นับคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าในเขต นอกเขต เลือกตั้ง 14 พ.ค.2566 เช็กที่นี่

นับคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าในเขต นอกเขต เลือกตั้ง 14 พ.ค.2566 เช็กที่นี่

เช็กที่นี่ นับคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าในเขต นอกเขต เลือกตั้ง 2566 ทั่วไปในวันที่ 14 พฤษภาคมนี้เมื่อไหร่ บัตรเลือกตั้งทั้งหมดที่ใช้สิทธิ์ไปแล้ว จะกระจายไปอยู่ที่ไหนบ้าง ข้อมูลจาก กกต.

เช็กที่นี่ นับคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าในเขต นอกเขต เลือกตั้ง 2566 ทั่วไปในวันที่ 14 พฤษภาคมนี้เมื่อไหร่ บัตรเลือกตั้งทั้งหมดที่ใช้สิทธิ์ไปแล้ว จะกระจายไปอยู่ที่ไหนบ้าง โดย กกต.ได้มีการไล่เรียงลำดับขั้นตอนการนับคะแนนและการประกาศผล ไปดูกันว่ามีวิธีการดำเนินการอย่างไรบ้าง

การเลือกตั้งล่วงหน้า เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา พบผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง ก่อนวันเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งคิดเป็นร้อยละ 94.37% แบ่งเป็น 

  • ผู้ลงทะเบียน จำนวน 60,786 คน
  • ผู้มาใช้สิทธิ จำนวน 57,362 คน

ผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง ก่อนวันเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งคิดเป็นร้อยละ 91.37% แบ่งเป็น

  • ผู้ลงทะเบียน จำนวน 2,222,380 คน
  • ผู้มาใช้สิทธิ จำนวน 2,030,628 คน

ผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง ก่อนวันเลือกตั้ง ณ ที่เลือกตั้งกลาง สำหรับคนพิการ หรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 90.15%

  • ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 2,356 คน
  • ผู้มาใช้สิทธิล่วงหน้าในเขตเลือกตั้ง จำนวน 1,372 คน
  • ผู้มาใช้สิทธิล่วงหน้านอกเขตเลือกตั้ง 752 คน

 

การนับคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า

เลือกตั้งล่วงหน้า (ในเขต)

เมื่อปิดหีบหรือเสร็จสิ้นการลงคะแนนในเวลา 17.00 น. คณะกรรมการประจำที่เลือกตั้งกลางในเขตเลือกตั้ง จะดำเนินการปิดช่องใส่บัตรเลือกตั้งของหีบบัตรทั้ง 2 ประเภท แล้วนำไปเก็บรักษาไว้ ณ ที่ปลอดภัย ตามที่คณะกรรมการประจำเขตเลือกตั้งกำหนด โดยมีมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด และมีการติดกล้องวงจรปิดตลอดระยะเวลา เพื่อรอการนำไปนับคะแนนในเวลา 17.00 น. ของวันเลือกตั้ง (14 พฤษภาคม 2566)

เลือกตั้งล่วงหน้า (นอกเขต)

คณะกรรมการประจำที่เลือกตั้งกลางนอกเขตเลือกตั้ง จะทำการตรวจนับจำนวนซองใส่บัตรเลือกตั้ง นำส่งผู้แทนบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด เพื่อนำส่งไปยังเขตเลือกตั้งที่ระบุไว้บริเวณซองใส่บัตร เพื่อให้คณะกรรมการประจำเขตเลือกตั้งเก็บรักษาไว้ และมีการติดกล้องวงจรปิดตลอดระยะเวลา ณ ที่ปลอดภัย โดยมีมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด เพื่อรอให้คณะกรรมการนับคะแนนนำไป นับคะแนนในเวลา 17.00 น. ของวันเลือกตั้ง (14 พฤษภาคม 2566

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

- นับคะแนนเลือกตั้ง 2566 อัปเดตขั้นตอนล่าสุด มีรายงานผลแบบเรียลไทม์หรือไม่

เลือกตั้งล่วงหน้า (นอกราชอาณาจักร)

กกต ได้แต่งตั้งคณะกรรมการนับคะแนนบัตรเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งและนอกราชอาณาจักรอย่างน้อย 1 ชุด ชุดละ 9 คน โดยถือเกณฑ์ผู้ลงทะเบียนทุก 800 คนต่อ 1 ชุด กรณีมีเศษเกิน 400 คน ให้เพิ่มคณะกรรมการนับคะแนนได้อีก 1 ชุด ซึ่งมีสวิธีการคำนวณ ดังนี้

  • จำนวนผู้ลงทะเบียน 4,389 คน หารด้วย 800 คน = 5 ชุด เหลือเศษ 389 คน
  • จำนวนผู้ลงทะเบียน 5,436 คน หารด้วย 800 คน = 6 ชุด เหลือเศษ 636 คน เพิ่มได้อีก 1 ชุด

