บัตรเลือกตั้ง 2566 สีเขียว-สีม่วงกายังไงก่อนเข้าคูหา ข้อควรรู้สำคัญมาก
บัตรเลือกตั้ง 2566 สีเขียว สีม่วง กายังไง? ข้อควรรู้ก่อนเข้าคูหา ซึ่งการเลือกตั้ง 2566 จะมีบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ แบ่งเป็น บัตรสำหรับเลือก ส.ส.แบบแบ่งเขต (สีม่วง) และ บัตร ส.ส.บัญชีรายชื่อ หรือ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ (สีเขียว)
บัตรเลือกตั้ง 2566 สีเขียว สีม่วง กายังไง? ข้อควรรู้ก่อนเข้าคูหา ซึ่งการเลือกตั้ง 2566 จะต่างจากเมื่อปี 2562 โดยในครั้งนี้จะมีบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ แบ่งเป็น บัตรสำหรับเลือก ส.ส.แบบแบ่งเขต (สีม่วง) และ บัตร ส.ส.บัญชีรายชื่อ หรือ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ (สีเขียว)
กกต. ได้กำหนดวัน 'เลือกตั้ง 2566' ในวันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566 นี้ และวัน 'เลือกตั้งล่วงหน้า 2566' ในวันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม 2566 โดยผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งสามารถเดินทางไปใช้สิทธิตามเขตและจังหวัดตามสำเนาทะเบียนบ้านของตัวเองได้ตั้งแต่เวลา 08.00 น.- 17.00 น. ส่วนวันเลือกตั้งล่วงผู้ที่ลงทะเบียนใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้าก็สามารถเดินทางไปเลือกตั้งได้ที่เขตที่ลงทะเบียนไว้
ทั้งนี้ ก่อนออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ทีมข่าวกรุงเทพธุรกิจออนไลน์รวบรวมข้อมูลและจะพาทำความเข้าใจเพื่อป้องกันความสับสนในการลงคะแนนเสียงการเลือกตั้ง 2566 ครั้งนี้ที่มีบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ คือ บัตรเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขต (สีม่วง) และ บัตรเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ (สีเขียว) ต่างกันอย่างไร
1.บัตรเลือกตั้งใบที่ 1 (บัตรสีม่วง) คือ บัตรเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งมี จะประกอบด้วยหมายเลขผู้สมัคร และช่องสำหรับกากบาท ซึ่งไม่มีชื่อผู้สมัคร ไม่มีภาพผู้สมัคร ส.ส.และไม่มีโลโก้พรรคการเมืองด้วย ***สิ่งสำคัญ คือ เราต้องจำหมายเลขผู้สมัคร ส.ส.ที่เราต้องการจะเลือกให้ได้ ก่อนเข้าคูหา
บัตรสีม่วง จะมีข้อมูลระบุ ดังนี้
- ระบุประเภทของบัตรเลือกตั้ง
- ช่องหมายเลขผู้สมัคร
- คำอธิบาย
- ช่องทำเครื่องหมาย (ต้องทำเครื่องหมาย "กากบาท" เท่านั้น หากเป็นอย่างอื่นจะเป็นบัตรเสียทันที)
- ช่องไม่เลือกผู้สมัครผู้ใด
2.บัตรเลือกตั้งใบที่ 2 (บัตรสีเขียว) คือ บัตรเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ มีสัญลักษณ์ หรือ เครื่องหมายของพรรคการเมือง และมีชื่อพรรคในบัตรเลือกตั้ง ***สิ่งสำคัญ คือ เราสามารถกากบาทเลือกเบอร์พรรคการเมืองที่เราต้องการเลือกได้เลย ซึ่งจะง่ายกว่าใบสีม่วง ที่เราต้องจำหมายเลขผู้สมัคร ส.ส.ที่เราต้องการจะเลือกให้ได้
บัตรสีเขียว จะมีข้อมูลระบุ ดังนี้
- ระบุประเภทของบัตรเลือกตั้ง
- ช่องหมายเลขของบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง
- ช่องชื่อพรรคการเมืองและภาพเครื่องหมายพรรคการเมือง
- คำอธิบาย
- ช่องทำเครื่องหมาย (ต้องทำเครื่องหมาย "กากบาท" เท่านั้น หากเป็นอย่างอื่นจะเป็นบัตรเสียทันที)
- ช่องไม่เลือกบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองใด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- บัตรเลือกตั้ง 2566 สีม่วง-สีเขียว แตกต่างกันอย่างไร เลือกแบบไหน เช็กที่นี่
ผู้ตรวจการเลือกตั้งคือใคร? มีหน้าที่อะไร?
ผู้ตรวจการเลือกตั้ง คือ
1.บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้น เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตรวจการเลือกตั้ง
2.หน้าที่ของผู้ตรวจการเลือกตั้งประจำจังหวัด
- ตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ดำเนินการเลือกตั้ง
- ตรวจสอบ การเลือกตั้ง และพรรคการเมืองว่าทำผิดกฎหมายเลือกตั้งหรือไม่
3.เข้าไปในที่เลือกตั้ง หรือสถานที่นับคะแนนเพื่อสังเกตการณ์การเลือกตั้งให้เป็นไปโดยสุจริต
4.ผู้ตรวจการเลือกตั้งประจำจังหวัด แต่ละจังหวัดไม่น้อยกว่า 5 คนแต่ไม่เกิน 8 คน
สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้ง หรือ Add Friends (เพิ่มเพื่อน) เพื่อติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้ง 2566 ได้ที่ LINE Official Account : ECT Thailand (คลิก)