'ฉัตรชัย' หัวหน้าคณะพูดคุยฯคนใหม่พบ 'บิ๊กเนมมาเลย์' สานต่อคุยสันติภาพใต้
แนะนำตัว! 'ฉัตรชัย' หัวหน้าคณะพูดคุยฯ เข้าพบผู้อำนวยความสะดวกฯ มาเลเซีย สานต่อการพูดคุยสันติภาพ หวังบรรลุเป้าหมายร่วมกัน
เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (8 ธ.ค.) นายฉัตรชัย บางชวด หัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้เข้าพบ พล.อ.ตันซรี ดาโต๊ะ สรี ซุลกิฟลี ไซนัล อะบีดิน ผู้อำนวยความสะดวกในกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ของมาเลเซีย เพื่อแนะนำตัว เนื่องในโอกาสได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะพูดคุยฯ
ทั้งนี้ นายฉัตรชัย ได้เข้าหารือถึงแนวทางการทำงานร่วมกันในระยะต่อไป รวมทั้งการแสวงหาหนทางเพื่อแก้ปัญหาอุปสรรคและข้อจำกัดต่างๆ ในการขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุยสันติสุข ตลอดจนดำเนินมาตรการแนวทางหนุนเสริมอื่น ๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายการสร้างสันติสุขในพื้นที่
ในโอกาสนี้ หัวหน้าคณะพูดคุยฯ ได้มีการหารือถึงแนวทางการทำงานร่วมกันในระยะต่อไป รวมทั้งการแสวงหาหนทางเพื่อแก้ปัญหาอุปสรรคและข้อจำกัดต่างๆในการขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุยสันติสุข ตลอดจนดำเนินมาตรการแนวทางหนุนเสริมอื่นๆเพื่อบรรลุเป้าหมายการสร้างสันติสุขในพื้นที่ นอกจากนี้ยังได้ แสดงความมุ่งมั่นและเน้นย้ำที่จะสานต่อความสำเร็จของกระบวนการพูดคุยฯ ในห้วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะการขยายผลหลักการทั่วไปว่าด้วยการพูดคุยเพื่อสันติสุข จังหวัดชายแดนภาคใต้ (General Principles of the Peace Dialogue Process) ผ่านการเห็นชอบร่วมกันใน “แผนปฏิบัติการร่วมเพื่อนำไปสู่การสร้างสันติสุขแบบองค์รวม” หรือ Joint Comprehensive Plan Towards Peace (JCPP) ซึ่งแผนปฏิบัติการฯ มีรายละเอียดครอบคลุมใน 3 ประเด็นสำคัญ คือ 1.การลดความรุนแรง 2.การปรึกษาหารือสาธารณะ และ 3.การแสวงหาทางออกทางการเมือง
โดยระหว่างการหารือ หัวหน้าคณะพูดคุยฯ ได้เชิญผู้อำนวยความสะดวกฯเยือนประเทศไทยอีกครั้งเพื่อทำความรู้จักกับคณะพูดคุยฯ ชุดใหม่และพบปะกับผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆซึ่งทั้งสองฝ่ายได้เห็นพ้องที่จะมีการจัดการหารือเพื่อเตรียมการในส่วนที่เกี่ยวข้องและจัดให้มีการพูดคุยโดยเร็ว โดยคาดว่าจะสามารถจัดการพูดคุยในระดับคณะทำงานทางเทคนิคได้ภายในเดือนมกราคม 2567 และตามด้วยการพูดคุยอย่างเป็นทางการแบบเต็มคณะ
ทั้งนี้ ในระยะเร่งด่วน คณะพูดคุยฯ จะเร่งหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อผลักดัน 2 ประเด็นสำคัญให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ได้เเก่
1.การลดเหตุรุนแรง ทั้งนี้เริ่มด้วยการเตรียมการผลักดันให้เกิดโครงการรอมฎอนสันติสุข โดยคาดหวังให้เป็นจุดเริ่มต้นเพื่อ ยุติเหตุรุนแรง ครอบคลุมต่อเนื่อง ในระยะยาว เพื่อเสริมสร้างสภาวะแวดล้อมที่เกื้อหนุนต่อการปรึกษาหารือสาธารณะ อย่างสร้างสรรค์
2.เริ่มกระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะกับผู้มีส่วนได้เสียโดยเฉพาะการพูดคุยกับกลุ่มต่าๆภายในประเทศอย่าง ครอบคลุม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับนายฉัตรชัย ทำงานร่วมกับคณะ พูดคุยฯ มาก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งมีประสบการณ์การพูดคุยเจรจามากว่า 10 ปีที่ ที่ผ่านมาที่ได้ร่วมทีมพูดคุยเจรจากับทางทหาร ทำให้มีความคุ้น กับทางผู้อำนวยความสะดวก และคณะ