นำข้อมูลผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้ง (เขตเลือกตั้งต้นทาง) มาคำนวณหาชุดคณะกรรมการนับคะแนนบัตรเลือกตั้งดังกล่าว และเมื่อได้จำนวนซองใส่บัตรเลือกตั้งหลังคัดแยกเรียบร้อยแล้ว ให้นำจำนวนซองที่ได้มาพิจารณาในการจัดชุดคณะกรรมการนับคะแนนบัตรเลือกตั้ง นอกเขตเลือกตั้งและนอกราชอาณาจักรอีกครั้งหนึ่งตามความเหมาะสม

จากนั้น ดำเนินการส่งมอบซองใส่บัตรเลือกตั้ง ให้ดำเนินการประสานการปฏิบัติกับบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และเมื่อเสร็จสิ้นการลงคะแนนอกเขตเลือกตั้ง หรือ เลือกตั้งล่วงหน้า วันที่ 7 พ.ค. 2566 ให้คณะกรรมการประจำที่เลือกตั้งกลางนอกเขตเลือกตั้ง เปิดหีบบัตรเลือกตั้ง เพื่อนับจำนวนซองใส่บัตรเลือกตั้ง แล้วบรรจุลงในถุงพลาสติกใสและเขียนบัญชีจำนวนซองใส่บัตรเลือกตั้ง และให้บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด มารับซองใส่บัตรเลือกตั้ง เพื่อส่งให้คณะกรรมการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งตามที่ระบุไว้หน้าซองใส่บัตรเลือกตั้ง โดยจัดส่งซองใส่บัตรเลือกตั้งเป็นชุด ชุดละ 500 ซอง โดยประมาณ

และคณะกรรมการนับคะแนน ดำเนินการรับและตรวจนับจำนวนซองใส่บัตรเลือกตั้ง ว่าตรงตามจำนวนที่แจ้งหรือไม่ พร้อมทั้งจัดทำบัญชีรับมอบซองใส่บัตรเลือกตั้ง และเมื่อตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว ให้นำซองใส่บัตรเลือกตั้ง ใส่หีบบัตรเลือกตั้งที่ได้จัดเตรียมไว้ และให้คณะกรรมการนับคะแนนใส่สายรัดหรืออุปกรณ์อื่นแทนสายรัดและลงลายมือชื่อบนสายรัด แล้วนำไปเก็บรักษาไว้ ณ ที่ปลอดภัยตามที่ กกต.ประจำเขตเลือกตั้งกำหนด โดยสถานที่ดังกล่าวต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเฝ้าดูแลการเก็บรักษาและกล้องวงจรปิดตลอด 24 ชั่วโมง จนกว่าจะมีการเบิกหีบเลือกตั้งดังกล่าวไปนับคะแนนในวันเลือกตั้ง

เลือกตั้งทั่วไป วันที่ 14 พฤษภาคม 2566

กรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งจะตรวจรับบัตรเลือกตั้งทั้ง 2 ประเภท จากบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เพื่อจัดสรรให้กับทุกหน่วยเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้ง กรรมการการเลือกตั้งประจำหน่วยเลือกตั้งจะมอบบัตรเลือกตั้งทั้ง 2 ประเภท (บัตรสีเขียว และบัตรสีม่วง) ให้กับผู้มีสิทธิเลือกตั้งใช้ลงคะแนนเลือกตั้งในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 เมื่อถึงเวลา 17.00 น. คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำหน่วยเลือกตั้ง จะปิดหีบบัตรเลือกตั้งเพื่อทำการนับคะแนน ณ ที่เลือกตั้งนั้นๆ

ขั้นตอน กระบวนการการนับคะแนนเลือกตั้ง

1.ประกาศปิดการออกเสียงลงคะแนน

  • เมื่อถึงเวลา 17.00 น. ประกาศปิดการออกเสียงและให้ กปน.นำป้ายปิดทับช่องใส่บัตรเลือกตั้ง

2.กปน.ตรวจสอบบัตรเลือกตั้ง

  • กปน.ตรวจสอบบัตรเลือกตั้งที่ใช้ไปกับบัตรเลือกตั้งที่เหลือให้ถูกต้องตรงกับจำนวนผู้มาใช้สิทธิลงคะแนน และบัตรเลือกตั้งที่รับมาทั้งหมด โดยลงลายมือชื่อกำกับไว้ตามแบบทุกคน

3.กปน.ดำเนินการการนับคะแนน

  • กปน.ดำเนินการการนับคะแนน โดยหีบบัตรเลือกตั้ง ต่อหน้าประชาชนที่อยู่ ณ ที่เลือกตั้งโดยเปิดเผยและนับติดต่อกันให้เสร็จจะเลื่อนหรือประวิงเวลาการนับคะแนนไม่ได้

4.กปน.ประกาศผลคะแนน

  • เมื่อนับคะแนนเสร็จแล้ว กปน.จะประกาศผลคะแนน และจัดทำรายงานผลการนับคะแนนเลือกตั้ง ส.ส.ทั้งแบบแบ่งเขต และแบบบัญชีรายชื่อปิดไว้หน้าหน่วยเลือกตั้ง เพื่อให้ประชาชน ผู้สังเกตการณ์ และผู้แทนพรรคการเมือง สามารถตรวจสอบได้

