บัตรเลือกตั้ง 2566 สีม่วง-สีเขียว แตกต่างกันอย่างไร เลือกแบบไหน เช็กที่นี่

บัตรเลือกตั้ง 2566 สีม่วง-สีเขียว แตกต่างกันอย่างไร เลือกแบบไหน เช็กที่นี่

ทำความรู้จัก "บัตรเลือกตั้ง 2566" ซึ่งในครั้งนี้ ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจะได้ 2 ใบด้วยกันคือ บัตรเลือกตั้งสีม่วง และบัตรเลือกตั้งสีเขียว ไปดูกันว่าแต่ละใบแตกต่างกันอย่างไร แล้วเราต้องเลือกแบบไหน ขณะที่ กกต. เริ่มเปิดให้ตรวจสอบสิทธิเลือกตั้งได้แล้ว

ทำความรู้จัก "บัตรเลือกตั้ง 2566" ซึ่งในครั้งนี้ ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจะได้ 2 ใบด้วยกันคือ บัตรเลือกตั้งสีม่วง และบัตรเลือกตั้งสีเขียว ไปดูกันว่าแต่ละใบแตกต่างกันอย่างไร แล้วเราต้องเลือกแบบไหน ขณะที่ทางสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เริ่มเปิดให้ประชาชนสามารถตรวจสอบสิทธิเลือกตั้ง 2566 ผ่านช่องทางออนไลน์ได้แล้ว

การเลือกตั้ง 2566 กกต.ได้กำหนด วันเลือกตั้งในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 นี้ โดยผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งสามารถเดินทางไปใช้สิทธิตามเขตและจังหวัดตามสำเนาทะเบียนบ้านของตัวเองได้ตั้งแต่เวลา 08.00 น.- 17.00 น. ส่วนวันเลือกตั้งล่วงหน้าในวันที่ 7 พฤษภาคม 2566 ผู้ที่ลงทะเบียนใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้าก็สามารถเดินทางไปเลือกตั้งได้ที่เขตที่ลงทะเบียนไว้ได้ตั้งแต่เวลา 08.00 น.- 17.00 น.เช่นกัน

การตรวจสอบสิทธิเลือกตั้ง 2566

ตรวจสอบสิทธิเลือกตั้ง ด้วยตัวเองได้ที่เว็บไซต์นักบริหารการทะเบียน www.bora.dopa.go.th (คลิก) หรือผ่านแอปพลิเคชั่น Smart Vote ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ช่องทางดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น Smart Vote

สำหรับการตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งผ่านช่องทางออนไลน์ เพียงแค่กรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก ระบบก็จะประมวลผลซึ่งจะทำให้เราทราบทันทีว่า เรามีสิทธิวันที่เลือกตั้งวันไหน จังหวัดและเขตที่มีสิทธิ รวมถึงสถานที่จะไปใช้สิทธิเลือกตั้งด้วย

ทำความรู้จักบัตรเลือกตั้ง 2566

บัตรเลือกตั้ง ในรอบนี้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจะได้บัตรเลือกตั้งมาจำนวน 2 ใบ คือ บัตรสีม่วง และ บัตรสีเขียว ซึ่งความหมายของแต่ละใบ เราจะอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ดังนี้

1.บัตรเลือกตั้ง (สีม่วง) คือบัตรฯสำหรับเลือก ส.ส.แบบแบ่งเขต จะประกอบด้วยหมายเลขผู้สมัคร และช่องสำหรับกากบาท ซึ่งไม่มีชื่อผู้สมัคร ไม่มีภาพผู้สมัคร ส.ส.และไม่มีโลโก้พรรคการเมืองด้วย ***สิ่งสำคัญ คือ เราต้องจำหมายเลขผู้สมัคร ส.ส.ที่เราต้องการจะเลือกให้ได้ ก่อนเข้าคูหา

2.บัตรเลือกตั้ง (สีเขียว) คือบัตรฯ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หรือ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ใบสีเขียวนี้จะมีสัญลักษณ์หรือโลโก้พรรคการเมือง หรือเครื่องหมายของพรรคการเมืองและมีชื่อพรรคการเมือง อีกทั้งมีเบอร์หรือหมายเลขพรรคการเมืองในบัตรเลือกตั้งด้วย แต่จะไม่มีภาพใดๆ ***สิ่งสำคัญ คือ เราสามารถกากบาทเลือกเบอร์พรรคการเมืองที่เราต้องการเลือกได้เลย ซึ่งจะง่ายกว่าใบสีม่วง ที่เราต้องจำหมายเลขผู้สมัคร ส.ส.ที่เราต้องการจะเลือกให้ได้

 

บัตรเลือกตั้ง 2566 สีม่วง-สีเขียว แตกต่างกันอย่างไร เลือกแบบไหน เช็กที่นี่

 

7 ข้อควรรู้เกี่ยวกับบัตรเลือกตั้ง

เมื่อไปใช้สิทธิเลือกตั้งมีข้อห้ามหลายประการที่ถือเป็นการกระทำผิดกฎหมายมีโทษทั้งจำและปรับ โดยมีข้อห้ามดังนี้

1.ห้ามใช้บัตรอื่นที่ไม่ใช่บัตรเลือกตั้งที่ได้รับจากเจ้าพนักงาน (หากฝ่าฝืน มีโทษจำคุก 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-200,000 บาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 20 ปี)

2. ห้ามนำบัตรเลือกตั้งใส่ในหีบบัตรเลือกตั้ง โดยไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือกระทำการใดให้มีบัตรเลือกตั้งเพิ่มจากความจริง (หากฝ่าฝืน มีโทษจำคุก 1-5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี)

3. ห้ามนำบัตรเลือกตั้งออกจากหน่วยเลือกตั้ง

4. ห้ามทำเครื่องหมายอื่นหรือสัญลักษณ์ในบัตรเลือกตั้ง (หากฝ่าฝืน มีโทษจำคุก 1-5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี)

5. ห้ามถ่ายภาพบัตรเลือกตั้งที่ลงคะแนนแล้ว

6. ห้ามแสดงบัตรเลือกตั้งที่ลงคะแนนแล้วต่อผู้อื่น (หากฝ่าฝืน มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)

7. ห้ามทำให้บัตรเลือกตั้งชำรุดเสียหาย หรือทำบัตรเสียให้เป็นบัตรที่ใช้ได้ (หากฝ่าฝืน มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000 บาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี)

ประชาชนสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้งที่เว็บไซต์ www.ect.go.th (คลิก) หรือ Add Friends (เพิ่มเพื่อน) เพื่อติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้ง 2566 ได้ที่ LINE Official Account : ECT Thailand (คลิก)