที่1 “วันนอร์” ตามติด 17.55% ต่อด้วย “อุ๊งอิ๊ง” 16.73% “ประวิตร” รั้งที่ 11 มีแค่ 2% “ประชาชาติ” เบอร์1 คนเลือกส.ส.เขต ด้านบัญชีรายชื่อ “เพื่อไทย” ยึด แต่ถ้าแยกรายจังหวัด คนยะลา-นราฯ เลือก พรรคแลนด์สไลด์ นำคู่แข่ง

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น นิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “คนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เลือกพรรคไหน” จากการสำรวจเมื่อถามถึง

 

บุคคลที่คนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้ พบว่า 

  • อันดับ 1 ร้อยละ 19.82 ระบุว่าเป็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) 

เพราะเป็นคนซื่อสัตย์สุจริต ทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบ ขณะที่บางส่วนระบุว่า จะได้บริหารประเทศอย่างต่อเนื่อง และชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา 

  • อันดับ 2 ร้อยละ 17.55 ระบุว่าเป็น นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ) 

เพราะมีประสบการณ์ในการทำงาน เป็นคนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และช่วยเหลือประชาชนอย่างต่อเนื่อง 

 

 

  • อันดับ 3 ร้อยละ 16.73 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) 

เพราะ ต้องการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงเข้ามาบริหารประเทศ ชื่นชอบพรรคเพื่อไทย นโยบายของพรรคที่ผ่านมาสามารถทำได้จริง และชื่นชอบผลงานในอดีตของตระกูลชินวัตร 

  • อันดับ 4 ร้อยละ 10.45 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ 
  • อันดับ 5 ร้อยละ 9.82 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) 

เพราะ เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถ กล้าคิด กล้าทำ ชื่นชอบแนวคิดและวิธีการทำงาน และชื่นชอบนโยบายของพรรคก้าวไกล 

  • อันดับ 6 ร้อยละ 5.91 ระบุว่าเป็น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์) 

เพราะสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ ชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา และชื่นชอบวิธีการทำงาน 

“ประยุทธ์” ยืน1 ชายแดนใต้ คนหนุน นายกฯ ส.ส.เขต ประชาชาติ ปาร์ตี้ลิสต์ เพื่อไทย

 

  • อันดับ 7 ร้อยละ 4.18 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) 

เพราะ เป็นคนตรงไปตรงมา พูดจริงทำจริงมีความซื่อสัตย์สุจริต ชื่นชอบรูปแบบการทำงาน และชื่นชอบนโยบายของพรรคเสรีรวมไทย 

  • อันดับ 8 ร้อยละ 3.64 ระบุว่าเป็นคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย)

 เพราะ มีประสบการณ์ในการบริหารประเทศ ชื่นชอบนโยบายของพรรคไทยสร้างไทยและต้องการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงเข้ามาบริหารประเทศ 

  • อันดับ 9 ร้อยละ 2.91 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) 

เพราะ ชื่นชอบนโยบายของพรรคภูมิใจไทย และชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา 

  • อันดับ 10 ร้อยละ 2.27 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนากล้า) 

เพราะ เป็นคนมีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์ในการบริหารประเทศ เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ และชื่นชอบนโยบายของพรรคชาติพัฒนากล้า 

  • อันดับ 11 ร้อยละ 2.00 ระบุว่าเป็น พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ)

เพราะ เป็นคนน่าเชื่อถือทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบ ขณะที่บางส่วนระบุว่า สนับสนุนพรรคพลังประชารัฐ 

  • อันดับ 12 ร้อยละ 1.36 ระบุว่าเป็น นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย) 

เพราะ ชื่นชอบนโยบายของพรรคเพื่อไทย ชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา และเป็นคนพูดจริงทำจริง

  • ร้อยละ 3.36 ระบุอื่นๆ 

ได้แก่ น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ (พรรคพลังประชารัฐ) นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม (พรรคไทยภักดี) ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ (พรรคสร้างอนาคตไทย) นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ (พรรคไทยศรีวิไลย์) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (พรรคประชาธิปัตย์) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ นายเทวัญ ลิปตพัลลภ (พรรคชาติพัฒนากล้า) นายเศรษฐาทวีสิน และไม่ตอบ/ไม่สนใจ

“ประยุทธ์” ยืน1 ชายแดนใต้ คนหนุน นายกฯ ส.ส.เขต ประชาชาติ ปาร์ตี้ลิสต์ เพื่อไทย

 

สำหรับพรรคการเมืองที่คนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต ในวันนี้ พบว่า 