5.กปน.ส่งผลคะแนนต่อ กกต.เขต

  • กปน. แต่ละหน่วยเลือกตั้ง พร้อมเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ส่งผลคะแนนให้ กกต.ประจำเขตเลือกตั้ง

6.กกต.เขตตรวจสอบความถูกต้อง

  • เมื่อ กกต.ประจำเขตเลือกตั้ง ได้รับคะแนนจาก กปน.แล้ว กกต.ประจำเขตตรวจสอบความถูกต้อง จำนวนบัตร สิ่งของ และวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งให้ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ และลงลายมือชื่อไว้ทั้งสองฝ่ายเป็นหลักฐาน

7.กกต.เขตรวมผลคะแนนของทุกหน่วย

  • กกต.ประจำเขตเลือกตั้ง รวมผลคะแนนของทุกหน่วยเลือกตั้งในเขต เมื่อครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ให้ประกาศผลคะแนน แล้วส่งผลให้สำนักงาน กกต.ประจำจังหวัด

8.กกต.เขตส่งคะแนนให้สำนักงาน กกต.

  • เมื่อสำนักงาน กกต.ประจำจังหวัด ได้รับคะแนนจาก กกต.ประจำเขตเลือกตั้งทุกเขตในจังหวัดแล้ว ให้นำผลคะแนนเลือกตั้งที่เป็นทางการส่งให้สำนักงาน กกต. เพื่อเสนอ กกต.ประกาศผลคะแนนเลือกตั้งต่อไป

การนับคะแนนเลือกตั้ง : จะแบ่งเจ้าหน้าที่กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง หรือ กปน.ออกเป็น 2 ชุด คือ ชุดแรกนับคะแนน ส.ส. แบบแบ่งเขต ชุดที่ 2 นับคะแนนบัญชีรายชื่อ โดย กปน. ของแต่ละชุดก็จะถูกแบ่งบทบาท ประกอบด้วย

- คนที่ 1 : หยิบบัตรเลือกตั้งทีละใบและส่งให้คนที่ 2

- คนที่ 2 : ดูบัตรเลือกตั้งและอ่านผล

  • ถ้าเป็นบัตรดี จะอ่านว่า “บัตรดี” และอ่านหมายเลขของผู้สมัครที่ได้คะแนน/เลขเบอร์พรรคการเมือง
  • ถ้าเป็นบัตรเสีย จะอ่านว่า “บัตรเสีย”
  • ถ้าเป็นบัตรที่กาในช่อง “ไม่เลือกผู้สมัครผู้ใด” หรือ “ไม่เลือกบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองใด” ก็จะอ่านว่า “ไม่เลือกผู้สมัครผู้ใด” หรือ “ไม่เลือกบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองใด”

คนที่ 3 : ขานทวนคะแนนที่คนที่ 2 และขีดคะแนนลงบนกระดานนับคะแนน โดยจะขีดเป็นหนึ่งขีดต่อหนึ่งคะแนน เมื่อถึงขีดที่ห้าจะต้องขีดขวางทับสี่เส้นแรง และใส่วงกลมหรือวงรีล้อมรอบ ดังนั้น หนึ่งวงกลม/วงรี = ห้าคะแนน

คนที่ 4 : เจาะบัตรเลือกตั้งที่ถูกอ่านแล้วใส่ลงในภาชนะเก็บบัตร

บัตรเลือกตั้งที่เหลือไปไหน?

มีการรายงานระบุว่า บัตรเลือกตั้งที่เหลือ เมื่อเสร็จสิ้นการลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า และเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 7 และ 14 พฤษภาคม 2566 คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง คณะกรรมการประจำที่เลือกตั้งกลาง จะดำเนินการเจาะทำลายบัตรเลือกตั้งที่ใช้ไม่เต็มเล่ม และบัตรเลือกตั้งที่เหลือเต็มเล่มทั้งหมด เพื่อมิให้สามารถนำไปใช้ได้อีก

กรณีบัตรเลือกตั้งสำรองที่เก็บรักษาไว้ก็จะนำมาเจาะทำลาย เมื่อเสร็จสิ้นการลงคะแนนในวันเลือกตั้งด้วยทั้งหมด

การประกาศผลการเลือกตั้ง 2566 : ภายใน 5 วันนับจากวันเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดจะเผยแพร่ข้อมูลรายงานผลการนับคะแนนในเว็บไซต์ของกกต. จังหวัด จากนั้น ก็จะเป็นกระบวนการประกาศผลการเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขต และส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ โดยหลังจาก กกต. ตรวจสอบว่าการเลือกตั้งสุจริต ชอบธรรม กกต. จะประกาศผลซึ่งต้องไม่ช้ากว่า 60 วัน นับตั้งแต่วันเลือกตั้ง