"นักวิชาการ" หนุน "ปชช." เลือกตั้งคนดี-ขจัดนักการเมืองใหญ่ ผ่านโหวตโน
"กมธ.วุฒิสภา" จัดเสวนา ภาคปชช.ตรวจสอบพรรค-นักการเมือง "วิชา" หนุนมีกติกาคุ้มครองคนตรวจสอบคนโกง ด้าน "เจษฎ์" ยุ ปชช. กาโหวตโน400เขต ให้ชนะนักเลือกตั้ง เพื่อขจัดนักการเมืองใหญ่
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ร่วมกับมูลนิธิสส่งเสริมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต วุฒิสภา จัดเวทีเสวนา เรื่อง สิทธิประชาชน ตรวจสอบฉ่อราษฎร์ บังหลวง โดยมีนักวิชาการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมในการเสวนา หัวข้อ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบพรรคการเมืองและผู้สมัครรับเลือกตั้ง
โดยนายวิชา มหาคุณ คณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวตอนหนึ่งว่า ตนยกย่อง นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ที่เปิดประเด็นทุนจีนสีเทาและประเด็นของนายชัยณัฐร์ กรณ์ชายานันท์ หรือ ตู้ ห่าว เพราะคนที่มีอำนาจไม่ดำเนินการใดๆ กับเรื่องที่เกิดขึ้น ทำให้เงินเป็นใหญ่ในประเทศไทย อย่างที่นายตู้ ห่าาว เคยยกล่าวว่า มีเงินมาก จะทำอะไรใครก็ได้ ทั้งนี้ช่วงเลือกตั้งที่จะมาถึงทำให้เกิดคำถามว่าจะเลือกคนแบบใดมาปกครอง หากจะเลือกคนดีต้องเลือกคนแบบใด โดยคนดีของตนหมายถึง คือ คนที่ไม่ใช่อำนาจรัฐเพื่อตนเอง และพวกพ้อง
นายวิชา การทำงานของนายชูวิทย์ แม้จะกระดำกระด่าง หากทำคนเดียวเชื่อว่าตายเปล่า แต่เบื้องหลังของนายชูวิทย์มีกลุ่มคนขนาดใหญ่อยู่เบื้องหลัง อย่างไรก็ดีในการตรวจสอบของภาคประชาชนเปิดเผยข้อมูลของนักการเมือง พบว่าถูกฟ้องร้อง ดังนั้นตนมองว่าต้องมีมาตรการคุ้มครองภาคประชาชนที่ตรวจสอบคนทุจริต คอร์รัปชั่น ไม่ให้ถูกฟ้องร้องด้วยข้อหาหมิ่นประมาท เหมือนประเทศเกาหลีใต้
“เราได้คนไม่ดี เพราะไม่สามารถตรวจสอบได้ จะทำให้ความยุติธรรมไม่ปรากฎ และคนถูกตรวจสอบถูกรังแก ผมไม่อยากให้เกิดควาามล้มเหลวในความยุติธรรม แต่ต้องยอมรับว่าประเทศไทยมีความมเหลื่อมล้ำในการยุติ ธรรมมานาน ทั้งนี้ต้องดำรงความยุติธรรม โดยให้ถือว่าเป็นเจตจำนงของปะชาชน ฐานะเจ้าของอำนาจอธิปไตย” นายวิชา กล่าว
นายเจษฎ์ โทณะวณิก นักวิชาการด้านนิติศาตร์ กล่าวด้วยว่า กรณีที่ได้นักการเมืองโกง หรือคนไม่ดี ต้องย้อนไปถึงต้นตอ ว่าเกิดจากประชาชน ฐานะคนเลือกนักการเมือง ทั้งนี้การเป็นตัวแทนไม่ใช่ตัวแทนของรัฐ แต่คือ เลือกตัวแทนของประชาชน คนที่เป็นผู้แทนต้องคิดถึงประชาชน ประโยชน์ของประชาชน ไม่ใช่คิดถึงแต่อำนาจของตนเอง ทั้งนี้การตรวจสอบนักการเมือง ต้องเริ่มจากเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หรือ โหวตเตอร์ ที่ต้องเลือกคนที่คิดว่าเหมาะสม และเป็นคนดี แต่เมื่อเลือกแล้ว หากที่ผ่านมาไม่ทำงาน อย่าเลือกคนเดิมซ้ำ ทั้งนี้คนระบุว่าไม่มีคนให้เลือกอื่นๆ แล้ว
นายเจษฎ์ กล่าวด้วยว่า การตรวจสอบของประชาชนในกรณีนี้ สามาถทำได้ผ่านการลงคะแนนในคูหาเลือกตั้ง ด้วยการกาช่องไม่ประสงค์จะเลือกใคร หากประชาชนทั้ง 400 เขตใช้การลงคะแนนแบบดังกล่าว และชนะผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งได้ จะสามารถขจัดนักการเมืองอย่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและรมว.กลาโหม, พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ ฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ, นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯและรมว.สาธารณสุข ฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย, นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกฯและรมว.พาณิชย์ ฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์, คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย, น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าครอบครัวพรรคเพื่อไทย ได้
“หากประชาชนกาช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนนเพื่อให้ได้คะแนนโหวตโนที่ท่วมท้น ตัวใหญ่ๆของแต่ละพรรค จะถูกกวาดออกกไป และพรรคการเมืองจะไปไม่ถูก เพราะไม่ใช่เรื่องยุบพรรค เนื่องจากต้องหาคนลงสมัครรใหม่ แต่ที่ผ่านมาเงินพรรคเงินผู้สมัครใช้จ่ายเกือบหมด เมื่อถึงตอนนั้นนักการเมืองจะกราบประชาชนอย่างแท้จริง ผมมองว่าหากประชาชนใช้มตรการของรัฐธรรมนูญให้เป็นกฎหมู่เหนือกฎหมาย คือการใช้อำนาจตรวจสอบของประชาชนที่เข้มแข็ง ดังนั้นการหย่อนบัตรที่ชาญฉลาดและเหมาะสม คือ จุดเริ่มต้นของการตรวจสอบนักการเมือง” นายเจษฎ์ กล่าว
ขณะที่ พ.ต.ต.ณัฐวัฒน์ เสงี่ยมศักดิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวด้วยว่าหากประชาชนเห็นว่าไม่มีผู้สมัครส.ส.ที่เป็นคนดี สามารถกาช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนนได้ รวมถึงลงคะแนนในบัตรของพรรคการเมืองได้เช่นกัน ส่วนการลงคะแนนดังกล่าวไม่ต้องห่วงว่าหัวคะแนนจะทราบ นอกจากประชาชนจะตรวจสอบนักการเมืองผ่านการลงคะแนนเลือกตั้งแล้ว คือ การร้องคัดค้านการเลือกตั้ง สำหรับสถิติของการเลือกตั้งปี2562 พบว่ามีกการร้องเรียนต่อกกต. 592 สามารถทำเป็นสำนวนได้ 286 เรื่อง และยอมรับว่านำไปสู่การลงโทษได้เพียง 1-2 เรื่องเท่านั้น โดยมีรายละเอียดเบื้องต้น คือ ร้องเรื่องการซื้อเสียง รวม 191 เรื่อง ส่งศาล 3 เรื่อง ส่วนที่เหลือนั้นยุติเรื่อง , ร้องเรื่องการใส่ร้าย ใช้อิทธิพล 64 เรื่อง สามารถส่งศาลได้ 5 เรื่อง เป็นต้น.