ปธ.กกต.พอใจภาพรวมสมัคร ส.ส.เขตวันแรก ยันพิมพ์บัตรเลือกตั้งยึดกฎหมาย
“ประธาน กกต.” พร้อมคณะลงพื้นที่ จ.อยุธยา ตรวจความพร้อมการเลือกตั้ง 66 ยอมรับพอใจภาพรวมการรับสมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตวันแรก ยันพิมพ์บัตรเลือกตั้งยึดตามกฎหมาย
เมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2566 นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประธาน กกต.) และคณะ ลงพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตรวจติดตามและสังเกตการณ์เลือกตั้ง 2566 ของการรับสมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ซึ่งมีเขตเลือกตั้ง จำนวน 5 เขตเลือกตั้ง เพิ่มขึ้นจากเดิมเมื่อปี 2562 มีจำนวน 4 เขตเลือกตั้งและมีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 665,860 คน
นายอิทธิพร กล่าวว่า ภาพรวมของการเลือกตั้งแต่ไปด้วยความเรียบร้อยวันนี้เป็นวันรับสมัครวันแรก ผู้สมัครต้องศึกษาว่าตนเองต้องจัดเตรียมเอกสารอะไรบ้าง เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการลงสมัคร ส่วนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง หรือผู้ใดหากพบว่ามีการกระทำฝ่าฝืนกฎหมายเลือกตั้งก็สามารถร้องเรียนได้โดยก่อนการเลือกตั้งกกตได้จัดโครงการการเลือกตั้งสมานฉันท์เพื่อให้ผู้สมัครทุกคนได้รับทราบถึงแนวทางการปฏิบัติที่ควรจะเป็น อะไรที่กฎหมายห้ามกระทำเพื่อให้ผู้สมัครได้ปฏิบัติตามสิ่งที่กกตแนะนำได้อย่างถูกต้อง อย่างไรก็ตามการร้องเรียน อยากให้คำนึงหากเป็นการร้องเท็จ ก็จะมีโทษตามกฎหมาย
นายอิทธิพร กล่าวอีกว่า หากผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเลือกตั้งนอกจากสามารถศึกษาจากเว็บไซต์ของกกต ยังสามารถโทรสอบถามผ่านสายด่วน 1444 หรือโหลดแอป สมาร์ทโหวต ที่หลังจากวันที่ 14เม.ย.ที่มีการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์ลงสมัครรับเลือกตั้งแล้ว ก็จะมีข้อมูลประวัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งหมด ข้อควรปฏิบัติกฎระเบียบต่างๆ รวมถึงสามารถยื่นขอลงทะเบียนขอใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้าที่กำลังเปิดรับลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 25 มี.ค.-9 เม.ย
นายอิทธิพร กล่าวด้วยว่า หากประชาชนมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเลือกตั้งสามารถสอบถามผ่านทางสายด่วน1444 หรือโหลดสมาร์ทโหวต โดยหลังวันที่ 14 เมษายนที่กกต. ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์ลงสมัครรับเลือกตั้งแล้วในแอปก็จะมีข้อมูลประวัติของผู้สมัคร รวมถึงมีกฎระเบียบข้อควรปฏิบัติต่างๆหน่วยเลือกตั้งที่ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจะต้องไปใช้สิทธิ์รวมถึงสามารถลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตจังหวัดที่ยังเปิดให้ลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 25 มี.ค.-9 เม.ย.
ประธาน กกต. กล่าวถึงการจัดพิมพ์บัตรเลือกตั้งว่า การจัดพิมพ์บัตรเลือกตั้งกกต. ต้องปฏิบัติตามมาตรา 84 ของ พ.ร.ป. ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ฉบับแก้ไข ที่กำหนดให้บัตรเลือกตั้งทั้ง 2 ประเภทต้องมีความแตกต่างกันจะเหมือนกันไม่ได้โดยแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจะต้องมีช่องทำเครื่องหมาย และหมายเลขของผู้สมัครให้เพียงพอกับจำนวนผู้สมัครบัญชีรายชื่อกฎหมายระบุว่าต้องมีช่องหมายเลขของผู้สมัครสัญลักษณ์พรรคและชื่อพรรค ก่อนหน้านี้กฎหมายไม่ได้เขียนไว้แต่ กกต. ก็ปฏิบัติเช่นนั้นมาตลอด แต่วันนี้สิ่งที่เคยปฏิบัติเป็นข้อกฎหมายไปแล้ว มีการเลือกตั้งเมื่อปี 62 ที่เป็นบัตรใบเดียวแต่ถ้าเป็นบัตร 2 ใบเราก็ปฏิบัติเช่นนั้นมาโดยตลอด