  • อันดับ 1 ร้อยละ 22.64 ระบุว่าเป็น พรรคประชาชาติ 
  • อันดับ 2 ร้อยละ 19.64 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย 
  • อันดับ 3 ร้อยละ 15.27 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ 
  • อันดับ 4 ร้อยละ 12.91 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ 
  • อันดับ 5 ร้อยละ 10.73 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล 
  • อันดับ 6 ร้อยละ 4.91 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ 
  • อันดับ 7 ร้อยละ 3.82 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย 
  • อันดับ 8 ร้อยละ 3.18 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ 
  • อันดับ 9 ร้อยละ 2.36 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย 
  • อันดับ 10 ร้อยละ 1.45 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า และพรรคไทยสร้างไทย ในสัดส่วนที่เท่ากัน 
  • ร้อยละ 1.64 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเพื่อชาติ พรรคไทยภักดีพรรคเศรษฐกิจใหม่ พรรคกล้า พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรครวมพลังและพรรคสร้างอนาคตไทย

 

เมื่อพิจารณาพรรคการเมืองที่คนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต 5 อันดับแรก จำแนกเป็นรายจังหวัด พบว่า

จังหวัดปัตตานี 

  • อันดับ 1 ร้อยละ 27.68 ระบุว่าเป็น พรรคประชาชาติ 
  • อันดับ 2 ร้อยละ 17.46 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ 
  • อันดับ 3 ร้อยละ 16.71 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย 
  • อันดับ 4 ร้อยละ14.46 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ 
  • อันดับ 5 ร้อยละ 8.23 ระบุว่าเป็นพรรคก้าวไกล

จังหวัดยะลา 

  • อันดับ 1 ร้อยละ 20.07 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย 
  • อันดับ 2 ร้อยละ 18.69 ระบุว่าเป็น พรรคประชาชาติ 
  • อันดับ 3 ร้อยละ 17.30 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ 
  • อันดับ 4 ร้อยละ13.84 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล 
  • อันดับ 5 ร้อยละ 11.76 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ

จังหวัดนราธิวาส 

  • อันดับ 1 ร้อยละ 22.20 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย 
  • อันดับ 2 ร้อยละ 20.49 ระบุว่าเป็น พรรคประชาชาติ 
  • อันดับ 3 ร้อยละ 12.20 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ 
  • อันดับ 4 ร้อยละ 11.71 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ 
  • อันดับ 5 ร้อยละ 10.98 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล

 

ด้านพรรคการเมืองที่คนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ ในวันนี้ พบว่า 

  • อันดับ 1 ร้อยละ 20.64 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย 
  • อันดับ 2 ร้อยละ 19.91 ระบุว่าเป็น พรรคประชาชาติ 
  • อันดับ 3 ร้อยละ 14.73 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์
  • อันดับ 4 ร้อยละ 13.55 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ 
  • อันดับ 5 ร้อยละ 10.73 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล 
  • อันดับ 6 ร้อยละ 4.91 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ 
  • อันดับ 7 ร้อยละ 4.73 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ 
  • อันดับ 8 ร้อยละ 4.36 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย 
  • อันดับ 9 ร้อยละ 2.36 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย 
  • อันดับ 10 ร้อยละ 1.55 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย 
  • อันดับ 11 ร้อยละ 1.36 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า 
  • ร้อยละ 1.17 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคไทยภักดี พรรคเพื่อชาติ พรรคไทยศรีวิไลย์ และพรรคเศรษฐกิจใหม่

 

เมื่อพิจารณาพรรคการเมืองที่คนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชี 5 อันดับแรก จำแนกเป็นรายจังหวัด พบว่า

จังหวัดปัตตานี 

  • อันดับ 1 ร้อยละ 23.19 ระบุว่าเป็น พรรคประชาชาติ 
  • อันดับ 2 ร้อยละ 19.20 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย 
  • อันดับ 3 ร้อยละ 16.71 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ 
  • อันดับ 4 ร้อยละ14.71 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ 
  • อันดับ 5 ร้อยละ 8.98 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล

จังหวัดยะลา 

  • อันดับ 1 ร้อยละ 20.76 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย 
  • อันดับ 2 ร้อยละ 18.69 ระบุว่าเป็น พรรคประชาชาติ 
  • อันดับ 3 ร้อยละ 16.61 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ 
  • อันดับ 4 ร้อยละ13.49 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล 
  • อันดับ 5 ร้อยละ 13.15 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ

จังหวัดนราธิวาส 

  • อันดับ 1 ร้อยละ 21.95 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย 
  • อันดับ 2 ร้อยละ 17.56 ระบุว่าเป็น พรรคประชาชาติ 
  • อันดับ 3 ร้อยละ 12.68 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ 
  • อันดับ 4 ร้อยละ 11.46 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ 
  • อันดับ 5 ร้อยละ 10.49 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล