ย้อนสถิติ7ครั้ง-ส.ว.โหวตปิดสวิตช์ เดิมพัน63เสียง หนุน"พิธา"

ย้อนสถิติ7ครั้ง-ส.ว.โหวตปิดสวิตช์ เดิมพัน63เสียง หนุน"พิธา"

วัดใจ "63เสียงสภาสูง" ลงมติเลือกนายกฯ คนที่30 ท่ามกลางหมุดหมายการเมือง ที่เข้าสู่ห้วง"สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง"

หลังประกาศผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ แม้จะเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า "พรรคก้าวไกล" ซึ่งได้รับคะแนนเสียงอย่างท่วมท้นถึงกว่า 15ล้านเสียง กวาดส.ส.มาเป็นลำดับ 1 ด้วยจำนวนที่นั่งผู้แทน 152 ที่นั่งได้สิทธิเป็นแกนนำหลักในการจัดตั้งรัฐบาล

สอดคล้องกับที่ “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ” หัวหน้าพรรคก้าวไกล ที่ประกาศ  จับมือ9พรรคการเมือง ทั้งพรรคก้าวไกล พรรคเพื่อไทย พรรคไทยสร้างไทย พรรคประชาชาติ พรรคเสรีรวมไทยแลละพรรคเป็นธรรมในการรวมรวมเสียงส.ส.310เสียงเพื่อจัดตั้งรัฐบาล

แต่กระนั้น "สูตรจัดตั้งรัฐบาล" ล่าสุดยังต้องจับตาไปที่อีกหนึ่งเงื่อนไขสำคัญนั่นคือส.ว.250คน เพื่อเติมเสียงรัฐบาลภายใต้การนำของพรรคก้าวไกลให้ได้375 หรือกึ่งหนึ่งของรัฐสภา ท่ามกลางเสียงทวงถามถึง"สปิริตทางการเมือง"

โดยเฉพาะ กลุ่มส.ว. ที่เคยโหวต“ปิดสวิตซ์” ตัวเอง 

ย้อนสถิติ7ครั้ง-ส.ว.โหวตปิดสวิตช์ เดิมพัน63เสียง หนุน\"พิธา\"
 

"กรุงเทพธุรกิจ"  ย้อนสถิติการประชุมรัฐสภาในการ “โหวตปิดสวิตซ์ส.ว.” ในห้วง4ปี เกิดขึ้นทั้งหมด7ครั้ง 

- ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่17 พ.ย.2563 ที่ประชุมลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เสนอโดยพรรคร่วมฝ่ายค้าน รัฐสภาให้ความเห็นชอบ268 เสียง(ไม่ถึงกึ่งหนึ่งของรัฐสภา)

จำนวนนี้มีส.ว.โหวตปิดสวิตซ์56 คน

 - ครั้งที่ 2  วันที่17 พ.ย.2563 ที่ประชุมลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เสนอโดยiLaw ​รัฐสภาให้ความเห็นชอบ212 เสียง (ไม่ถึงกึ่งหนึ่งของรัฐสภา)

จำนวนนี้มี ส.ว.โหวตปิดสวิตซ์3คน

- ครั้งที่ 3 วันที่23มิ.ย.2564 ที่ประชุมลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เสนอโดย พรรคร่วมฝ่ายค้านรัฐสภาให้ความเห็นชอบ455 เสียง(เกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา)

จำนวนนี้มีส.ว.โหวตปิดสวิตซ์15คน

- ครั้งที่ 4 วันที่23มิ.ย.2564 ที่ประชุมลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เสนอโดย พรรคประชาธิปัตย์และพรรคภูมิใจไทยรัฐสภาให้ความเห็นชอบ461เสียง(เกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา)

จำนวนนี้มีส.ว.โหวตปิดสวิตซ์21คน

- ครั้งที่ 5 วันที่16 พ.ย.2564 ที่ประชุมลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เสนอโดยกลุ่ม “Resolution” รัฐสภาให้ความเห็นชอบ206 เสียง(ไม่ถึงกึ่งหนึ่งของรัฐสภา)

จำนวนนี้มีส.ว.โหวตปิดสวิตซ์3คน

- ครั้งที่6  วันที่8ก.ย.2565  ที่ประชุมลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เสนอโดยภาคประชาชน รัฐสภาให้ความเห็นชอบ356 เสียง(ไม่ถึงกึ่งหนึ่งของรัฐสภา)

จำนวนนี้มีส.ว.โหวตปิดสวิตซ์23 คน

- ครั้งที่7  ก.พ.2566  “ประชุมล่ม” ระหว่างพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรพร้อมด้วยสมาชิกพรรคเพื่อไทยจำนวน 101 คน  ก่อนปิดสมัยประชุมและมีการยุบสภาในท้ายที่สุด 

ย้อนสถิติ7ครั้ง-ส.ว.โหวตปิดสวิตช์ เดิมพัน63เสียง หนุน\"พิธา\"

ผลการลงมติ6ครั้งบวก1ครั้งที่ยังไม่ได้ลงมติ สะท้อนให้เห็นถึงกลเกมสภาสูงที่จนถึงเวลานี้เสียงยังสวิงไปมาได้ตลอดเวลา  

เช่นนี้  "พริษฐ์ วัชรสินธุ" ว่าที่ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล  จึงได้เขียนจดหมายเปิดผนึกส่งสัญญาณถึงสมาชิกวุฒิสภา 250 คน และเรียกร้องให้ ส.ว.สนับสนุนนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล ที่รวบรวมเสียงได้เกินกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) โดยเฉพาะ63ส.ว.ที่เคยโหวตปิดสวิตซ์ตัวเอง

1. กล้านรงค์ จันทิก

2. กาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์

3. กิตติ วะสีนนท์

4. ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์

5. คำนูณ สิทธิสมาน

6. จรุงวิทย์ ภุมมา

7. เจน นำชัยศิริ

8. เฉลิมชัย เครืองาม

9. เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ

10. เฉลิมชัย เฟื่องคอน

11. ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์

12. ชาญวิทย์ ผลชีวิน

13. เชิดศักดิ์ จำปาเทศ

14. ซากีย์ พิทักษ์คุมพล

15. ฐนิธ กิตติอำพน

16. ณรงค์ พิพัฒนาศัย

17. ณรงค์ รัตนานุกูล

18. ณรงค์ สหเมธาพัฒน์

19. ณรงค์ อ่อนสอาด

20. ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม

21. นิพนธ์ นาคสมภพ

22. นิวัตร มีนะโยธิน

23. นิสดารก์ เวชยานนท์

24. เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

25. บรรชา พงศ์อายุกูล

26. ประจิน จั่นตอง

27. ประดิษฐ์ เหลืองอร่าม

28. ประภาศรี สุฉันทบุตร

29. ประมนต์ สุธีวงศ์

30. ปรัชญ์ชัย ใจชาญสุขกิจ

ย้อนสถิติ7ครั้ง-ส.ว.โหวตปิดสวิตช์ เดิมพัน63เสียง หนุน\"พิธา\"

31. ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ

32. ผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ

33. พรทิพย์ โรจนสุนันท์

34. พิกุลแก้ว ไกรฤกษ์

35. พิศาล มาณวพัฒน์

36. พีระศักดิ์ พอจิต

37. ภัทรา วรามิตร

38. มณเฑียร บุญตัน

39. เลิศรัตน์ รัตนวานิช

40. วันชัย สอนศิริ

41. วัลลภ ตังคณานุรักษ์

42. วิบูลย์ บางท่าไม้

43. วิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์

44. วีระศักดิ์ ฟูตระกูล

45. วีระศักดิ์ โควสุรัตน์

46. วุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์

47. ศักดิ์ชัย ธนบุญชัย

48. ศิรินา ปวโรฬารวิทยา

49. สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์

50. สม จาตุศรีพิทักษ์

51. สมเจตน์ บุญถนอม

52. สมชาย เสียงหลาย

53. สมชาย หาญหิรัญ

54. สัญชัย จุลมนต์

55. สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย

56. สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ

57. สุวัฒน์ จิราพันธ์

58. อดุลย์ แสงสิงแก้ว

59. อนุศาสน์ สุวรรณมงคล

60. ออน กาจกระโทก

61. อับดุลฮาลิม มินซาร์

62. อำพล จินดาวัฒนะ

63. โอสถ ภาวิไล

ครั้งนี้จึงถือเป็นด่านวัดใจส.ว.ทั้ง63คน ว่าจะยอมรับพรรคการเมืองที่ได้คะแนนเสียงมาเป็นลำดับ1อย่างพรรคก้าวไกลในการจัดตั้งรัฐบาลหรือไม่?